ประเทศไทยมีสัตว์น้ำที่สำคัญและได้รับการคุ้มครองสูงสุดในระดับนานาชาติ นั่นคือ โลมาอิรวดี ไทยเป็นหนึ่งในห้าประเทศที่ปรากฏโลมาชนิดนี้ จำนวน 14 ตัว ส่วนประเทศที่เหลือ ประกอบด้วย อินเดีย 140 ตัว, อินโดนิเซีย 90 ตัวม เมียนมาร์ 80 ตัว และกัมพูชา 90 ตัว แม้จำนวนประชากรโลมาอิรวดีของไทยจะน้อยกว่าแต่เขาก็ควรที่จะได้รับการดูแลและอนุรักษ์ไว้
โลมาอิรวดี ถูกพบครั้งแร่ที่
แม่น้ำอิรวดี จึงเป็นที่มาของชื่อนี้ โลมาอิรวดีเป็นสัตว์คุ้มครองรองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 และยังเป็นสัตว์ที่ได้รับการคุ้มครองตามข้อตกลงระหว่างประเทศ จากการประชุมสมัยสามัญภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ (CITES) ครั้งที่ 13 เมื่อปี พ.ศ.2547 ที่ประเทศไทยได้เสนอให้โลมาอิรวดีเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองบัญชีที่ 1 จึงส่งผลให้โลมาอิรวดีได้รับความคุ้มครองสูงสุดในระดับนานาชาติตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
จากการสำรวจเมื่อ 30 ปีก่อน พบว่าโลมาอิรวดีในประเทศไทยมีมากกว่า 100 ตัว ตั้งแต่เดือน เม.ย.49 - มี.ค.65 โลมาอิรวดีเกยตื้นตายจำนวน 94 ตัว ซึ่งสาเหตุที่พบมาจากการติดเครื่องมือประมง ไม่ทราบสาเหตุ และป่วย โดยพื้นที่ที่พบส่วนใหญ่อยู่ใน จ.สงขลา และ จ.พัทลุง ด้านศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง จึงได้สำรวจประชากรโลมาอิรวดี ทั้งโดยวิธีทางเรือ, ทางอากาศโดยเครื่องบินเล็ก และอากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อคอยดูแลและเฝ้าระวัง มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 จนถึงปัจจุบัน ในช่วงปี พ.ศ.2561 มีการประกาศแนวเขตพื้นที่คุ้มครองโลมาอิรวดีทะเลสาบสงขลา แต่แนวโน้มโลมาอิรวดีลดลง โดยในปี พ.ศ.2558 มีราย
งานการพบจำนวน 27 ตัว แต่ ณ ปัจจุบันคงเหลือเพียงแค่ 14 ตัว จึงจำเป็นที่จะต้องเพิ่มการตรวจตรา เฝ้าระวัง อย่างเข้มงวดขึ้น พร้อมป้องกันการทำการประมงที่ผิดกฎหมาย และหยุดการใช้เครื่องมือที่เป็นภัยคุกคามต่อโลมาดังกล่าว
ส่วนด้านการดูแลความปลอดภัยของโลมาอิรวดีที่คงเหลืออยู่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวในเฟสบุ๊คแฟนเพจไว้ด้วยกัน 2 ระยะ คือ
1.ระยะสั้น มุ้งเน้นเรื่องระบบการลาดตระเวนเชิงคุณภาพของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ให้ถี่ถ้วนมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการออกทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน และชาวประมงในพื้นที่ ถึงความสำคัญของโลมาอิรวดีทั้ง 14 ชีวิต ที่เหลืออยู่ ทั้งนี้ ความเคยชินในวิถีการทำประมงที่ยังหมิ่นเหม่ต่อการดำรงชีวิตของโลมาอิรวดี ของผู้คนในพื้นที่บางคน และบางส่วนมาจากนอกพื้นที่ ที่อาจจะยังไม่รู้ถึงความสำคัญตรงนี้ พวกเราจะหาแนวทางปรับความเข้าใจกันใหม่ ให้เข้มงวด และเข้าใจให้ตรงกัน เชื่อว่าเมื่อพี่น้องประชาชนในพื้นที่เข้าใจ เขาจะต้องรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นสมบัติของพวกเขาแน่นอน
2.ระยะยาว จำเป็นต้องสำรวจศึกษา, วิจัย เกี่ยวกับการผสมพันธุ์แบบเลือดชิดในกลุ่มโลมาทะเลสาบสงขลา, การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในทะเลสาบ, การแก้ปัญหามลพิษ, การตื้นเขิน และเร่งเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำซึ่งเป็นอาหารของโลมาอิรวดี รวมทั้งสร้างศูนย์ช่วยเหลือและพยาบาลสัตว์ทะเล เพิ่มประสิทธิภาพการช่วยเหลือพร้อมอุปกรณ์การปฏิบัติอย่างเป็นระบบ ควบคู่ไปกับการดูแลจัดการถิ่นที่อยู่ของโลมา และการจัดการสภาพแวดล้อมของทะเลสาบสงขลาอย่างระมัดระวัง
ล่าสุดประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา ขณะที่ทีมนักวิจัยทรัพยากรน้ำจืดใน
แม่น้ำโขงจาก WWF และกรมประมงกัมพูชา ออกสำรวจร่วมกันใน จ.กระแจะ (Kratie) พบลูกโลมาอิรวดีอายุเพียงแค่ 5 วันกำลังแหวกว่ายพร้อมกับพี่ๆโลมาอิรวดีโตเต็มวัยอีก 9 ตัว สร้างความดีใจให้กับชาวกัมพูชาเป็นอย่างมาก เพราะ 2-3 ปีโลมาอิรวดีถึงจะออกลูกให้ได้พบเห็นกัน สำหรับประเทศไทยเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การร่วมกันอนุรักษ์และฟื้นฟูของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะนำพาข่าวดีมาให้กับประชาชนได้อย่างแน่นอน