หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: แผนการรองรับจากรัฐจะเป็นยังไงเมื่อไทยประกาศNet Zero  (อ่าน 29 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 20 ธ.ค. 21, 12:48 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

หลังจากมีการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (Cop26) ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เหล่านานาประเทศเข้าร่วมประชุม พร้อมแสดงจุดยืนและประกาศเจตนารมณ์ เกี่ยวกับแผนการลดการปล่อยมลพิษ รวมถึงร่วมลงนามในข้อตกลงต่างๆ ซึ่งเป้าหมายหลักของการะประชุมในครั้งนี้มีด้วยกัน 4 ประการ
1.การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี ค.ศ.2050 และรักษาอุณหภูมิของโลกไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส
2.ฟื้นฟูระบบนิเวศที่เสียหาย ใส่ใส่ดูแลธรรมชาติและชุมชน พร้อมทั้งสร้างการป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ภัยแล้ง, น้ำท่วม, ไฟไหม้ เป็นต้น
3.ประเทศที่พัฒนาแล้วร่วมช่วยเหลือประเทศที่ยังไม่พัฒนา ด้วยการระดมทุน 1 แสนล้านดอลลาห์/ปี ในปี ค.ศ.2020 แต่มีข้อแม้ว่าประเทศที่ยังไม่พัฒนาจะต้องปฏฺิบัติตามเงื่อนไข 2 ข้อที่ผ่านมาข้างต้น
4.ให้ความร่วมมือกันในการดำเนินการทั้งจากภาครัฐบาล ธุรกิจ และประชาสังคม

อีกทั้งยังนานาประเทศให้ความร่วมมือในการยุติการตัดไม้ทำลายป่า เพราะต้นไม้สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลกระทบให้เกิดภาวะโลกร้อน, การเลิกใช้ถ่านหิน ประเทศไทยนำมาใช้ในด้านการผลิตไฟฟ้า รวมถึงการลดการปล่อยก๊าซมีเทนลง 30 % ภายในปี ค.ศ.2030


สามประการข้างต้น ในการประชุม Cop26 ประเทศไทยยังไม่ได้ลงนาม เพราะอาจจะส่งผลกระทบหลายประการ เช่น เรื่องการลดการปล่อยก๊าซมีเทน (CH4) ที่ตั้งเป้าหมายจะลดลงให้ได้ 30% ภายในปี ค.ศ.2030 ซึ่งพบว่าในประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซมีเทนมากถึง 74% ของปริมาณการปล่อยทั้งหมด เนื่องจากเราทำเกษตกรรมและปศุสัตว์เป็นหลัก พบมากในการปลูกนาข้าว (นาดำ) โดยกระบวนการปลูกนั้น จำเป็นต้องอาศัยน้ำ ทำให้มีน้ำขังอยู่ในนาข้าวตลอดเวลา จุลินทรีย์ในน้ำย่อยสลายซากพืช เกิดการหมักหมมจนเป็นก๊าซมีเทนลอยขึ้นในอากาศ หรือด้านปศุสัตว์ ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะกับวัว ควาย สัตว์กินหญ้าและอาหารที่มีส่วนประกอบของเซลลูโลสเป็นอาหาร เหล่านี้จำเปนต้องพึ่งแบคทีเรียในกระเพาะอาหารเพื่อช่วยย่อย ทำให้เกิดเป็นกระบวนการหมัก enteric fermentation ส่งผลให้เกิดก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ถูกปลดปล่อยออกมาจากการผายลม เรอ ของวัวและควายนั่นเอง
ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น ประเทศไทยจึงยังไม่ได้ลงนามใน Cop26 เพราะยังไม่มีแผนรองรับที่เพียงพอ หากลงนามไปแล้วกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบเป็นอันดับแรกคือ พี่น้องเกษตกรทั่วประเทศ ดังนั้นจึงจำเป็นที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะต้องมีมาตราการรองรับและช่วยเหลือให้แก่พี่น้องเกษตกร รวมถึงแผนหรือวิธีการปรับเปลี่ยนวิถีการทำเกษตรกรไทยเสียก่อน


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:   Go
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม