เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อนำเสนอเนื้อหาและโฆษณา คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม‘นโยบายคุกกี้’ และ ‘นโยบายความเป็นส่วนตัว’
เรื่องล่าสุดของหมวด
ควินัวคืออะไร กับ 5 ประโยชน์สุดเจ๋งที่หาไม่ได้ง่ายๆ ในพืชอื่น
ฟรี! ตรวจ HIV ปีละ 2 ครั้งที่ รพ.และตรวจด้วยตัวเอง สำหรับคนมีความเสี่ยง
วิธีปฐมพยาบาล “สำลักอาหาร” ทั้งเด็กเล็กและผู้ใหญ่อย่างถูกต้อง
อาหารทำลาย "วิตามินบี" ในร่างกาย
“น้ำมันมะกอก” ชนิดไหนใช้ทอด ผัด หรือทานกับสลัด?
สาเหตุของ “ตาปลาที่เท้า” และวิธีรักษาที่ถูกต้อง
รู้จัก "โรคซึมเศร้า" อาการของโรคซึมเศร้า และวิธีการดูแล ฟื้นฟู จิตใจ
"เหนื่อยแต่นอนไม่หลับ" สัญญาณอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม
10 สัญญาณอันตราย เสี่ยงโรคแพนิค
แพทย์ญี่ปุ่นแนะ 5 วิธีลดเครียดได้ง่ายๆ ฉบับวัยทำงาน
รู้จักวิธี “รักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า” สำหรับผู้ป่วยซึมเศร้า
5 โรควิตกกังวลที่พบบ่อยในวัยทำงาน
คนเรา "ตรอมใจตาย" ได้จริงหรือไม่
กรมควบคุมโรคชี้ โควิด-19 รอบนี้ เป็นการระบาดแค่ระลอกเล็ก
สาเหตุของ "นิ้วล็อก" และวิธีลดอาการปวดนิ้วด้วยตัวเอง
3 สาเหตุของโรคไตเรื้อรัง ที่พบได้บ่อยในไทย จากพฤติกรรมใช้ชีวิตผิดๆ
3 โรคที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ “มือ” เป็นประจำ
วิจัยพบ กิน "เบต้าแคโรทีน-วิตามินอี" เสริม ไม่ช่วยป้องกันโรคหัวใจ-มะเร็ง
ประโยชน์ของกัญชาทางการแพทย์มีอะไรบ้าง และโทษที่ควรรู้ก่อนใช้
ยาแก้แพ้ กับข้อควรระวังที่ควรรู้ก่อนกิน
รู้จักยา Evusheld อย. อนุมัติฉุกเฉิน ฉีดป้องกันโควิด-19 ให้เด็กอายุ 12 ขึ้นไป
เช็กเลย! ยาอะไรที่ห้ามกิน-กินได้ ก่อนบริจาคเลือด
8 อันตราย-ผลข้างเคียงจากการกินใบกระท่อม ที่ควรรู้ก่อนกิน
หน้า: 1
แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?
จากการทดสอบเลือดของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าเกือบ 80% มีอนุภาคไมโครพลาสติกในกระแสเลือดการค้นพบนี้แสดงให้เห็นว่าอนุภาคขนาดเล็กสามารถเดินทางไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้และอาจถูกกักไว้ตามอวัยวะต่าง ๆ แม้ว่าจะยังไม่สามารถทราบได้ว่า ผลกระทบของไมโครพลาสติกต่อสุขภาพนั้นจะเป็นอย่างไร แต่นักวิจัยก็ยังมีความกังวล เพราะจากการศึกษาในห้องทดลอง พบว่าไมโครพลาติกสามารถทำอันตรายต่อเซลล์ของมนุษย์ได้ และอนุภาคขนาดเล็กของมลพิษทางอากาศสามารถเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ และเป็นสาเหตุให้เกิดการเสียชีวิตกว่าล้านคนต่อปีคุณรู้หรือไม พลาสติกจำนวนมหาศาลเล็ดลอดสู่สิ่งแวดล้อม จนแตกตัวกลายเป็นไมโครพลาสติก ในปัจจุบันไมโครพลาสติกได้ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมไปทั่วโลก ตั้งแต่เทือกเขาเอเวอร์เรสไปจนถึงก้นทะเล บางครั้งเราอาจบริโภคพลาสติกที่มีขนาดเล็กผ่านอาหาร น้ำ หรือแม้กระทั่งการหายใจ มากไปกว่านั้น ในปี 2561 มีงานวิจัยที่พบไมโครพลาสติกในอุจจาระของทารกและผู้ใหญ่แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้เป็นที่น่ากังวลและต้องคอยติดตามอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผลกระทบของมลพิษพลาสติกนั้นใกล้ตัวเราขึ้น และยิ่งทวีความรุนแรงในทุก ๆ วัน เรารู้ว่ามันอยู่ในอาหาร อยู่ในน้ำที่เราดื่ม หรือแม้แต่อากาศที่เราหายใจ จึงไม่น่าแปลกที่จะพบในร่างกายของพวกเรา แม้ว่าเรายังไม่พบผลกระทบต่อร่างกายที่ชัดเจน แต่ผลการศึกษาที่พบพลาสติกในเลือดนั้นก็ยังน่าตกใจอยู่ดีเรามีส่วนช่วยอย่างไรได้บ้าง?ทางด้าน ภาครัฐ- ออกกฎหมายเพื่อควบคุมการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง และสนับสนุนระบบใช้ซ้ำทางด้าน ภาคผู้ผลิต- ลดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และเปลี่ยนมาลงทุนในระบบใช้ซ้ำ และระบบที่นำบรรจุภัณฑ์ส่วนตัวไปเติมได้ และหาช่องโหว่งในห่วงโซ่ของตนเพื่อจัดการกับบรรจุภัณฑ์ของตนทางด้าน ผู้บริโภค- ร่วมกันเรียกร้องให้ผู้ผลิตและภาครัฐร่วมกันจัดการปัญหามลพิษพลาสติกอย่างเป็นรูปธรรม- ร่วมลดใช้และค่อย ๆ ปฏิเสธพลาสติกครั้งเดียวทิ้งที่ไม่จำเป็นสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมท่านสามารถอ่านเพิ่มได้จากลิงค์ข้างด้านล่าง ข้อมูลอ้างอิงจาก ข้อมูลอ้างอิง -https://www.theguardian.com/.../microplastics-found-in...- https://www.theguardian.com/.../microplastics-damage...พลาสติกตัวร้าย ภัยคุกคามห่วงโซ่อาหารมลพิษพลาสติกเหล่านี้เป็นภัยคุกคามต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล ทั้งเต่าทะเล ปลา นกทะเล รวมถึงปะการังด้วย นอกจากนี้การแตกตัวของขยะพลาสติกไปสู่พลาสติกจิ๋วๆ ที่เราเรียกมันว่า ไมโครพลาสติก ยังมีความเสี่ยงที่จะถูกสัตว์ทะเลกินเข้าไปโดยไม่รู้ตัว เมื่อเป็นเช่นนั้น ไมโครพลาสติกเหล่านี้ก็จะไหลทะลักเข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร และแน่นอนว่ามนุษย์เราก็เป็นหนึ่งในห่วงโซ่นี้การปนเปื้อนไมโครพลาสติกในอาหารและมนุษย์หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของออสเตรีย (The Environment Agency Austria) ได้นำอุจจาระจากผู้ร่วมการทดลอง 8 คน จาก 8 ประเทศอย่าง ออสเตรีย อิตาลี ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ ญี่ปุ่น รัสเซีย และสหราชอาณาจักร โดยแต่ละคนได้รับประทานอาหารประจำวันแบบปกติ (ผู้ที่ร่วมการทดลองไม่มีใครทานมังสวิรัต และมี 6 คนที่ทานปลาทะเล) ก่อนที่จะส่งอุจจาระของพวกเขาให้หน่วยงานได้วิเคราะห์ ผลที่ได้คือ ตรวจเจอไมโครพลาสติกจากอุจจาระของผู้ที่ร่วมการทดสอบทุกราย โดยไมโครพลาสติกที่พบมีตั้งแต่ พอลิเอทธิลีนเทเรฟธาเลท (ใช้ทำขวดน้ำดื่ม) โพลีพรอพีลีน (เช่น ถุงร้อนพลาสติกบรรจุอาหาร แก้วโยเกิร์ต ) ไปจนถึง โพลีไวนิลคลอไรด์ หรือ PVC (เช่น ฟิล์มห่ออาหาร) เฉลี่ยแล้วพบว่าในแต่ละ 10 กรัมของอุจจาระจะเจออนุภาคของไมโครพลาสติกจำนวน 20 ชิ้นนอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ระบุว่า พบไมโครพลาสติกผสมอยู่ในเกลือ โดยเป็นผลการศึกษาร่วมระหว่างศาสตราจารย์ซึง-คยู คิม (Seung-Kyu Kim) แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติอินชอน และกรีนพีซ เอเชียตะวันออก เพื่อตรวจสอบการปนเปื้อนของไมโครพลาสติก (พลาสติกขนาดจิ๋ว) ในเกลือ พบไมโครพลาสติกในเกลือจากแบรนด์ต่างๆจากทั่วโลกผลวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่ามลพิษขยะพลาสติกไม่ได้เป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเล เพียงอย่างเดียว แต่มลพิษขยะพลาสติกที่พวกเราสร้างขึ้นกำลังคุกคามเราอย่างเงียบๆไมโครพลาสติกทำอะไรกับร่างกายเราเมื่อไมโครพลาสติกเหล่านี้หลุดรอดเข้าไปอยู่ในร่างกายของเราโดยที่เราไม่รู้ตัวนั้น เราอาจเปรียบเทียบกับงานวิจัยที่ตรวจสอบการหลุดรอดของไมโครพลาสติกเข้าไปในร่างกาย และข่าวร้ายก็คือ พลาสติกเล็กจิ๋ว(แต่ร้าย)พวกนี้มีสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า BPA หรือบิสฟีนอลเอ สารตัวนี้จะไปรบกวนการทำงานของระบบในร่างกาย รบกวนการทำงานการปล่อยฮอร์โมนเอสโทรเจนด้วยระบบการจัดการขยะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งที่ล้มเหลว เป็นสาเหตุหลักอีกประการที่ทำให้ขยะพลาสติกไปกองอยู่ในมหาสมุทร นอกเหนือจากปัจจัยเสริมอื่นๆ เช่น ขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐาน กิจกรรมต่างๆของมนุษย์ที่สร้างผลกระทบ มีความเข้าใจไม่เพียงพอถึงผลลัพธ์ที่เกิดจากพฤติกรรมของเรา ช่องว่างของการบังคับใช้กฎหมาย ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล รวมทั้งขาดแหล่งเงินทุนแม้ว่าในการประชุม Our Ocean (พ.ศ.2561) บริษัทผู้ผลิตอาหารและน้ำดื่มยักษ์ใหญ่ต่างออกมาให้คำมั่น จะปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้สามารถรีไซเคิลทั้งหมด 100% ภายในปี ค.ศ. 2020-2030 ซึ่งถ้ามองจากตัวเลขที่ขยะรีไซเคิลพลาสติกสามารถนำเข้ากระบวนการรีไซเคิลได้จริงเพียง 9% ก็คงไม่ช่วย เพราะอีก 91%ก็จะไปสิ้นสุดที่หลุมฝังกลบ เตาเผาขยะหรือมหาสมุทรของเราการเรียกร้องให้แบรนด์ยักษ์ใหญ่เหล่านี้หยุดการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวมาเป็นบรรจุภัณฑ์ของสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นเรื่องของเราทุกคน ทั้งประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ ในการกำหนดนโยบายควบคุมและยุติมลพิษพลาสติกตัวร้ายเหล่านี้ข้อมูลอ้างอิงจาก - https://www.greenpeace.org/.../resist/plastic1/harm-plastic/#BreakFreeFromPlastic #พลาสติก#สิ่งแวดล้อมโลก ขอบคุณที่มา https://web.facebook.com/9378497097/posts/10159288653237098/?d=n&_rdc=1&_rdrhttps://www.greenpeace.org/.../resist/plastic1/harm-plastic/
แจ้งเตือน
ภาพและเนื้อหาต่อไปนี้ ไม่เหมาะสมแก่เด็ก และเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี