หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: รูปแบบการติดตั้งคาปาซิเตอร์ร่วมกับแผงสวิตช์ในระบบแรงต่ำ  (อ่าน 12 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 5 พ.ค. 23, 12:18 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภดล วิวัชรโกเศศ

การปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าโดยการติดตั้งคาปาซิเตอร์หรือตัวเก็บประจุ (Capacitors) ในระบบแรงต่ำเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพื่อให้ค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าหรือค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ (Power factor, PF.) ของระบบสูงกว่า 0.85 ส่งผลให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถลดค่าไฟในส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่มเติมให้กับการไฟฟ้าฯ ที่ 56.07 บาทต่อกิโลวาร์

การติดตั้งคาปาซิเตอร์ร่วมกับแผงสวิตช์ในระบบแรงต่ำ มีรูปแบบใดบ้าง ?
โดยทั่วไป การติดตั้งคาปาซิเตอร์ (Mounting position) จะนิยมติดตั้งในรูปแบบของแนวตั้ง (Vertical, Upright) แต่มีพิเศษเฉพาะบางรุ่นเท่านั้น ที่สามารถติดตั้งได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน (Vertical and Horizontal) ดังรูปที่ 1 ทั้งนี้ การระบายความร้อนของอุปกรณ์ก็สำคัญเช่นเดียวกัน ตามหลักการที่จะต้องออกแบบให้อากาศภายในเกิดการหมุนเวียนจากด้านล่างไปสู่ด้านบน ซึ่งจะเป็นไปตามหลักการไหลของอากาศโดยที่มวลอากาศร้อนจะเบากว่ามวลอากาศที่เย็น รวมทั้งระยะห่างการติดตั้งระหว่างตัวเก็บประจุด้วยกันและแผ่นกั้นภายในตู้ไฟฟ้า จะต้องเป็นไปตามที่ผู้ผลิตกำหนด โดยเฉพาะต้องมีแผ่นกั้นระหว่างคาปาซิเตอร์และดีจูนรีแอคเตอร์ (Detuned reactors) ดังรูปที่ 2


(ก) รุ่น EasyLogic PFC                                  (ข) รุ่น PowerLogic PFC
รูปที่ 1 แสดงคำแนะนำการติดตั้งคาปาซิเตอร์จากผู้ผลิต Schneider
(อ้างอิงจากเอกสาร NVE4517801-2, 2021 Schneider Electric)


(ก) รูปแบบการติดตั้งที่ถูกต้อง          (ข) รูปแบบการติดตั้งที่ไม่ถูกต้อง
รูปที่ 2 รูปแบบการติดตั้งคาปาซิเตอร์ร่วมกับดีจูนรีแอคเตอร์จากผู้ผลิต Schneider
(อ้างอิงจากเอกสาร NVE4517801-2, 2021 Schneider Electric)

เงื่อนไขติดตั้งคาปาซิเตอร์ร่วมกับแผงสวิตช์ในระบบแรงต่ำ
หากคาปาซิเตอร์ถูกติดตั้งร่วมกับแผงสวิตช์หลักในระบบแรงต่ำอย่างไม่ถูกต้อง และไม่เป็นไปตามหลักการทางวิศวกรรมตามที่ผู้ผลิตให้คำแนะนำ นอกจากจะส่งผลให้อายุการใช้งานของอุปกรณ์นั้นสั้นลงกว่าที่ควรแล้ว อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นต่ออุปกรณ์ขณะถูกใช้งานได้เช่นกัน เช่นทำให้เกิดการระเบิดของคาปาซิเตอร์ ส่งผลให้แผงสวิตช์ไฟฟ้าหลักเสียหาย จนไม่สามารถจ่ายไฟให้กับอาคารหรือโรงงานได้อย่างปกติ เป็นต้น

หากวิศวกรไฟฟ้า หรือช่างไฟท่านใดต้องการ ตู้ไฟ คุณภาพดี ตรงตามมาตรฐาน สามารถดูรายละเอียด หรือสอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่ KJL LINE Official Account: @KJL.connect
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:  ไฟฟ้า  ช่างไฟ 

หน้า: 1

 
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:   Go
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม