หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน “ประเทศไทย” อยู่ตรงไหน ในเวทีโลก ?  (อ่าน 33 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 1 ก.ค. 21, 23:38 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

เนื่องจากไปอ่านบทความเกี่ยวกับเรื่องทรัพยกรธรรมชาติ เรื่องน้ำกินน้ำใช้ในบ้านเรา ซึ่งหลายประเทศให้ความสนใจและจัดอันดับการบริหารจัดการเรื่องน้ำในประเทศของตัวเองอย่างต่อเนื่อง เหมือนการแข่งขันอย่างหนึ่ง ......ตอนนี้ประเทศไทยเราอากาศร้อน และแห้งแล้งมาก ฝนปีนี้ แทบจะนับครั้งในการตกได้เลย ทำอย่างไรให้ประเทศพัฒนามีแหล่งน้ำกินน้ำใช้และฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลกันกันบ้าง ลองอ่านกันดู อ่านแล้วได้ประโยชน์หรือข้อคิดอย่างไรแลกเปลี่ยนกันได้นะค่ะ

ขออนุญาติแชร์บทความนี้ค่ะ

แหล่งที่มา TOP Varawut - ท็อป วราวุธ ศิลปอาชา

https://bit.ly/2TpeShb

การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน “ประเทศไทย” อยู่ตรงไหน ในเวทีโลก ?
‘น้ำ‘ ถือเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่ามากที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษยชาติ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องมีระบบการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดีและยั่งยืน ต้องมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อวางระบบน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น การใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูกในภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งการใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคในครัวเรือน ที่ต้องคำนึงถึงความยั่งยืน เพื่อให้มีน้ำใช้ได้อย่างทั่วถึงตลอดทั้งปี ไม่ขาดแคลน
แน่นอนว่า การบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย ยังคงต้องปรับปรุงและพัฒนาอีกมาก ผมจึงอยากจะยกตัวอย่างการจัดการในต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานระบบน้ำของไทยต่อไปในอนาคต
ประเทศแรกที่ขอพูดถึงคือ เกาหลีใต้ เนื่องจากเส้นทางการพัฒนาระบบน้ำ เริ่มต้นในช่วงใกล้เคียงกับประเทศไทยครับ เริ่มแรกนั้น ทั้งไทยและเกาหลี มีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่หลายแห่ง โดยได้รับเงินกู้สนับสนุนจากธนาคารโลกในช่วงทศวรรษ 2500 ต่อมา เกาหลีใต้ได้ลงทุนวางโครงสร้างพื้นฐานระบบน้ำอย่างเป็นระบบ มีการสร้างแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อมอย่างต่อเนื่อง มีการวางระบบท่อส่งน้ำไปยังพื้นที่ห่างไกลที่ขาดแคลนน้ำ อีกทั้งมีการขยายช่องทางน้ำ เพื่อเพิ่มความจุของน้ำในแม่น้ำและลำคลอง และที่สำคัญ เกาหลีใต้ได้สร้างระบบกรองน้ำในจุดต่างๆ เพื่อควบคุมคุณภาพน้ำของแหล่งน้ำด้วย โดยทั้งหมดดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาหลายทศวรรษ จนถึงปัจจุบัน เกาหลีใต้ ได้ก้าวไปถึงการบริหารจัดการน้ำอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยี Internet of Things (iOTs) ซึ่งสามารถจัดการน้ำและควบคุมระบบน้ำแบบ real-time ทำให้สามารถเพิ่มปริมาณน้ำสำรองกักเก็บ และลดการสูญเสียน้ำที่ไม่จำเป็นได้อย่างมหาศาล
ซึ่งสิ่งที่ประเทศไทยต่างจากเกาหลีใต้ คือ ประเทศไทยของเรา ขาดความต่อเนื่องในการสร้างแหล่งเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างเป็นระบบ อีกทั้งขาดระบบท่อส่งน้ำในพื้นที่ขาดแคลนน้ำ และยังขาดแผนฟื้นฟูแม่น้ำสายหลักที่รองรับปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมให้ทันท่วงที นอกจากนี้ แม่น้ำและลำคลองสายย่อยยังขาดการดูแล มีการทิ้งสิ่งปฏิกูล มีการรุกล้ำพื้นที่ ทำให้ขวางการระบายของน้ำ ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วม จะเห็นได้ว่าปัญหาซ้ำซากที่พบได้ทุกปี คือ ฤดูน้ำหลากก็ขาดพื้นที่รองรับกักเก็บน้ำสำรองไว้ใช้ นอกจากทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในที่ลุ่มต่ำแล้ว เมื่อถึงหน้าแล้ง ก็ทำให้ขาดแคลนน้ำทำการเกษตร เนื่องจากต้องพึ่งพาน้ำจากแม่น้ำสายหลักเพียงอย่างเดียว ทำให้การกระจายน้ำเป็นไปได้อย่างยากลำบากและไม่ทั่วถึง ดังนั้นแล้ว การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะระบบบริหารจัดการน้ำจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ และจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่ง สำหรับประเทศไทยของเราครับ
อีกหนึ่งประเทศที่ก็กำลังเร่งยกระดับการบริหารจัดการน้ำ ก็คือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนี้ มีแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมูลค่าสูงถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบน้ำ และการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ถึง 111 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ในแผนการดังกล่าวเป็นการยกเครื่องระบบการบริหารจัดการน้ำทั้งหมด ซึ่งจะสร้างแหล่งน้ำให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและพื้นที่ชนบทเข้าถึงน้ำประปา และจะมีการวางระบบท่อน้ำประปาใหม่ทั้งหมด อีกทั้งวางระบบควบคุมน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและรับมือความแปรปรวนของสภาพอากาศอย่างเป็นระบบ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบบริหารจัดการน้ำ เป็นเรื่องที่ไม่เคยล้าสมัย และทุกประเทศในโลกล้วนมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำของตนให้ดีขึ้นและทันสมัยด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่ตลอดเวลาครับ
ในส่วนที่ผมมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในตอนนี้นั้น สิ่งที่ทำตั้งแต่วันแรกที่ได้เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นช่วงเวลาประเทศไทยเราต้องเผชิญกับภาวะภัยแล้งอย่างหนักในรอบหลายสิบปี การแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน ต้องทำทั้งแบบเร่งด่วนและแบบระยะยาวไปควบคู่กัน อย่างน้อยเพื่อให้พี่น้องประชาชนทุกคนมีน้ำสะอาดในการใช้อุปโภคบริโภค ผมจึงได้มอบหมายให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลทำการสำรวจและขุดเจาะน้ำบาดาลทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนอย่างเร่งด่วน ควบคู่ไปกับการสร้างระบบบริหารจัดการน้ำขนาดใหญ่ และระบบกระจายน้ำ ที่ทำให้การส่งน้ำเป็นไปได้อย่างทั่วถึง และได้มอบหมายกรมทรัพยากรน้ำ เร่งพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ต่างๆ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำกักเก็บ กักตุนน้ำในฤดูฝน สำรองไว้ใช้ในฤดูแล้งด้วยครับ
สิ่งที่ผมและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำงานอยู่นั้น ถือเป็นเพียงอิฐก้อนแรกในการฟื้นฟูพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำ เพื่อนำพี่น้องชาวไทยออกจากปัญหาภัยแล้ง พวกเราจะพยายามผลักดันให้เกิดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบน้ำทั้งระบบอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความอยู่ดีกินดีให้แก่คนไทยทุกคนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมครับ
#TopVarawut #MNRE #CTP #TopTalk #WaterResources
Sources :
[1] http://www.fao.org/3/AB776E/ab776e04.htm
[2] https://www.ib-net.org/docs/Korea_water_sector.pdf
[3] https://www.pewtrusts.org/.../how-development-of-americas...
[4] แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2558-2569
[5] https://data.worldbank.org/indicator/AG.LND.IRIG.AG.ZS...
[6] https://data.worldbank.org/indicator/AG.LND.IRIG.AG.ZS...



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม