แรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มดำเนินงานวันที่ 25 มกราคม 2547 ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ชาวจาการ์ตา โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน รถโดยสารจะวิ่งในช่องทางที่กำหนดเท่านั้น ในปี 2547 มีสถิติผู้โดยสาร 350,000 คน และรถโดยสาร 500 เที่ยวต่อวัน (https://lnkd.in/fJqSFze)
จากประสบการณ์สำรวจ BRT ในต่างประเทศโดยเฉพาะที่กรุงจาการ์ตา ดร.โสภณ ในฐานะที่เคยไปทำงานให้กับธนาคารโลก และให้กับกระทรวงการคลัง อินโดนีเซีย พบว่าโครงการประเภทนี้ไม่อาจประสบความสำเร็จจริง แม้กรุงจาการ์ตาจะใช้บริการประเภทนี้มากที่สุดในโลก มากกว่าที่กรุงโบโกตาที่เป็นจุดเริ่มต้น แต่ก็ยังต้องหันมาสร้างรถไฟฟ้าแทน แต่ที่ยังดำเนินการอยู่ได้ในกรุงจาการ์ตาเพราะยังไม่มีทางเลือกอื่นและเป็นวิสาหกิจผูกขาด แต่ BRT ก็ไม่ได้ช่วยให้เกิดความเจริญโดยรอบได้เช่นกรณีรถไฟฟ้า ในขณะนี้รัฐบาลอินโดนีเซียก็พยายามสร้างรถไฟฟ้าทั้งแบบลอยฟ้าและแบบใต้ดินเช่นไทยแล้ว เพื่อมาแทนที่ Busway นั่นเอง
ที่ผ่านมามีความพยายามในการสร้าง BRT ในเมืองภูมิภาค เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น พัทยา หรือแม้แต่ภูเก็ต หากมีการก่อสร้างจริง ก็ถือว่าเป็นการนำหายนะที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครไปแพร่ต่อ สร้างปัญหาในต่างจังหวัด การที่ช่องทางการจราจรไป-กลับหายไปถึง 2 ช่องทาง ต็ตกกเป็นเรื่องใหญ่และแม้จะมีการเปิดบริการกันมากมายเช่นในกรุงจาการ์ตา ก็ไม่อาจแก้ไขปัญหาการจราจรได้ และยังมีผู้ขับรถฝ่าฝืนเข้าไปในช่องทางจราจรของ BRT เสียอีก การคิดตามๆ กันโดยไม่ศึกษาให้ดี จะเป็นการทำลายการพัฒนาเมืองมากกว่าจะช่วยให้เมืองมีระบบระเบียบมากขึ้น
ถึงเวลารื้อทิ้งระบบ BRT บนถนนนราธิวาสราชนครินทร์-ถนนพระรามที่ 3 ได้แล้ว สังคมจะได้พัฒนามากขึ้น เลิกอนุรักษ์แนวคิดพัฒนาเมืองแบบผิดๆ
https://bit.ly/3J5aOXM