หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: ผลการศึกษาเผย ผู้บริโภคอยากรับข่าวสารด้านศาสนา-ความเชื่อเพิ่มขึ้น  (อ่าน 14 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 21 ก.ย. 22, 11:20 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

การศึกษาด้านความเชื่อและสื่อระดับโลก (Global Faith and Media Study) ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในระดับโลกได้เปิดตัวแล้วในวันนี้ โดยมุ่งเน้นอธิบายถึงรูปแบบการเผยแพร่ข่าวสารด้านความเชื่อและศาสนาในสื่อต่าง ๆ ผลการศึกษานี้เผยให้เห็นว่า มีผู้ที่ต้องการรับชมการรายงานข่าวเกี่ยวกับความเชื่อมากขึ้นทั่วโลก แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วนักข่าวและบรรณาธิการไม่ค่อยนิยมที่จะนำเสนอรายงานเกี่ยวกับด้านดังกล่าวมากนัก

ผลการศึกษานี้รวบรวมมุมมองของพลเมืองโลก 9,000 คน ตลอดจนนักข่าวและบรรณาธิการใน 18 ประเทศซึ่งครอบคลุมศาสนาหลักของโลก การวิจัยนี้ได้รับมอบหมายจากเฟธ แอนด์ มีเดีย อินนิเชอทีฟ (Faith and Media Initiative หรือ FAMI) และดำเนินการโดยแฮร์ริสเอ็กซ์ (HarrisX) บริษัทวิจัยตลาดระดับโลก

การศึกษานี้สะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกในหมู่ประชากรทั่วไปที่ระบุว่า การรายงานข่าวของสื่ออาจทำให้ภาพลักษณ์แบบเหมารวม (Stereotype) ด้านความเชื่อยังคงอยู่ไปตลอด มากกว่าที่จะเป็นการปกป้อง นอกจากนี้ ผลการศึกษายังระบุถึงปัจจัยบางประการที่นักข่าวและบรรณาธิการคิดว่าสามารถนำไปสู่การนำเสนอข่าวที่เป็นการสร้างภาพลักษณ์แบบเหมารวมทางศาสนาและความเชื่อได้

การศึกษานี้ยังส่งสัญญาณเกี่ยวกับมุมมองของนักข่าวและบรรณาธิการในระดับสากลที่มองว่า การรายงานข่าวเกี่ยวกับความเชื่อและศาสนานั้นควรมีการยกเครื่องใหม่ โดยได้รวบรวมข้อมูลเชิงลึกอย่างละเอียดเกี่ยวกับชุดปัจจัยที่ซับซ้อน ซึ่งสร้างสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และส่งผลต่อการรายงานข่าวสารของบรรณาธิการ

"ข้อมูลเผยให้เห็นว่า ความเชื่อและศาสนาเป็นองค์ประกอบหลักของอัตลักษณ์ส่วนบุคคลทั่วโลก โดย 82% ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่า ตนเองนั้นมีศรัทธา ยึดมั่นในศาสนา หรือจิตวิญญาณ" ดริตัน เนโช (Dritan Nesho) ซีอีโอของแฮร์ริสเอ็กซ์ กล่าว "ถึงกระนั้น นักข่าวที่เราคุยด้วยเชื่อว่า การรายงานข่าวเกี่ยวกับความเชื่อและศาสนานั้นถูกลดความสำคัญลงเรื่อย ๆ เนื่องจากหลาย ๆ ปัจจัย ตั้งแต่งบประมาณของห้องข่าว (Newsroom Economics) ไปจนถึงความกังวลที่ว่าจะ 'นำเสนอผิดพลาด'"

"ในท้ายที่สุด การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงการขาดแคลนการรายงานข่าว การปฏิบัติ และคุณภาพของความเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อและศาสนาในสื่อสมัยใหม่ทั่วโลก" เนโชกล่าวเสริม

ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญจากการศึกษาด้านความเชื่อและสื่อระดับโลก ได้แก่

ผู้คนทั่วโลกเห็นถึงความจำเป็นที่สื่อจะต้องมีบทบาทในการเพิ่มการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับความเชื่อและศาสนามากขึ้น

63% ของผู้คนทั่วโลกกล่าวว่า จำเป็นต้องมีเนื้อหาคุณภาพสูงเกี่ยวกับความเชื่อและศาสนาในประเทศของตน
53% ของคนทั่วโลกเชื่อว่า การรายงานข่าวของสื่อในปัจจุบันไม่ค่อยให้ความสนใจเกี่ยวกับประเด็นศาสนา ในฐานะมิติหนึ่งของสังคมและวัฒนธรรมในปัจจุบัน
59% ของคนทั่วโลกคิดว่า เป็นเรื่องสำคัญที่สื่อจะต้องรายงานข่าวและเขียนเนื้อหาที่สะท้อนมุมมองทางศาสนาที่หลากหลาย
56% ของคนทั่วโลกเห็นพ้องว่า ควรมีการรายงานข่าวที่ละเอียดยิ่งขึ้นในประเด็นทางศาสนาที่ซับซ้อน
ภาพลักษณ์แบบเหมารวมด้านศาสนาเป็นปัญหาที่ทั่วโลกวิตกกังวลเกี่ยวกับการรายงานข่าวด้านความเชื่อและศาสนา

61% ของคนทั่วโลกกล่าวว่า การรายงานข่าวของสื่อมักจะทำให้ภาพลักษณ์แบบเหมารวมด้านความเชื่อคงอยู่ไปตลอด มากกว่าที่จะเป็นการแก้ไขปัญหาและปกป้องศาสนา
53% ของคนทั่วโลกคิดว่า ภาพลักษณ์แบบเหมารวมด้านศาสนาควรได้รับความสนใจในระดับเดียวกับประเด็นการเหมารวมในเรื่องอื่น ๆ ในสื่อ
ต้องการโฆษกที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อเป็นตัวแทนที่แตกต่างกันของความเชื่อและศาสนาในการนำเสนอข่าว

