เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศไทย ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งที่มักต้องพบเจอคือ สภาพอากาศแบบปิดที่ส่งผลให้ PM 2.5 เพิ่มปริมาณขึ้นจนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคร้ายได้มากมาย (PM 2.5 กลับมาแล้ว! แนะเช็กค่าฝุ่นก่อนเดินทาง ปริมาณเท่าไรอันตรายอย่างไร https://www.pptvhd36.com/health/news/2142) รวมถึงโรคมะเร็งปอด ซึ่งพบในผู้ป่วยชายมากที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศ (มะเร็งปอด รู้เร็วกว่า หายได้ก่อน https://www.smk.co.th/newsdetail/1647) แต่หากตรวจพบเชื้อมะเร็งที่ปอด ผู้ป่วยควรต้องปฏิบัติตัวอย่างไร รวมถึงการปฏิบัติของคนใกล้ชิดและบุคคลในครอบครัว หากพบว่า สมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งปอด
ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดดูแลตัวเองอย่างไร
พญ.ธัญนันท์ เรืองเวทย์วัฒนา แพทย์ประจำหน่วยมะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า สิ่งที่สำคัญของผู้ป่วย คือ ควรเข้าใจเป้าหมายและแผนการรักษา เช่น การรักษาเพื่อให้หายขาด หรือเป็นการรักษาเสริม ซึ่งโดยมากมักเสริมกับการผ่าตัดหรือเป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น
ผู้ป่วยและผู้ดูแลควรทราบข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของยาเคมีบำบัด และผลข้างเคียงของยาที่ได้รับ โดยปรึกษาแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลเฉพาะทางโรคมะเร็งเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และสามารถจัดการกับผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัดและยาต้านมะเร็งเฉพาะจุดได้ด้วยตนเอง
ผู้ป่วยมะเร็งไม่ควรรับประทานเนื้อสัตว์ใช่หรือไม่?
ร่างกายที่แข็งแรงและสมบูรณ์จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถต่อสู้กับความเจ็บป่วย ทนต่อผลข้างเคียงจากการรักษา และช่วยให้ผลตอบสนองต่อการรักษาดีขึ้น การให้ยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งที่ผอมมากๆ พบว่าได้ผลตอบสนองน้อยกว่าผู้ป่วยมะเร็งที่มีภาวะโภชนาการดี ผู้ป่วยที่มีภาวะโภชนาการไม่ดีมักจะได้รับยาเคมีบำบัดไม่ครบตามที่กำหนด และมีผลกระทบต่อระบบการสร้างเม็ดเลือดชนิดต่างๆ ทำให้เม็ดเลือดต่ำ ผู้ป่วยควรเตรียมสภาพร่างกายให้พร้อมที่จะรับการรักษาดังนี้ คือ
•รับประทานอาหารที่ให้พลังงานเพียงพอและครบทั้ง 5 หมู่ คือ แป้ง เนื้อสัตว์ ไขมัน ไข่ นม ผัก และผลไม้ ปรุงสุกสะอาด
•หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโอกาสทำให้ท้องเสียได้ง่าย เช่น อาหารค้าง ขนมจีน ส้มตำ หรือยำต่างๆ
•ควรงดการรับประทานผักสด ผลไม้เปลือกบาง เช่น องุ่น ชมพู่ และผลไม้ที่ไม่มี เปลือก เช่น สตอร์เบอรี่ โดยเฉพาะในช่วง 14 วันแรก หลังได้รับยาเคมีบำบัด
ผู้ป่วยมะเร็งสามารถไปทำงานได้ตามปกติหรือไม่?
ผู้ป่วยมะเร็งสามารถมีกิจวัตรประจำวันไปทำงานได้ตามปกติ ออกกำลังกายได้พอสมควรตามความชอบและเหมาะสม หากมีอาการอ่อนเพลียควรนอนพักฟื้นภายหลังได้รับยาเคมีบำบัด 1-2 วันที่บ้าน พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง อาการอ่อนเพลียจะมากน้อยขึ้นอยู่กับสูตรยาเคมีบำบัด และความ แข็งแรงของผู้ป่วยแต่ละราย
สิ่งที่ผู้ป่วยมะเร็งควรหลีกเลี่ยง
ผู้ป่วยมะเร็งควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังต่อไปนี้
•หลีกเลี่ยงการไปในที่แออัดที่มีคนมากๆ เช่น ตลาด โรงภาพยนตร์ ศูนย์การค้า
•หากจำเป็นควรสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
•ไม่ควรใกล้ชิดกับคนที่ไม่สบาย เด็กที่ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ
อาการผิดปกติแบบใด ต้องรีบมาพบแพทย์ก่อนนัด
ผู้ป่วยมะเร็งควรสังเกตจดบันทึกอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น หากพบว่ามีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ ควรมาพบแพทย์ก่อนนัดทันที
•มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส
•ท้องเสีย หรือท้องผูกอย่างรุนแรง
•ปวดมาก
•หายใจลำบาก
•คลื่นไส้ อาเจียน อย่างรุนแรง
การเตรียมความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ การเข้าใจถึงการรักษา และผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นจากการรักษาเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเมื่อเริ่มเข้าสู่ขบวนการรักษาเพื่อลดผลข้างเคียงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ประกันภัยโรคมะเร็ง ช่วยลดความเสี่ยงทางการเงินให้คุณในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยป่วยเป็นโรคมะเร็ง จ่ายเป็นเงินก้อนทันทีที่ตรวจพบโรคมะเร็งครั้งแรก สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/producthealthdetail/6 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance พร้อมติดตามอ่านข้อมูลและเนื้อหาสาระดีดีเพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com