“วราวุธ ศิลปอาชา” แสดงความเสียใจหลังเด็กชายชาวอิสราเอลวัย 9 ขวบ เสียชีวิตจากลงเล่นน้ำที่เกาะพะงันแล้วโดนพิษจากแมงกะพรุนกล่อง สั่งการกรมทะเลจัดการเป็นวาระเร่งด่วนแก้ปัญหาทันที !!!!
จากเหตุการณ์เสียชีวิตของเด็กชายวัย 9 ขวบ ชาวอิสราเอลที่เสียชีวิตหลังจากโดนพิษจากแมงกะพรุนกล่องหลังลงเล่นน้ำที่เกาะพะบริเวณหาดริ้นเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อค่ำวันที่ 28 สิงหาคม 2564 หลังจากก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ได้เตือนแล้วว่าควรเล่นน้ำในแนวทุ่นที่ปลอดภัยแม้หลายฝ่ายได้ช่วยกันปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนนำส่ง โรงพยาบาลพะงันอินเตอร์เนชันแนล แต่ไม่สามารถยื้อชีวิตไว้ได้กรมทะเลรีบเสริมกำลังลาดตระเวนเกาะพะงันแจ้งนักเตือนนักท่องเที่ยวเล่นน้ำในแนวทุ่นที่ปลอดภัย
หลังทราบเรื่องนายวราวุธศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมแสดงความห่วงใยกับประชาชนและนักท่องเที่ยว อีกทั้งได้สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ร่วมกันคิดและวางแผนระยะยาวให้เป็นระบบและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วโดยทางเจ้าหน้าที่ได้ทำการวางตาข่ายกั้นแมงกะพรุนกล่องเอาไว้ทั้ง 2 เกาะ คือในพื้นที่หาดริ้น เกาะพะงัน ทั้งนี้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เร่งเสริมกำลังลาดตระเวนรอบเกาะพะงัน ประชาสัมพันธ์ และสนับสนุนอุปกรณ์ปฐมพยาบาลในพื้นที่สำคัญทันที ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้พยายามประชาสัมพันธ์ เฝ้าระวัง และประสานความร่วมมือกับสถานพยาบาลในการจัดตั้งจุดปฐมพยาบาลในพื้นที่สำคัญ ซึ่งครั้งนี้อาจเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็ก ซึ่งจำเป็นต้องอยู่ในการดูแลอย่างใกล้ชิดของผู้ใหญ่
นายวราวุธระบุว่า อย่างไรก็ตาม ได้กำชับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ให้ระดมเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจการกระจายตัวของฝูงแมงกะพรุนกล่องในพื้นที่เกาะพะงันและพื้นที่อื่นที่พบแมงกะพรุนพิษประจำ รวมถึงติดตั้งอุปกรณ์เสาน้ำส้มสายชูในทุกพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญ และให้เร่งประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนพี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยวให้ระวังเป็นพิเศษ โดยได้มอบให้นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เร่งให้ทุกหน่วยงานร่วมกันคิดหารูปแบบการป้องกันและแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและรวดเร็ว (ที่มา https://www.matichon.co.th/local/news_2911007)
จากเหตุการณ์ในครั้งนี้นักท่องเที่ยวหลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า โดยทั่วไปแมงกะพรุนจะพบได้ทั่วไปในทะเลทั่วโลกแมงกะพรุนมีหลายชนิด ทั้งมีพิษและไม่มีพิษ และจะพบแมงกะพรุนมากขึ้นในช่วงมีมรสุมของปี ในช่วงเดือนช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมของทุกปี เป็นฤดูกาลที่แมงกะพรุนกล่องจะลอยขึ้นมาที่บริเวณริมชายหาด รวมถึงช่วงฝนตกหรือหลังฝนหยุดใหม่ๆ ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงหน้ามรสุมพอดี และใกล้จะปลายฝนต้นหนาวแล้วยิ่งต้อง ให้ความระมัดระวังแมงกะพรุนมากขึ้น สำหรับนักวิชาการคาดการว่ามีแมงกะพรุนทั้งหมดราว 30,000 ชนิด แต่ชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดีราว 2,000 ชนิด และเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษราว 70 ชนิด ที่มีอันตรายต่อมนุษย์ สำหรับประเทศไทยจะพบได้ตามอ่าวไทยและทะเลอันดามันซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ลักษณะเด่นชัดของแมงกะพรุนจัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ลำตัวใสและนิ่มมีโพรงทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหารมีเข็มพิษที่บริเวณหนวดที่อยู่ด้านล่างแมงกะพรุนหลายชนิดมีพิษ โดยบริเวณหนวดและแขนงที่ยื่นรอบปาก เรียกว่า "มีนีมาโตซีส" หรือเข็มพิษ ใช้สำหรับฆ่าเหยื่อ หรือทำให้เหยื่อสลบก่อนจับกินเป็นอาหาร ซึ่งโดยมากเป็น ปลา และใช้สำหรับป้องกันตัว ภายในนีมาโตซีสนี้เองมีน้ำพิษที่เป็นอันตรายทำให้เกิดอาการคัน เป็นผื่น บวมแดง เป็นรอยไหม้ ปวดแสบปวดร้อน และเป็นแผลเรื้อรังได้ หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ขึ้นอยู่กับแมงกะพรุนแต่ละชนิด ในชนิด Chironex fleckeri ซึ่งเป็นแมงกะพรุนกล่องชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีเซลล์เข็มพิษมากถึง 4-5,000,000,000 ล้านเซลล์ ในหนวดทั้งหมด 60 เส้น ซึ่งมีผลทางระบบโลหิต โดยไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้โลหิตเป็นพิษ และเสียชีวิตลงได้ในระยะเวลาอันสั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่นมนุษย์ สำหรับแมงกะพรุนอีกชนิดที่พบมากคือ แมงกะพรุนไฟ (Crysaora spp.) ส่วนใหญ่มีลำตัวสีแดงหรือสีส้ม จะมีพิษที่บริเวณหนวดที่มีน้ำพิษ ใช้สำหรับเพื่อล่าเหยื่อและป้องกันตัว สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ที่ถูกต่อยได้ บริเวณที่ถูกต่อยนั้นจะปรากฏรอยคล้ายรอยไหม้เป็นผื่น จากนั้นในอีก 20-30 นาทีต่อมา จะบวมนูนขึ้นเป็นทางยาวตามผิวหนัง ต่อไปจะเกิดเป็นแผลเล็ก ๆ และแตกออกเป็นแผลเรื้อรัง กล้ามเนื้อเกร็งและบังคับไม่ได้ จุกเสียด หายใจไม่ออก และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งสิ่งที่สามารถปฐมพยาบาลพิษของแมงกะพรุนไฟได้เป็นอย่างดี คือ ใบของผักบุ้งทะเล (Ipomoea pes-caprae) ใช้ร่วมกับน้ำส้มสายชูขยี้บริเวณที่ถูกพิษ จะช่วยทุเลาอาการได้ และหากมีอาการปวดสามารถรับประทานยาจำพวก แอสไพรินได้ ก่อนจะนำส่งสถานพยาบาล หรือการปฐมพยาบาลแบบง่ายที่สุด คือ ใช้น้ำทะเลราดบริเวณที่ถูกต่อย เพื่อให้เข็มพิษของแมงกะพรุนนั้นหลุดไป จากนั้นจึงใช้น้ำส้มสายชูราดลงไป ก็จะทำลายพิษได้ เน้นย้ำและแนะหากพบผู้ที่สงสัยถูกพิษแมงกะพรุน ห้ามขัดถูหรือขยี้ในบริเวณที่ถูกแมงกะพรุน เพราะจะทำให้มีการยิงพิษเพิ่มขึ้น
สำหรับการลงเล่นน้ำทะเลไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ควรต้องมีความรอบครอบและศึกษาข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ ให้ดีก่อน หรืออาจจะสอบถามทางเจ้าหน้าที่ที่ดูแล และอ่านป้ายประกาศคำเตือนให้ชัดเจนก่อนลงเล่นน้ำทุกครั้งรวมถึงการ
แต่งตัวมิดชิดเพื่อป้องกัน สร้างความปลอดภัยของตัวท่านเองและลูกหลานเสมอ จะได้ไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำร้ายอันตรายแบบนี้อีก ด้วยความห่วงใยจากกระทรวงทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมถึงกรมทะเล และชายฝั่ง ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยหรือขอความช่วยเหลือประชาชนสามารถสอบถามได้ที่สายกรณีฉุกเฉินโทร.1669 หรือกรมควบคุมโรค โทร. 1422 หรือรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ดูแลชายหาดบริเวณนั้นทันทีเน้นย้ำอีกครั้งว่าช่วงนี้เป็นช่วงหน้ามรสุมซึ่งแมงกะพรุนจะพบเจอได้ง่ายเราต้องควรระวังเป็นพิเศษ
(ที่มาบ้างส่วน https://voicetv.co.th/read/9tPTpTufF)