ผู้คนมากกว่า 80% ทั่วโลกเห็นตรงกันว่า กลุ่มความเชื่อและกลุ่มศาสนาจำเป็นต้องจัดหาโฆษกที่หลากหลายมากกว่าเดิมให้กับสื่อ
นักข่าวและบรรณาธิการยอมรับว่า มีปัญหาเกี่ยวกับภาพลักษณ์แบบเหมารวมด้านศาสนาในการรายงานข่าว และตั้งข้อสังเกตว่า การขาดแหล่งข่าวและโฆษกขององค์กรด้านความเชื่อที่หลากหลายเป็นประเด็นสำคัญที่พวกเขาเชื่อว่าก่อให้เกิดปัญหาเรื้อรัง
สื่อเห็นพ้องว่า การรายงานข่าวด้านความเชื่อและศาสนาถูกลดความสำคัญลงจากเดิม

การศึกษาด้านความเชื่อและสื่อระดับโลกเปิดเผยชุดปัจจัยที่ซับซ้อนซึ่งมีอิทธิพลต่อวิธีการที่สื่อนำเสนอข่าวเกี่ยวกับความเชื่อและศาสนา โดยอิงจากการสัมภาษณ์นักข่าวโดยตรง
ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นสื่ออธิบายว่า การรายงานข่าวเกี่ยวกับความเชื่อและศาสนาในระดับสากลลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง และอ้างถึงปัจจัยมากมายที่ส่งผลให้เกิดการรายงานที่ไม่สมดุลมากขึ้น ดังนี้:
งบประมาณของห้องข่าว: ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นสื่อเปิดเผยถึงปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณที่มีจำกัด ทำให้ไม่มีนักข่าวผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนาในห้องข่าว พวกเขาอ้างถึงการ "ขาดแคลน" ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางภายในทีมข่าว โดยปล่อยให้นักข่าวทั่วไปเข้ามาดูแลประเด็นต่าง ๆ รวมถึงข่าวความเชื่อและศาสนา
ความกลัวว่าจะนำเสนอผิดพลาด: สื่อบรรยายถึง "ความกลัว" ในห้องข่าวเกี่ยวกับการรายงานข่าวด้านศาสนา ในยุคที่บางคนนิยามว่าศาสนากลายเป็นเรื่องการเมืองมากขึ้น การรายงานข่าว (ที่มักจะต้องแข่งกับเวลา) ทำให้นักข่าวรับสภาพไปโดยปริยายว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะสามารถรายงานเรื่องอ่อนไหวเช่นนี้ได้โดยละเอียด เนื่องจากเวลาและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด
ความหลากหลายและพลวัตของห้องข่าว: ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นสื่อในทุกภูมิภาคตั้งข้อสังเกตว่า ทีมห้องข่าวมีความคิดเห็นทางศาสนาไม่หลากหลายมากพอจะเป็นตัวแทนคนในสังคม ซึ่งทำให้เกิดข้อจำกัดในการสำรวจประเด็นเกี่ยวกับความเชื่อและศาสนา ในบรรดานักข่าวที่มีภูมิหลังด้านความเชื่อที่เคร่งครัด พวกเขามีความรู้สึกว่าอาจถูกตัดสินในเชิงลบได้ หากพวกเขานำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อหรือศาสนาของตน เนื่องจากอาจทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความเป็นกลางในการนำเสนอข่าว ซึ่งอาจทำให้ชื่อเสียงของตนในห้องข่าวเสียหายได้
เรื่องอื้อฉาวเท่านั้นที่กระตุ้นยอดคลิก: ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นสื่อเห็นพ้องกันว่า ประเด็นด้านความเชื่อและศาสนาไม่ใช่เรื่องที่กระตุ้นความสนใจของผู้อ่าน บรรณาธิการไม่ค่อยสนับสนุนประเด็นดังกล่าวในการนำเสนอข่าว เว้นแต่ว่าจะเป็นเรื่องที่คนถกเถียงกัน เรื่องที่คนจะไม่เห็นด้วย หรือเรื่องอื้อฉาว ซึ่งสวนทางกับความคิดเห็นของคนทั่วโลกถึง 63% ที่กล่าวว่า เนื้อหาดี ๆ เกี่ยวกับความเชื่อและศาสนาเป็นสิ่งจำเป็นในประเทศของตน
การขาดโฆษกยิ่งตอกย้ำภาพลักษณ์แบบเหมารวมด้านศาสนา: ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นสื่อระบุว่า ภาพลักษณ์ของศาสนาแบบเหมารวมเป็นปัญหาสำคัญ นอกจากนี้ การขาดแคลนแหล่งข่าวและโฆษกของกลุ่มความเชื่อและกลุ่มศาสนาที่หลากหลาย ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาเรื้อรัง สื่อจำนวนมากกล่าวว่า ศาสนามักถูกจัดให้อยู่ในหมวดกลุ่มอนุรักษ์นิยมหรือเป็นแนวความคิดสุดโต่งในการรายงานข่าวจากกองบรรณาธิการ ปัจจัยนี้จึงมีแนวโน้มจะผลักดันให้สื่อหาโฆษกปากกล้า พูดจาโผงผางมาลงข่าว แทนที่จะนำเสนอโฆษกสายกลางที่เป็นภาพแทนคนส่วนใหญ่มากกว่า

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 ก.ย. 22, 11:26 น โดย prdelivery » noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:  ทั่วไป 

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม