จากเหตุการณ์ไฟไหม้ ภายในบริษัท หมิงตี้ เคมีคอล จำกัด ตั้งแต่เมื่อช่วงเช้ามืดของวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซอยกิ่งแก้ว 21 หมู่ 15 ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ตั้งแต่เมื่อช่วงเช้ามืดของวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา ณ.ตอนนี้ไฟเริ่มสงบและดับลงแล้ว แต่ก็เกิดคำถามที่หลายคนยังคาใจ
- โรงงานมาตั้งอยู่ในกลางชุมชนแบบนั้นได้ยังไง
- อุตสหกรรมพื้นที่ให้ตั้งโรงงานตอนนั้นทำไมให้ตั้งได้
- ชุมชนหรือหมู่บ้านมาก่อนโรงงานหรือโรงงานมาก่อน
- ในส่วนของการประกันภัยที่โรงงานทำไว้ต้องชดเชยค่าเสียหายเท่าไหร่
เรามาเปิดประเด็นกันเป็นข้อๆ กันเลยดีกว่า
1. เริ่มต้นโรงงาน บริษัท หมิงตี้ เคมีคอล จำกัด ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2532 ทุนจดทะเบียน 70 ล้านบาท คณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วย นายจื้อกว๋อ อู๋, นายอี้ โชว ลี่, นายเจิ้น-เหวย หง และ นายฉง-ห่าว หง วัตถุประสงค์ที่ส่งงบการเงินปีล่าสุด ผลิตเม็ดโฟม ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออก-นำเข้าสินค้า สำหรับปีงบการเงิน 2563 พบว่าสินทรัพย์รวม 699,095,810.07 บาท มีหนี้สินรวมและส่วนของผู้ถือหุ้น 699,095,810.07 บาท มีรายได้รวม 1,202,795,860.31 บาท กำไรสุทธิ 25,734,588.11 บาท
อีกด้านหนึ่ง ข้อมูลจากเว็บไซต์ creden.co ได้จัดอันดับธุรกิจพบว่ามีรายได้รวมเป็นอันดับที่ 3,983 ของประเทศไทย อันดับที่ 2,796 ของหมวดธุรกิจ C (การผลิต) อันดับที่ 286 ของจังหวัดสมุทรปราการ และอันดับที่ 30 ของการผลิตเม็ดพลาสติกและพลาสติกขั้นต้น มีสถานะสภาพคล่องทางการเงินในระดับ 2 (สภาพคล่องน้อยกว่าปกติ)
งั้นแสดงว่าโรงงานนี้ตั้งแต่สมัย ปี2532 ซึ่งจดทะเบียนถูกต้อง แสดงว่าหมู่บ้านและชุมชนมาที่หลัง แต่ถึงกระนั้นก็เหอะมาตรฐานการตรวจโรงงานอุตสหกรรมต้องตรวจทุกปี ซึ่งก็มีข่าวการร้องเรียนเกี่ยวกับมาตรฐานของโรงงานนี้มาตลอดไม่ว่าจะเรื่องกลิ่นที่รบกวน หรือ สารเคมีต่างๆ รวมถึงมาตรฐานโรงงานความปลอดภัยดีหรือไม ซึ่ง รัฐมนตรีกระทรวงอุตหกรรมตอนนี้คือท่าน นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ (เป็นอาของคุณธนาธร จึงรุ่งเรื่องกิจ อดีตหัวหน้าพรรรคอนาคตใหม่ ) ซึ่งถ้าจำไม่ผิดได้มีการยกเลิกการตรวจมาตรฐานรายปีโรงงานอุตสหกรรมตั้งแต่ทหารเข้าบริหารประเทศ จริงเท็จประการใดวอนผู้รู้มาแนะนำกันได้
ข้อมูลลิงค์ที่มา https://bit.ly/36mSesx #Invalid photobucket Link#
2. แสดงว่าโรงงานมาก่อนหมู่บ้านและชุมชน เว็บไซต์กูเกิล เอิร์ธ เอนจิน เผยแพร่ภาพถ่ายดาวเทียมเหนือพื้นที่รอบโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกของบริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด ตั้งแต่ปี 2532 จนถึงปี 2563 พบว่าแต่เดิมเคยเป็นพื้นที่เกษตรกรรม โดยมีโรงงานแห่งนี้ตั้งอยู่โดดเดี่ยวตั้งแต่ปี 2533 ก่อนกลายเป็นแหล่งที่ตั้งบ้านจัดสรรในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ภาพถ่ายดาวเทียมเมื่อปี 2532 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มก่อสร้างโรงงาน พบว่าริมถนนกิ่งแก้ว หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3256 มีเพียงบ้านเรือนประชาชนตั้งอยู่ไม่กี่หลังริม 2 ฝั่งถนนเท่านั้น ส่วนโรงงานแห่งนี้ตั้งเข้ามาในซอยกิ่งแก้ว 21 แม้พื้นที่ดังกล่าวเริ่มมีคนมาอยู่มากขึ้น แต่ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก จนกระทั่งสนามบินสุวรรณภูมิสร้างเสร็จเมื่อปี 2549 พื้นที่โดยรอบเริ่มเปลี่ยนจากที่นากลายเป็นพื้นที่ที่มีดินมาถมเพื่อรอก่อสร้างเป็นหมู่บ้านจัดสรรต่อมาเมื่อประมาณปี 2555-2558 พบว่าพื้นที่ดังกล่าวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หมู่บ้านจัดสรรมาตั้งมากขึ้น และพื้นที่ดังกล่าวจากที่เคยเป็นเพียงทุ่งนาและชุมชนของคนดั้งเดิม ก็กลายเป็นชุมชนที่มีผู้อยู่อาศัยจำนวนมากในที่สุด
ดังนั้น โรงงานมาก่อนผังเมือง-บังคับใช้กฎหมายไม่ได้
แหล่งข่าวระดับสูงในสำนักโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสมุทรปราการ เผยเมื่อวันอังคาร (6 ก.ค.) ว่า ผังเมืองรวมสมุทรปราการที่เก่าที่สุด คือฉบับเมื่อปี 2537 กำหนดให้พื้นที่รอบโรงงานนี้ ที่ตั้งอยู่ที่ ทางเหนือของ ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ฝั่งตะวันตกของสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ซึ่งไม่อนุญาตให้ตั้งโรงงานทุกประเภท ยกเว้นโรงแรมและธุรกิจในครัวเรือน
แหล่งข่าวรายนี้กล่าวต่อไปว่า กฎหมายดังกล่าวนำมาบังคับใช้กับโรงงานนี้ไม่ได้ เพราะโรงงานนี้เข้ามาประกอบกิจการตั้งแต่ปี 2532 ซึ่งก็คือก่อนออกผังเมือง และกฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง
ต่อมาเมื่อปี 2544 ผังเมืองรวมสมุทรปราการปรับพื้นที่ให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่พาณิชยกรรม (สีแดง) แบบพิเศษ แหล่งข่าวรายนี้อธิบายว่า การปรับพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่สีแดงพิเศษมีเจตนาให้รองรับต่อธุรกิจที่จะเติบโตจากสนามบินสุวรรณภูมิที่มีแนวโน้มจะสร้างเสร็จอีกไม่กี่ปีต่อจากนั้น อย่างเช่น ภาคโลจิสติกส์ โรงแรม แต่ก็ยังไม่อนุญาตให้โรงงานที่มีสารพิษอันตรายเช่นนั้นมาตั้งอยู่ แต่ก็นำกฎหมายมาบังคับใช้ไม่ได้เพราะเป็นโรงงานที่มาตั้งอยู่ตั้งแต่ก่อนมีผังเมือง
ขอบคุณแหล่งข้อมูล https://bit.ly/2SYDAou
3. สำหรับการทำประกันภัยของโรงงานกับการชดใช้ค่าเสียหายทำอย่างไร ข้อมูลคราวๆ คปภ. เผยบริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด ซอยกิ่งแก้ว 21 ที่เกิดไฟไหม้ใหญ่ ทำประกันภัยไว้ วงเงินกว่า 400 ล้านบาท เร่งติดตามสินไหมเยียวยาประชาชนที่ได้รับความเสียหาย
สำนักงาน คปภ. จังหวัดสมุทรปราการ ได้ตรวจสอบการทำประกันภัยในเบื้องต้น พบว่า บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด ได้ทำประกันภัยรองรับไว้ 3 กรมธรรม์ คือ
1. กรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) เลขที่ DQ-11-64/000123 ทุนประกันภัย 379,320,000 บาท
2. กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก เลขที่ DQ-40-64/000041 ทุนประกันภัย 20,000,000 บาท
3. กรมธรรม์ประกันภัยหม้อกำเนิดไอน้ำและถังอัดความดัน เลขที่ DQ-84-64/000005 ทุนประกันภัย 21,584,989 บาท
เริ่มคุ้มครองวันที่ 5 เมษายน 2564 สิ้นสุดวันที่ 5 เมษายน 2565 โดยมีบริษัทร่วมรับประกันภัย ได้แก่ บมจ. คุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย 40%, บมจ. ทิพยประกันภัย 20%, บมจ. นวกิจประกันภัย 20%, บมจ. คิงไวประกันภัย 10% และบมจ. วิริยะประกันภัย 10%
(เกือบหมดอายุเหมือกันนะเนี้ย)
สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นสรุปได้ประมาณคราว ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ผู้บาดเจ็บกว่า 30 ราย บ้านเรือนได้รับความเสียหายกว่า 70 หลัง ยานยนต์เสียหายกว่า 15 คัน และทรัพย์สินอื่น ๆ อยู่ระหว่างตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลการทำประกันภัย หากพบว่าได้รับทำประกันภัยรองรับไว้ สำนักงาน คปภ. จะเร่งบูรณาการช่วยเหลือติดตามการจ่ายค่าสินไหมทดแทน เพื่อให้เป็นไปตามสัญญาประกันภัยโดยเร็วที่สุด ส่วนการเยียวยาเบื้องต้นได้ยินข่าวไว้ว่าประมาณแค่ 20 ล้านบาท เท็จจริงประการใด มาแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้นะ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่หลายคนให้ความสนใจอย่างมาก ไม่อยากให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยซ้ำซากและประชาชนเดือดร้อนแบบนี้อีก