หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: เจาะใจ"หมอเมดศิริราช"  (อ่าน 53 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 4 มี.ค. 22, 14:52 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

ทุกครั้งหากเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ไม่รู้ว่าเป็นโรคอะไร เมื่อไปถึงโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่จะจัดเราให้ไปตรวจโรค ซักประวัติ กับหมอแผนกอายุรกรรมเป็นด่านแรก บางคนตรวจเสร็จแล้วรับยาเลยหรือบางคนอาจถูกส่งต่อไปยังหมอหน่วยอื่น หรือหมอสาขาอื่น
รู้หรือไม่ว่า...แท้จริงแล้วหมออายุรกรรมรักษาโรคที่เกี่ยวกับอะไรบ้าง? และทำไมถึงได้ชื่อว่าเป็น “นักสืบสวนโรค”
ทำความรู้จักอายุรศาสตร์แบบเจาะลึก จากเหล่าอายุรแพทย์ระดับอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์ และประสบการณ์ตรงจากแพทย์ประจำบ้าน (resident) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่พร้อมไขข้อสงสัยและจะให้คำตอบว่าการจะเป็นหมอที่ได้ชื่อว่าเป็น “นักสืบ” ผู้ค้นหาสาเหตุของอาการป่วยนั้น ต้องฝ่าฟันและผ่านด่านไหนบ้าง



รู้จัก ‘อายุรศาสตร์’ ให้มากขึ้น
รศ.นพ.ไชยรัตน์ เพิ่มพิกุล หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายในเบื้องต้นว่า อายุรศาสตร์ (Internal Medicine) เป็นศาสตร์แห่งการดูแลผู้ป่วย จากปัญหาอาการต่าง ๆ สู่การวินิจฉัยและรักษา โดยมองโรคที่เกิดขึ้นภายในร่างกายอย่างเป็นระบบองค์รวม อายุรศาสตร์จึงเป็นศาสตร์พื้นฐานที่แก้ปัญหาให้ผู้ป่วย และหมอที่รักษาโรคทางอายุรศาสตร์เรียกว่า “อายุรแพทย์” สถานที่ทำงานคือในแผนกอายุรกรรม
“อธิบายง่ายๆ ว่าอายุรแพทย์คือหมอที่ดูแลในการวิเคราะห์โรค ค้นหาสาเหตุของโรค ซึ่งทำได้จากประวัติและการตรวจร่างกาย หรือต้องใช้การตรวจพิเศษอย่างอื่น เช่น ตรวจเลือด ตรวจทางรังสีและอัลตราซาวน์ การเจาะน้ำหรือเนื้อเยื่อจากอวัยวะที่เป็นโรค เป็นต้น เมื่อวินิจฉัยได้แล้วก็รักษาโดยการใช้ยา หรือการทำหัตถการบางอย่าง เช่น การส่องกล้อง การสวนหัวใจ หรือต้องปรึกษาแพทย์สาขาอื่นมาช่วยกันรักษา เช่น ศัลยแพทย์ หรือรังสีแพทย์ เป็นต้น ที่ทำงานของอายุรแพทย์จึงเป็นห้องตรวจผู้ป่วยนอก หอผู้ป่วย ไอซียู และพื้นที่สำหรับสำหรับการรักษาจำเพาะต่างๆ เช่น ห้องสวนหัวใจ เป็นต้น กล่าวได้ว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มาโรงพยาบาลจะพบอายุรแพทย์ ยกตัวอย่างเช่น รพ.ศิริราช ให้บริการคนไข้นอกประมาณ 2 ล้านคนต่อปี พบมี


คนไข้ที่มาห้องตรวจอายุรศาสตร์ประมาณ 4 แสนคน มาพบแพทย์เวรหรือห้องฉุกเฉิน ซึ่งเป็นปัญหาด้านอายุรศาสตร์อีกประมาณ 1 แสนคน รวมคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการทั้งหมดน่าจะราว 7 แสนคน ซึ่งก็คือ 1 ใน 3 ของคนไข้ศิริราชทั้งหมด”
“ความรู้ทางอายุรศาสตร์มีตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับลึก นักศึกษาแพทย์จะได้รับการสอนอายุรศาสตร์พื้นฐานซึ่งเมื่อจบปีที่ 6 เขาจะสามารถวินิจฉัยโรคง่ายๆ ที่ไม่มีความซับซ้อนสามารถรักษาคนไข้ทั่วไปได้ ความรู้นี้จะเป็นพื้นฐานหลักคิดเมื่อพวกเขาไปเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอื่น แต่ถ้าแพทย์สนใจในการดูแลผู้ป่วยที่ยากซับซ้อนขึ้น เขาจะต้องกลับมาฝึกอบรมเพิ่มเติมในหลักสูตรของอายุศาสตร์ เพื่อเป็นอายุรแพทย์ และถ้าอายุรแพทย์ต้องการความรู้เพิ่มเติมจำเพาะอวัยวะ เขาสามารถเข้ามาฝึกอบรมต่อยอดขึ้นไปอีกการเป็นอายุรแพทย์จำเป็นต้องศึกษาเชิงลึกในความผิดปกติในโรคระบบต่าง ๆ ดังนั้นจึงต้องกลับมาอบรมเพิ่มเติมอีก ตัวอย่างเช่น เป็นอายุรแพทย์โรค โรคปอด โรคหัวใจ โรคมะเร็ง เป็นต้น”

รศ.นพ.สุพจน์ พงศ์ประสบชัย รองหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ฝ่ายการศึกษาระดับหลังปริญญา ฉายภาพให้เห็นความต้องการอายุรแพทย์ว่า สำหรับประเทศไทย จำนวนและอัตราการผลิตอายุรแพทย์ของโรงเรียนแพทย์ค่อย ๆ เพิ่มจำนวนขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์สุขภาพของคนไทย ปัจจุบันมีที่นั่งสำหรับอายุรแพทย์ทั่วไปปีละประมาณ 370 ที่นั่ง โดยที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล รับได้ปีละ 51 ตำแหน่ง ซึ่งโดยส่วนตัวมองว่ายังมีตลาดอีกมากสำหรับอายุรแพทย์


กว่าจะเป็นอายุรแพทย์ต้องผ่านอะไรบ้าง?
รองหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ฝ่ายการศึกษาระดับหลังปริญญา บอกอีกว่า “อายุรแพทย์ทั่วไป อบรม 3 ปี ปัจจุบันกระจายอยู่ในโรงพยาบาลขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ทั่วประเทศ อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคหลัก ๆ เช่น หัวใจ ปอด ทางเดินอาหาร ไต ประสาท อาจจะกระจายอยู่ในเมืองหลวงหรือหัวเมืองใหญ่ ๆ เช่น นครราชสีมา เชียงใหม่ หาดใหญ่ ขอนแก่น ฯลฯ แต่อายุรแพทย์อีกหลายสาขา เช่น ต่อมไร้ท่อ มะเร็ง โรคเลือด หรือแม้แต่อายุรแพทย์ที่ดูแลเกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรม มักจะอยู่ที่ส่วนกลางหรือโรงเรียนแพทย์ ดังนั้น การมีอายุรแพทย์ทั่วไปและอายุรแพทย์เฉพาะทางจึงเป็นส่วนที่ช่วยส่งเสริมการรักษาคนไข้ให้เข้มแข็งมากขึ้น

“สำหรับการฝึกอบรมหมอ MED หรือหมออายุรกรรม ทันทีที่เข้าสู่การอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้าน เขาเป็นหมอเต็มตัว รุ่นน้องหรือนักศึกษาแพทย์จะมาเรียนกับเขา แพทย์ประจำบ้านจะเรียนแบบเป็นผู้ใหญ่ รูปแบบการฝึกจะเป็นแบบ on the job training คือเรียนจากการทำงาน
Resident ปี 1: เป็นการวางรากฐานการเป็นอายุรแพทย์ให้กับแพทย์ประจำบ้าน การทำงานจะอยู่ภายใต้การช่วยเหลือของแพทย์ประจำบ้านรุ่นพี่ชั้นปีที่ 3 จะต้องผ่านหอผู้ป่วยสามัญ หอผู้ป่วยพิเศษ ไอซียู ห้องฉุกเฉิน ตึกผู้ป่วยนอก จิตเวช และมีการพักร้อน 2 สัปดาห์
Resident ปี 2: เป็นช่วงเติมความรู้อายุรศาสตร์เฉพาะทางให้กับแพทย์ประจำบ้าน โดยต้องผ่านสาขาวิชาต่าง ๆ สาขาละ 1 เดือน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในเรื่องโรคเฉพาะสาขาให้แม่นยำและลงลึก เช่น หัวใจ ระบบทางเดินอาหาร โรคติดเชื้อ โรคปอด ระบบประสาท มะเร็ง โรคเลือด ต่อมไร้ท่อ ฯลฯ ภายในหนึ่งปีจะผ่านทั้งหมด 12 สาขา ซึ่งจะทำให้ความรู้ในสาขาต่าง ๆ ของแพทย์ประจำบ้านเก่งขึ้น
Resident ปี 3: จะกลับมาอยู่กับ Resident ปี 1 เพื่อรับบทเป็นหัวหน้าทีม ผ่านหอผู้ป่วยที่เคยผ่านตอนปี 1 มาแล้ว เขาจะมาสอนรุ่นน้องปีหนึ่งซึ่งเข้ามาใหม่

ในช่วง 3 ปี เราเรียกว่าการหมุนเวียน (rotation) มีรุ่นพี่ปี 3 คอยสอน และกำกับโดยอาจารย์อีกทีหนึ่ง เพราะฉะนั้นแพทย์ประจำบ้านจะไม่โดดเดี่ยว หรือลองผิดลองถูกโดยลำพัง ดังนั้น เมื่อผ่านไปแต่ละเดือนเขาก็จะเป็นหมอที่เก่งขึ้นๆ เมื่อแพทย์ประจำบ้านเรียนจบเป็นอายุรแพทย์ทั่วไปได้สักระยะ บางคนจะเริ่มรู้ตัวเองว่าเขาสนใจด้านใดเป็นพิเศษ อาจจะทำได้ดีหรือทำแล้วมีความสุข สามารถตัดสินใจเรียนต่อก็ได้ แต่ภาพรวมประมาณ 50% กลับมาเรียนต่อเฉพาะทาง หรือเป็นแพทย์ประจำบ้านต่อยอด” รศ.นพ.สุพจน์ ให้รายละเอียด



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 4 มี.ค. 22, 15:14 น โดย vividqest » noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:  เจาะใจ"หมอเมดศิริราช" 

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม