หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: ไหว้พระวัดเจดีย์หลวง,วัดพระสิงห์,วัดพันเตา,วัดสวนดอก  (อ่าน 2177 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 12:21 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

บ่อยครั้งที่เห็นเพื่อน ๆ มักทำกระทู้ท่องเที่ยวตามทะเลและทิวทัศน์ต่าง ๆ แต่คราวนี้นายเด อาสาพาไปไหว้พระ ชมสถาปัตยกรรมล้านนา ที่เชียงใหม่ครับ พร้อมบอกเล่าเรื่องราวเล็ก ๆ น้อย ๆ
อ้างอิงกระทู้เก่าต่อเนื่องนะครับ เผื่อใครที่ชมกระทู้นี้แล้ว ต้องการชมกระทู้เกี่ยวกับเชียงใหม่ที่เคยทำไว้

http://webboard.travel.sanook.com/forum/3020481_ขันโตกที่หอศิลป์__แล้วไปงานปีใหม่ที่ประตูท่าแพร_เที่ยวเชียงใหม่_จ๊าดนั๊ก.html

http://webboard.travel.sanook.com/forum/3032764_เที่ยววัดไหว้พระที่เชียงใหม่.html


วัดแรกที่จะเอ่ยถึง คือ วัดเจดีย์หลวง จำได้ว่า ประมาณวันที่ 30 มกราคม ปีที่แล้ว นายเด แวะไปถ่ายรูป ตอนเย็น ๆ ก่อนกลับโรงแรม และแวะมาอีกทีก็ตอนค่ำวันที่ 1 ปีใหม่พอดี เพื่อทำสังฆทาน และตอนนั้นทางวัดกำลังเตรียมพิธีสวดพระอภิธรรม (ใช้คำนี้หรือปล่าว) ของหลวงปู่จันทร์ครับ



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #1 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 12:30 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

จำได้เมื่อ3-4 ปีก่อน เคยไปที่วัดเจดีย์หลวง แต่ขณะนั้นกำลังมีการบูรณะซ่อมแซมวิหาร ที่อยู่ด้านหน้า ดังภาพที่เห็นนี่แหละครับ จนสำเร็จเป็นดังปัจจุบัน แต่ว่า ศิลปะที่เห็นเป็นล้านนาไทยประยุกต์ครับ สังเกตุจากหลังคาได้ครับ ที่สั้น ไม่ได้ยาวออกมาและไม่ได้หลั่นตามแบบดั้งเดิม ซึ่งในปัจจุบันหาดูศิลปะแบบล้านนาแท้ ค่อนข้างยาก เพราะปัจจุบัน แบ่งการบูรณะศิลปะล้านนาออกเป็น 3 สมัยด้วยกัน

(เอาละสิ เอกสารวัดปราสาทที่กล่าวถึงศิลปะล้านนาสมัยต่าง ๆ และ ตำนานการสร้างวัดตั้งชื่อวัด อยู่ต่างจังหวัด งั้น นายเด ขอเก็บไว้อธิบายโอกาสหน้านะครับ)



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #2 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 12:40 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

เข้าไปในวิหารแล้ว ตะลึงถึงความสวยงาม ของพระประธาน แสงสีที่จัดส่องลงมากระทบ ความรู้สึกเหมือนได้ไปที่วัดพระพุทธชินราช ที่พิษณุโลก เมือ 10 กว่าปีก่อน...

คราวนี้ ความงดงามของพระประธาน พระอัฎฐารส พระพุทธปฎิมาประธานในพระวิหารหลวง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสำริด ปางห้ามญาติสูง ๘.๒๓ เมตร พร้อมทั้งพระอัครสาวกทั้ง ๒ องค์ คือ พระโมคคัลลานะ สูง ๔.๔๓ เมตร และ พระ สารีบุตร สูง ๔.๑๙ เมตร หล่อโดยพระนางติโลกะจุฑา (ชื่อ อาจจะดูสมัยโบราณ ต้องติดตามกระทู้วัดเจ็ดยอด จะทราบว่า คือใคร)



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #3 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 12:47 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

จากหนังสือ ที่นายเด ซื้อมา จากวัดเจดีย์หลวงที่เล่าประวัติ

กล่าวว่า ที่มาของวัดพันเตา กล่าวว่า ในตอนนั้นมีการสร้างพระพุทธรูปจำนวนมาก วงางไว้รายล้อมพระอัฎฐารส ครั้งนั้นต้องใชเตาจำนวนมากเป็นพันเตา ต่อมาสถานที่สร้างเตาไว้หลอมพระพุทธรูปได้สร้างเป็นวัดขึ้นมาเป็นวัดพันเตา

ข้อมูลอันนี้ จาก หนังสือที่ได้มานะครับ แต่นายเด ได้ยินมา ก้อีก เรื่องหนึ่ง หนังสือ บางเล่มก็กล่าวไว้อีกอย่าง ไว้อ่านตอน วัดพันเตานะครับ



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #4 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 12:52 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

นายเด ขอย้ำภาพความสวยงามของพระประฐานในพระวิหาร หลาย ๆ ภาพนะครับ พร้อมทั้งจะเล่าเรื่องวัดเจดีย์หลวงในฐานะเกตุเมืองเชียงใหม่

ที่นี่เรียกพระวิหาร ถือว่า เป็นพระอุโบสถ หลังเดียวกันครับ เพราะบางแห่งแยก ออกจากกัน



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #5 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 12:57 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ชาวเชียงใหม่สมัยโบราณได้สร้างวัดคู่บ้านคู่เมืองไว้ ๙ แห่ง โดยกำหนดให้สอดคล้องกับชัยภูมิ และความเชื่อเรื่องทิศหลัก ๔ ทิศ และ ทิศรอง ๔ ทิศ รวมเป็น ๘ ทิศตามคัมภีร์ของมหาทักษาของ วัดชัยศีภูมิ กำหนดความสำคัญของวัดทั้งแปดดังนี้ คือ
บริวาณเมือง
อายุเมือง
เดชเมือง
ศรีเมือง
มูลเมือง
อุตสาหเมือง
ดนตรีเมือง
และกาลกิณีเมือง



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #6 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 13:04 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ในสมัยโบราณวัด ทั้ง ๙ แห่งได้รับการบูรณธอย่างดี จนเหนร่องรอยความยิ่งใหญ่ ในจำนวนนั้นมีวัดที่มีชื่อเสียงระดับโลก คือ วัดเจ็ดยอด ซึ่งมีศิลปกรรมชิ้นเอกสมัยล้านนา ซึ่งช่างสมัยปัจจุบันไม่สามารถสร้างได้อีกแล้ว จึงจำเป็นต้องอนุรักษณ์ถึงที่สุด



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #7 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 13:09 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

สิ่งที่ประทับใจอีกอย่าง คือ ได้มีโอกาสไปไหว้พระธาตุดอยสุเทพ ที่กล่าวว่าเป็นพระธาตุประจำปีเกิดปีมะแม แล้วมาไหว้พระอัฎฐารส ที่เป็นปางห้ามญาติ ประจำคนที่เกิดวันจันทร์ เขาว่า เป็นคนมีเสน่ห์

จริงไหมครับ

ภาพนี้ เป็นคืนวันที่ เตรียมจัดงานสวดพระอภิธรรมพอดีครับ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 มี.ค. 10, 08:40 น โดย orchidstissue » noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #8 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 13:10 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

นำภาพเกตุเมืองเชียงใหม่มาให้ชม และมีหลายวัดที่นายเดไปมาแล้วจะนำมาทำกระทู้ต่อ ๆ ไปครับ



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #9 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 13:17 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

นี่คือ วิหารบูรพาจารณ์ เป็นสถาปัตยกรรมช่างล้านนาจำลองแบบมาจากวัดต้นแคว้น หรือวัดอินทราวาส อำเภอหางดง



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 มี.ค. 10, 08:43 น โดย orchidstissue » noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #10 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 13:32 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ภาพเสาอินทขิลจำลองครับ...

หน้าวิหารเสาอินทขิลหรือเสาหลักเมือง

ความเป็นมาของเสาอินทขิลที่ปรากฎอยู่ในหนังสือตำนานสุวรรณคำแดง แปลจากอักษรพื้นเมืองกล่าวว่า

ในการก่อนโน้น เมืองเชียงใหม่เป็นที่อาศัยของพวกลัวะ (ลัวะ เขียนแบบนี้จริง ๆ ครับ จากหนังสือ) ต่างถูกผีรบกวนต่าง ๆ นานา พระอินทร์ทรงเล็งเห็นความเดือดร้อน จึงบอกให้ชาวเมืองถือศิล รักษาสัตย์...ชาวเมืองก็เชื่อฟัง พระอินทร์จึงบันดาลบ่อเงินบ่อทอง ให้อธิฐานตามปราถนา

ในสมัยนั้น ชาวเมืองมีอยู่ ๙ ตระกูลใหญ่ แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม เรียกว่า เมืองนพบุรี ต่อมามีเมืองต่าง ๆ มาแย่งชิง ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน
ฤาษีจึงนำความไปบอกพระอินทร์ เลยสั่งให้กุมทัณฑ์ ๒ ตน ขุดเอาเสาอินทขิลมาตั้งไว้กลางเมือง มีฤทธิ์ปกป้องภัยภิบัติ...

พอแค่นี้ก่อนนะครับ ส่วนเรื่องการฝังเสอินทขิล ไว้มีโอกาสจะเล่าใหม่



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 มี.ค. 10, 08:47 น โดย orchidstissue » noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #11 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 13:54 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

พระธาตุเจดีย์หลวง ก่อนหน้านั้น แรกสร้างเป็นเจดีย์เล็ก ๆ สูง ๓ ศอก บรรจุ พระบรมธาตุที่พระโสณะและพระอุตระสมณทูต

ต่อมาพระเจ้าแสนเมืองมา รัชการที่ ๗ ราชวงค์มังราย สร้างเจดียืเหลี่ยมด้านละ ยี่สิบ วา สูง สามสิบเก้า วา เพื่ออุทิศแด่พระเจ้ากือนา พระราชบิดา

จากข้อความในตำนาน

พระเจ้ากือนา สวรรณคตไปแล้วเกิดเป็นรุกขเทวดา ได้เข้าฝันพ่อค้า ว่าตนเองจะไปเกิดบนโลกได้ก็ต่อเมื่อ พระเจ้าแสนเมืองมา สร้างเจดีย์องค์ใหญ่ อยู่กลางเมืองพิงค์เชียงใหม่ คนอยู่ไกล สองพัน วา มองเห็น กล่าวได้ว่า พระธาตุเจดีย์หลวง ที่สร้างจากสำนึกแห่งคุณธรรมและ คือ ความกตัญญูกตเวทีพระองค์สร้างไม่ทันเสร็จ ก็สวรรณคต ต่อมาพระมเหสีและพระโอรสก็ทรงสร้างต่อสำเร็จ

ปี 2022-2024 พร้เจ้าติโลกราช (ติดตามกระทู้วัดเจ็ดยอด) รัชการที่ ๙ ราชวงค์มังค์ราย ได้สร้างต่อ เป็นขนาด ด้านละ สามสิบห้า วา สูง ศี่สิบห้า วา และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่นำมาจากลังกา





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 มี.ค. 10, 08:49 น โดย orchidstissue » noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #12 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 14:09 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

พระคงเจดีย์หลวง พระพุธรูปประจำองค์พระธาตุเจดีย์หลวง ในซุ้มจระนำด้านทิสเหนือ ถือเป็นรุปแบบพระแก้วหยกเชียงใหม่

สมัยก่อนเรียกวัดนี้ว่า วัดโชติการาม หรือ ราชกุฎฎาคาร (ไม่รู้ว่าได้อ่านมาจากไหน กล่าวไว้ว่า หลังจากเกิดแผ่นดินไหว เจดีย์หลวงพังทลายลงครึ่งหนึ่ง แล้ว มีชาวบ้าน หรือ คนแก่ คนหนึ่ง จุดคบเพิงชีไปที่เจดีย์หลวง บอกว่าต่อสถานที่แห่งนี้จะได้รับการยอมรับเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้โชติช่วงชัชวาล จึงได้เกิดชื่อนี้ขึ้นมา)



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 มี.ค. 10, 08:51 น โดย orchidstissue » noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #13 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 14:11 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

อาจเป็นรุปจำลองพระอาจารย์มั่นในวิหารพระบูรพาจารย์ครับ



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #14 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 14:21 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 


เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ให้บังเอิญไปตรงกับวันพระราชทานเพลิง หลวงปู่จันทร์ กุสโล หรือ พระพุทธพจนวราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของอาตมา โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นองค์ประธานในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุชั่วคราว วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จ.เชียงใหม่ ยังความซาบซึ้งแก่คณะศิษย์ศรัทธาพุทธศาสนิกชนในพระมหากรุณาเป็นอย่างยิ่ง

หากจะกล่าวพรรณนาถึงเกียรติคุณ ความดี บุญบารมีของหลวงพ่อ (หลวงปู่จันทร์) คงยากที่จะกล่าวได้หมด ได้แต่ขอยกถ้อยวลีธรรมของท่านผู้ทรงคุณ-สูงค่า ในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสังฆบิดาของคณะสงฆ์ไทย ได้แก่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ที่เคยทรงประทานกล่าวมุทิตากับหลวงพ่อว่า

“ท่านเจ้าคุณ เป็นปราชญ์แห่งล้านนา”

ซึ่งเป็นความจริง ที่ปรากฏมีผลงานทางธรรมมากมาย เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนมาโดยตลอดสมัยของการสืบเนื่องอยู่ในสมณะวิสัยของหลวงพ่อ จนถึงกาลละสังขารเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๘.๓๓ น.

โดยปฏิปทาของหลวงพ่อนั้น แม้มีวัตรปฏิบัติด้านคามวาสี แต่ก็ไม่ได้ทอดทิ้ง ส่งเสริมฝ่ายอรัญวาสี ทรงเห็นคุณค่าของการอบรมจิตตภาวนา ดังสมัยที่อาตมาไปเจริญธรรมอยู่วัดป่าบ้านเหล่า อ.เวียงชัย จ.เชียงราย กับ หลวงปู่ขาน (ละสังขารไปแล้ว) ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นใหญ่สายตรง หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ เป็นพระอาจารย์ที่อาตมาได้ถวายพานธูปเทียน ปวารณาตนเป็นศิษย์สายพระป่า และได้ให้นำพานธูปเทียนไปถวายบูชา หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี เพื่อจะได้ถึงความเป็นศิษย์สายพระป่ากรรมฐานอย่างแท้จริง

โดยหลวงปู่ขานเป็นผู้พิจารณารับไว้เป็นศิษย์...และเมื่อกลับมากราบหลวงพ่อ (หลวงปู่จันทร์) ณ วัดป่าดาราภิรมย์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ในสมัยนั้น อาตมาได้กราบถวายผลการปฏิบัติ ซึ่งท่านได้กล่าวว่า

“ขออนุโมทนาในปัญญา ที่เกิดจากการภาวนาอบรมจิต อันเป็นภาวนามยปัญญา”

แสดงให้เห็นอัจฉริยภาพของหลวงพ่อ ที่มีจิตใจกว้างขวาง เห็นคุณประโยชน์ในทั้ง ๒ ด้าน ให้การสนับสนุนแด่คณะสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย อย่างเสมอกัน ในฐานะที่ดำรงตำแหน่งฝ่ายปกครองสงฆ์ (ธรรมยุต) จนถึงความเป็นเจ้าคณะภาค ๔, ๕, ๖, ๗ ซึ่งตรงกับคำกล่าวของ หลวงตามหาบัว ที่ว่า “พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ในภาคเหนือของเรานี่ ก็ได้อาศัยบารมีของท่านเจ้าคุณฯ นี่แหละ ที่ได้ช่วยเกื้อหนุนจุนเจือ เอื้อเฟื้อ ให้อยู่ได้ทั้งหมด นี่ถ้าไม่มีท่านเจ้าคุณฯ ช่วยเหลือ คงอยู่ไม่ได้จริงๆ ลัทธิอื่นมันคอยแทรกซึมอยู่นะ เป็นบุญของพระที่ได้มาอาศัยท่านนะ”

อย่างไรก็ตาม คงจะไม่แปลกที่หลวงพ่อมีความยินดีสนับสนุนในสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย แม้ว่าหลวงพ่อจะมุ่งเน้นไปทางปริยัติธรรม หรือคามวาสี แต่ก็เป็นผู้มั่นคงในการปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง แม้จะมุ่งเพียรหนักอย่างครูบาอาจารย์สายพระป่า ด้วยภาระการสงเคราะห์-การปกครองสงฆ์เป็นสำคัญ แต่ในทุกค่ำคืน เมื่ออาตมาได้ถวายการอุปัฏฐากเป็นส่วนตัว ในกาลที่มาพักอยู่ ณ วัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย อ.เมือง จ.ลำพูน โดยท่านจะกำหนดมาพักเดือนละ ๑ ครั้ง ครั้งละ ๒-๓ วัน หรือจะมากกว่านั้น ก็แล้วแต่ความประสงค์

ทั้งนี้ เพราะในสมัยแรกที่รับการยกฐานะเป็นวัดป่าพุทธพจน์ฯ หลวงพ่อได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน-แม่ฮ่องสอน (ธ) ให้ทำหน้าที่รักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย ซึ่งเป็นไปตามความประสงค์ของอาตมา เพื่อต้องการให้หลวงพ่อกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดในบ้านเกิด (จ.ลำพูน) ของท่าน

จึงเป็นโชควาสนาของอาตมาที่ได้รับการอบรมสั่งสอนโดยตรงจากหลวงพ่อ ไม่ว่าจะเป็นการเทศนาธรรม การสวดมนต์ แม้กระทั่งอุบายวิธีในการปฏิบัติกรรมฐาน และการเจริญสมาธิ ด้วยการนับลูกประคำ (ตกลูกประคำ) ซึ่งท่านจะกระทำเป็นปกติก่อนจำวัด

สำคัญที่สุด คือ การถ่ายทอดนิสัยความเป็นเจ้าอาวาสให้โดยตรงว่า ควรประพฤติตน-พัฒนาตนอย่างไร โดยเฉพาะการถ่ายทอดความรู้ข้อวัตรปฏิบัติของครูบาอาจารย์ สายพระกรรมฐาน ได้แก่ หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ใหญ่ของหลวงพ่อ สมัยที่หลวงปู่มั่นดำรงฐานะเป็นเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ซึ่งหลวงตามหาบัวเคยกล่าวหยอกเย้าหลวงพ่อว่า

“เรากับท่านเจ้าคุณนี่สนิทกันมาตั้งแต่เป็นมหาเปรียญ เป็นลูกศิษย์ในพระอาจารย์เดียวกัน คือ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต....”

ในเรื่องดังกล่าว อาตมามีหลักฐานยืนยันถึงความผูกพันของหลวงพ่อต่อหลวงปู่มั่น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความกตัญญูกตเวทิตา ต่อครูบาอาจารย์สายพระป่า

เมื่อหลวงพ่อบัญชาให้อาตมาสร้างวัดป่าพุทธพจน์ฯ ประดิษฐานไว้ในพระพุทธศาสนา และให้สืบทอดปฏิปทาสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งอาตมาก็ได้น้อมรับด้วยความรู้สึกยินดียิ่ง เพราะอาตมาเป็นพระป่ากรรมฐาน สายตรงทางหลวงปู่ขาน-หลวงปู่ขาว อยู่แล้ว จึงได้ก่อร่างสร้างวัด อบรมพระเณร ถือข้อวัตรปฏิบัติสายพระป่ามาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

เมื่อหลวงพ่อได้ละสังขาร โดยเก็บสรีระไว้ใน(ขออภัยค่ะ! คำนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ)บศพ ณ พระวิหารวัดเจดีย์หลวง (พระอุโบสถ) อาตมาจึงได้ขออนุญาต พระพุทธิสารโสภณ เจ้าคณะจังหวัด ประธานสงฆ์ พิจารณาผ้ามหาบังสุกุลจากร่างของท่านที่นอนนิ่งอยู่ใน(ขออภัยค่ะ! คำนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ)บศพ โดยนำผ้าไตรจีวรชุดใหม่ ที่ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ได้ประทานถวาย มาบูชาสักการะ

และอาตมาได้นำผ้าห่อร่างของท่านทั้ง ๓ ผืน ไปกระทำพิธีซักผ้ามหาบังสุกุล ณ แม่น้ำกวง ใกล้บ้านเกิดของท่าน (อ.ป่าซาง จ.ลำพูน) ซึ่งบัดนี้ อาตมาได้นำมาอธิษฐาน เป็นผ้ามหาบังสุกุล ใช้นุ่งห่มอยู่จนถึงปัจจุบัน เพื่ออุทิศบุญกุศลในการทรงผ้ามหาบังสุกุล เป็นวัตร อันเป็น ๑ ใน ๑๓ ข้อของธุดงควัตรของพระสงฆ์ ซึ่งทรงคุณเป็นอย่างยิ่ง ต่อการยกระดับจิตใจด้วยความหมาย ความเป็นอนุสติของมรณะ ที่มีอยู่ทุกขณะที่สัตว์ทั้งหลายไม่ควรประมาท เพราะเบื้องหน้า คือ ความตายที่จะต้องพบเสมอเหมือนกัน

จึงขอบูชาพระสงฆ์ผู้ทรงคุณธรรม อันเป็นเลิศ มีเมตตากรุณาอย่างต่อเนื่อง มีวัตรปฏิบัติที่ทรงคุณค่า สมกับความเป็นพระสงฆ์สาวกในพระพุทธศาสนาที่แท้จริง เนื่องในวันพระราชทานเพลิงศพ หลวงพ่อ พระพุทธพจนวราภรณ์ หรือ หลวงปู่จันทร์ กุสโล ของศิษยานุศิษย์ ตลอดจนถึงพุทธศาสนิกชนในทั่วทุกภาค อาตมาจึงขอกราบสักการะด้วยการน้อมนำมากล่าวบูชาใน คอลัมน์ “คิดทาง…ธรรม” เพื่อสืบสานเจตนาเผยแพร่ธรรมของหลวงพ่อสืบต่อไป

ขอกล่าวบูชาด้วยบทธรรมตอนหนึ่ง ที่อาตมาลิขิตไว้ว่า...
คุณความดี คุณธรรม ไม่จางหาย
ชนทั้งหลาย น้อมเคารพ ระลึกถึง
แม้ตัวตาย ดุจกายอยู่ ยังตราตรึง
ชนคำนึง น้อมกราบไหว้ คุณธรรม

ขอเจริญพร


http://www.komchadluek.net/detail/20100122/45564/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87.html


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #15 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 14:24 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

q*014



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #16 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 15:28 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

q*014



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #17 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 15:38 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

จากที่อ่านข้อมูลมานะครับวัดเจดีย์หลวง สร้างหลังวัดเชียงมั่น วัดเจ้ดยอด วัดอุโมงค์ และวัดสวนดอก ส่วนวัดอื่น ๆ ที่รวมเป็น 8 ทิศ ไม่แน่ใจว่า ทั้งหมดสร้างก่อนวัดเจดีย์หลวงหรือไม่ แต่ จากหนังสือ บอกว่า ขีดเส้นจากวัดทั้งแปด มาบรรจบที่ วัดเจดีย์หลวงเป็น เกตุเมืองเชียงใหม่

ส่วนประวัติวัดพันเตา อาจจะไม่ตรงกับบางข้อมูลที่ให้ไว้ในเว็ป เพราะจากหนังสือ บอกว่า เดิมที บริเวณวัดพันเตา เกิดจาก จากทำเตาหลอมพระพรุทธรูปเป็นพัน ๆ เตา แลต่อมาเสนาบดี ทั้งหลายก็สร้างวัดนี้ขึ้นมา

แต่บางข้อมูลบอกว่า วัดนี้ มาจากชื่อ วัดปั้นเตา บ้าง
วัด พันเท่าบ้าง... ก็ เก็บ ๆ มาอ่านเป็นความรู้นะครับ



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
นายเด
เรทกระทู้
« ตอบ #18 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 16:07 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
http://www.watphantao.com/data.php?iddata=2

ประวัติความเป็นมาของหอคำพระเจ้ามโหตรประเทศ 1
วัดพันเตา ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

--------------------------------------------------------------------------------

เดิมทีหอคำประดิษฐานอยู่ที่พระตำหนักเวียงแก้ว อันเป็นบริเวณเยื้องทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือศาลากลางเก่า หรืออนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ตรงเรือนจำกลางจังหวัดเชียงใหม่ ไปจนถึงวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่อยู่ในขณะนี้ ตามตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับหอคำหลังนี้ พระยาอุปราชมหาวงศ์ ได้สร้างขึ้นถวายเป็นพุทธบูชา เมื่อจุลศักราช 1209 ตรงกับ พ.ศ. 2390 เนื่องจากท่านได้เลื่อนฐานันดรศักดิ์ และตำแหน่งหน้าที่จากพระยาอุปราชขึ้นเป็นพระยาเชียงใหม่ ท่านได้สร้างหอคำขึ้นไว้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป อันเป็นปูชนียวัตถุล้ำค่าภายในที่อยู่ของท่าน ท่านได้ทำการฉลองอย่างเอิกเกริก อนึ่งในการสร้างหอคำหลังนี้ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้ใช้ช่างพื้นเมือง และช่างพม่าผสมกัน ต่อมาพระยาเชียงใหม่มหาวงศ์ ได้รับพระราชทานเลื่อนฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็นเจ้า มีพระนามในสุพรรณบัฏว่า พระเจ้ามโหตรประเทศราชาธิบดินทร์นพีสิทรมหานคราธิษฐาน ใน พ.ศ. 2396 พอได้รับพระราชทานธานันดรศักดิ์ได้ไม่กี่เดือนก็ถึงแก่พิราลัย

เมื่อพระเจ้ามโหตรประเทศฯพิราลัยแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงเทพมหานคร ทรงแต่งตั้งให้นายสุริยวงศ์ บุตรของพระเจ้าบรมราชาธิบดี(กาวิละ)ขึ้นเป็นเจ้าครองนครเชียงใหม่ลำดับที่ 6 ต่อจากพระเจ้ามโหตรประเทศฯ พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่มาได้ 16 ปีเศษ พิราลัยเมื่อ พ.ศ. 2413 เจ้าอุปราชอินทนนท์ รักษาการในตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่มาร่วม 3 ปี จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าอินทรวิชยานนท์พหลเทพภักดีฯ เจ้าครองนครเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 2416



วัดพันเตานี้ นะครับ ให้สังเกตที่ประตู มีรูปนกยูงซึ่งหมายถึงสัญลักษณ์ ของพระมหากษัตริย์ อาจหมายถึงวัดนั้นเป็นวัดประจำราชวงค์ หรือว่า สร้างโยมหากษัตริย์ ครับ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 มี.ค. 10, 22:02 น โดย orchidstissue » noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #19 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 22:09 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

กาลเวลาล่วงเลยมาถึง พ.ศ. 2416 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ทรงมีพระราชดำริว่า หอคำของพระเจ้ามโหตรประเทศฯนั้น สมควรจะอยู่ในวัดมากกว่าอยู่ในวัง จึงทรงบัญชาให้ช่างช่วยกันรื้อหอคำ (หอคำ วัง หรือท้องพระโรงหน้า ของเจ้านครเชียงใหม่ เช่นเดียวกับวังหรือท้องพระโรงของเจ้านายทางภาคกลาง) หอคำหลังนี้ได้ย้ายมาปลูกสร้างขึ้นใหม่ ณ วัดพันเตาหรือวัดปันเต้า เมื่อวันเสาร์ เดือน 10 ขึ้น 8 ค่ำ ปก(ยกเสา)วิหารวัดพันเตาหรือวัดปันเต้ากลางเวียงเชียงใหม่ เพราะในขณะนั้นเจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่กำลังทรงปฏิสังขรณ์วัดหอธรรม วัดเจดีย์หลวง วัดสุขมิ้นอยู่แล้ว การก่อสร้างวิหารของพระอารามทั้งสามแห่งกับหอคำของวัดพันเตาสำเร็จบริบูรณ์ลงในพ.ศ. 2429 ทำการฉลองพร้อมกันทั้ง 4 แห่ง เมื่อวันอาทิตย์
เพ็ญเดือน 7 เหนือ โดยมีงานปอยหลวง(งานทำบุญฉลอง) มาตั้งแต่วันขึ้น 9 ค่ำ จนถึงวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ นับเป็นการปอยหลวงที่สนุกสนานที่สุดครั้งหนึ่งของนครเชียงใหม่ อายุของหอคำเมื่อนับจากปีที่วางรากปกเสา พ.ศ. 2419 มาจนถึงบัดนี้(พ.ศ.2551)รวมอายุได้ 132 ปี

โครงสร้างสถาปัตยกรรมของวิหารวัดพันเตา
ตัวอาคาร เนื่องจากสถาปัตยกรรมแบบเชียงแสนส่วนใหญ่ใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก มีโครงสร้างแบบกรอบยึดมุมมาก เสาและฝาทุกส่วนเป็นไม้โดยเฉพาะฝามีแบบวิธีการสร้างพิเศษคล้ายกับฝาปะกนของฝาไม้สมัยอยุธยา แต่มีขนาดตัวไม้ที่แน่นหนามั่นคงกว่า คือเป็นกรอบไม้ยึดยันรูปสี่เหลี่ยม อัดช่องภายในด้วยแผ่นไม้ลูกฟัก สัดส่วนใหญ่และหนากว่าฝาปะกน

การทำฝาแบบทางเหนือนั้น ใช้ตัวไม้โครงเป็นช่องตารางยึดติดกับช่วงโครงสร้างก่อน แล้วจึงบรรจุแผ่นลูกฟักภายหลัง ฝาแบบนี้แข็งแรงและมั่นคง เพราะต้องทำหน้าที่เป็นตัวรับน้ำหนักของส่วนบนอาคารด้วย

การทำฝาผนังของวิหารวัดพันเตาก็เป็นลักษณะนี้ โดยเฉพาะวิหารนี้ฝาผนังด้านข้างจะยาวตลอดเป็นแนวเดียวกัน ไม่มีการย่อมุขซึ่งเป็นที่นิยมมากทางภาคเหนือคือ การย่อมุมตรงมุขหน้าวิหารทั้งๆ ที่เป็นวิหารขนาดใหญ่มาก การสร้างวิหารนี้ช่างทางเหนือสามารถแก้ปัญหาที่ความรู้สึกหนักทึบของฝาผนังด้านข้างที่มีขนาดใหญ่มากๆ นี้ได้ โดยอาศัยการแบ่งพื้นที่ของผนังด้วยกรอบไม้ยึดยันรูปสี่เหลี่ยมดังที่กล่าวมาแล้ว พร้อมกันนั้นก็ใช้ประโยชน์จากฝาผนังแบบนี้ ให้เป็นตัวช่วยรับน้ำหนักจากหลังคาที่มีขนาดใหญ่ตามขนาดวิหาร


และอีกอย่าง คือ ให้สังเกตุผนังที่ทำจากไม้ และ ด้านบน ที่ เรียงกันได้ทั้งหมด 9 ช่อง เป็นเอกลักษณ์ของวัดเลยครับมีคำเรียก แต่ ลืมไปแล้ว ...



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #20 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 22:15 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ส่วนประดับตัวอาคาร

ประตู มีประตูเข้าทั้งหมด 3 ทางคือ ประตูใหญ่ทางด้านหน้า ประตูด้านข้างทางด้านทิศเหนืออยู่ค่อนมาทางประตูหน้า ทางทิศใต้อยู่ค่อนไปทางด้านหลัง ประตูที่สำคัญคือ ประตูด้านหน้า ซึ่งประกอบด้วยซุ้มประตูไม้แกะสลักประดับกระจกเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ได้แก่ นกยูง นาค ลิง หงส์ ประกอบลวดลายที่กรอบประตูส่วนบนเป็นโก่งคิ้วไม้แกะสลักลายดอกไม้ ใบไม้ บานประตูเป็นไม้แผ่นเรียบ
เครื่องบน เนื่องจากวิหารวัดพันเตามีขนาดใหญ่ (ประมาณ 28 – 17 เมตร) ตัววิหารแบ่งเป็น 7 ห้อง (แปดช่วงเสา) แต่ผนังยาวตลอดแนวเดียวกัน หลังคาจึงได้มีการลดชั้นเพื่อแก้ปัญหาความรู้สึกที่กดทับ ซึ่งจะเกิดขึ้นถ้าทำหลังคาตลอดชั้นเดียว การลดชั้นหลังคา ลดลง 2 ชั้น ตรงระหว่าง 3 ห้องริมสุด ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เครื่องประดับหลังคาคล้ายกับทั่วไปคือ มีช่อฟ้า รวยระกา หางหงส์ ที่เป็นเครื่องไม้แกะสลักประดับกระจก (หลุดไปเกือบหมดแล้ว) ที่สันหลังคาประดับด้วยหงส์โลหะสีเงิน

โครงสร้างภายในหลังคาวิหาร มีขื่อรองรับตุ๊กตาและขื่อลอย ทำแบบลูกฟักของจั่วทางด้านหน้า เพียงแต่ไม่กรุไม้ลูกฟักเท่านั้น โครงหลังคาและกรุหน้าจั่วเช่นนี้ถือว่าเป็นมงคล ทางภาคกลางเรียกว่า “แบบภควัม” โครงสร้างภายในของวิหารจะเห็นความประณีตบรรจงของการเข้าไม้ มีการลดคิ้วเส้นบัวของลูกฟัก
และลดคิ้วของขื่อและเต้าอย่างสวยงาม บางแห่งจะพบฝีมือการแกะสลักไม้งดงามมาก เช่น ขื่อ อกเลา หน้าต่าง เป็นต้น

โบราณวัตถุสถาน
วิหารวัดพันเตา เดิมคือ หอคำของพระเจ้ามโหตรประเทศฯ ที่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ อุทิศถวายวัดให้สร้างเป็นวิหารเมื่อปี พ.ศ. 2419 หอคำหลังนี้เป็นคุ้มหรือท้องพระโรงหน้าของเจ้าเมืองเชียงใหม่ เช่นเดียวกับวังหรือท้องพระโรงของเจ้านายภาคกลาง หอคำหรือวิหารหลังนี้เป็นเรือนโบราณชั้นดีของภาคเหนือ ที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของภาคเหนือไว้ได้มากที่สุดและค่อนข้างสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าได้รับการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ไปแล้ว แต่ก็มิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสถาปัตยกรรมให้แตกต่างไปจากการสร้างครั้งแรก

การบูรณะวิหาร

ทำการบูรณะส่วนฐานะและผนังด้านหลัง ซึ่งถูกฝนทำลายจนหลุดพังเสียหาย ประกอบกับเกิดน้ำท่วมเนื่องจากฝนตกหนัก ส่วนของผนังด้านหลังเสียหายมาก เศษไม้ที่หลุดหล่นลงมาจมน้ำ บางส่วนก็ถูกน้ำพัดไปจึงได้มีการซ่อมผนังด้านหลัง โดยทำผนังคอนกรีตระหว่างช่วงเสาตรงกึ่งกลางผนัง สำหรับฐานเดิมของวิหารที่เป็นเสาไม้ ซึ่งมีการผุกร่อนมาก่อน ทางวัดได้ทำการเสริมฐานเสาเดิมด้วยคอนกรีต และทำการก่ออิฐโบกปูนเสริมระหว่างเสาจากบริเวณร่องตีนช้าง (ซึ่งหายไป) ลงมาจนถึงพื้นและทำพื้นซีเมนต์ ปูกระเบื้องเคลือบ (ราว 20 กว่าปีมาแล้ว ประมาณก่อน พ.ศ. 2518) ทำการซ่อมหลังคาและเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาในสมัยของท่านครูบาอินศวร ซึ่งท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในขณะนั้น



--------------------------------------------------------------------------------


พอดีไปช่วงเทศกาล ได้เห็นการตกแต่งบรรยากาศแบบเชียงใหม่ สวยงาม



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #21 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 22:17 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ประวัติวัดพันเตา(ปันเต้า)

วัดพันเตาหรือคนเมืองเชียงใหม่จะนิยมเรียกว่า " วัดปันเต้า " เป็นส่วนใหญ่ ประวัติวัดพันเตาสร้างขึ้นเมื่อในสมัยพุทธศตวรรษที่ 21 ตอนต้น เมื่อประมาณ 2040 เมื่อนับถึงปี พ.ศ. 2551 จึงมีอายุได้ 511 ปี พื้นที่ของวัดทั้งหมดประมาณ 2 ไร่ 3 งาน 42 ตารางวา ในตำนานประวัติดั่งเดิมของวัดจะมีอายุเก่าแก่ใกล้เคียงร่วมสมัยเดียวกับวัดเจดีย์หลวงจากอดีตของคนในสมัยโบราณ คิดจะสร้างบ้านสร้างเมืองหรือวัด จำเป็นต้องคำนึงถึงการหาทำเลที่เป็นมงคล วัดพันเตาก็เป็นอีกหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุเจดีย์หลวง ใจกลางเมืองเชียงใหม่ คำว่า " พันเตา "



ในอดีต คนเมืองเชียงใหม่ไม่ได้เรียกชื่อกันแบบนี้ แต่นิยมเรียกกันว่า "วัดปันเต้า" หรือ "วัดพันเท่า" ซึ่งหมายถึง ปริมาณที่เพิ่มพูนขึ้นมากมาย เป็นร้อยเท่า พันเท่า เป็นการเขียนตามอักษรล้านนาแต่อ่านออกเสียงว่า “ปันเต้า” แล้วจึงกลายมาเป็น " พันเท่า " ในเวลาต่อมา พระเจ้าอินทวิชยานนท์เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 7 ( พ.ศ. 2413 – 2440 )รื้อหอคำของพระเจ้ามโหตรประเทศฯสร้างเป็นพระวิหาร ถวายวัดพันเตา ใน พ.ศ.2418 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 7 (พ.ศ.2412–2440)
พระบิดาของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี (พ.ศ.2416–2476) ได้โปรดให้รื้อหอคำหรือคุ้มหลวงของพระเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 5 (พ.ศ. 2390 – 2397) สร้างวิหารถวายวัดพันเตาตามจารีตในล้านนาและทำบุญฉลองวิหารแห่งนี้เมื่อ พ.ศ. 2429 นับเป็นวิหารไม้สักที่สร้างจากหอคำหรือคุ้มหลวงที่เหลืออยู่อย่างสมบูรณ์เพียงหลังเดียวในล้านนา

หน้าแหนบวิหารวัดพันเตา วิหารวัดพันเตามีหน้าแหนบที่เป็นไม้แกะสลักที่สวยงามที่สุดในล้านนา และมีลวดลายในโครงสามเหลี่ยม ตรงกลางแกะสลักรูปมอม ( มอม คือ พาหนะของเทพปัชชุนนะ เทพผู้บันดาลให้เกิดฝน) กรอบของซุ้มวิหารมีรูปวานรแบกตัวลวง 2 ตัว ทั้งสองข้าง ซึ้งตัวลวงนี้ใช้หางค้ำรูปแบบจำลองของประสาทส่วนฐานของรูปซุ้มเป็นท่อนไม้ 8 เหลี่ยมสลักลวดลายประจำยาม ซึ่งทำปลายเสาทั้งสองข้างเป็นรูปหัวเม็ด มีหงส์ยืนประกอบทั้งสองข้าง ซึ้งสมบูรณ์ด้วยองค์ประกอบทางช่างและภูมิปัญญา ในช่วงสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ใน พ.ศ. 2539 จึงใช้ภาพหน้าแหนบวิหารเป็นภาพแสตมป์ภาพหนึ่งในชุดแสตมป์ร่วมสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี (หงส์ 2 ตัวที่ยืนประกอบทั้งสองข้างหายไปเมื่อประมาณต้นปี พ.ศ. 2540–2541 พฤษภาคม 2540 และได้คืนเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2541)



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #22 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 22:20 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
http://muanglanna.com/?option=com_content&view=category&layout=blog&id=14&Itemid=15
อีกแห่งเข้าไปดุข้อมูลได้ครับ


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #23 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 22:22 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ไม่เห็นร่องรอย ส่วนที่เป็นเตา เพื่อหล่อพระพุทธรูปเลย



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #24 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 22:25 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

วัดพันเตาเป็นวัดที่ดูมีมนต์ขลังมากเลยครับ และยังมีซุ้มด้านหน้าที่มุงด้วยใบจาก ใบลาน



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #25 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 22:31 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ส่วนภาพนี้ อยู่ด้านในสุดครับ แต่ไม่ทราบว่า หมายถึงอะไร ที่ก่อทรายล้อมด้วยไม้ไผ่สานแบบนั้น



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #26 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 22:37 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

q*014
ชอบภาพนี้มากเลยครับ



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #27 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 22:38 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

q*013



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #28 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 22:39 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

q*013



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #29 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 22:41 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

สามเณร ในวัดครับ



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #30 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 22:53 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
http://wat9chiangmai.in.th/modules.php?name=News&file=article&sid=10

อีกความสวยงามที่ไม่ควรพลาด คือ พระประธานในวิหารพันเตาครับ นายเด ขอ คัดลอก ข้อมูลจากเว้ปดังกล่าวมาให้นะครับ เพราะเผื่อใครไป จะได้มีดอกาสได้ชมสิ่งสำคัญในวัดพันเตา

วัดพันเตา เป็นวัดที่อยู่ใกล้กับสี่แยกกลางเวียง(กลางเมือง) ซึ่งวัดจะอยู่ติดกับวัดเจดีย์หลวง เยื้องๆกับวัดพันเตาเป็นศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา ซึ่งวัดพันเตาตั้งอยู่ที่ถนนพระปกเกล้า ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่


ด้านหน้าวัด เมื่อมองจากหน้าวัดเข้าไปก็จะเห็นวิหารและศาลาครับ ผมขอเริ่มที่ศาลาก่อนนะครับ ในศาลาก็จะมีสมเด็จพุฒาจารย์โตพรหมรังษี (โต พรหมรังษี) ให้กราบไหว้และก็จะมีบ่อน้ำให้ประชาชนนำไปสักการะบูชา ตรงกลางศาลาเมื่อมองขึ้นไปด้านบนเพดานจะเห็นลวดลายไม้แกะสลักเป็นสัญลักษณ์ของ 12 นักษัตริย์



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #31 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 22:55 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ด้านขวามือของศาลาจะเป็นวิหารครับ ซึ่งตรงประตูทางเข้าวิหาร ด้านบนเมื่อมองขึ้นไปจะเห็นว่าหน้าบานประตูประดับด้วยไม้แกะสลักเป็นรูปนกยูง (วัดเชียงยืนก็มีเหมือนกัน) ซึ่งจะมีเป็นบางวัดเท่านั้น

ด้านในของวิหารจะของเก่าหลายๆอย่าง มีทั้งประวัติความเป็นมาของวัด ธรรมาสน์โบราณ ไม้ประกับ รูปภาพของเจ้านาย เจ้าครองนครในสมัยอดีต ซึ่งมีประวัติให้ด้วยครับ

ประวัติของธรรมาสน์โบราณ ธรรมมาสน์โบราณหลังนี้สร้างโดย พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7 เมื่อปี พ.ศ.2416 - 2429 สร้างคู่กับองค์พระประธานในวิหารหอคำหลังนี้ ธรรมาสน์โบราณโดยทั่วๆไปจะมีลักษณะเหมือนๆกันแทบทุกวัน ในเขตล้านนาภาคเหนือตอนบน นิยมสร้างถวายไว้คู่กับวัดแทบทุกวัด แต่ในยุคสมัยปัจจุบันการใช้ธรรมาสน์จะใช้ธรรมาสน์แบบภาคกลางกันเป็นส่วนใหญ่ ธรรมาสน์โบราณนั้นสร้างตามความเชื่อของคนล้านนา ซึ่งนิยมสร้างธรรมาสน์จำลองคล้ายองค์ปราสาท เปรียบประดุจดั่งวิมานแก้ว วิมานคำ ที่อยู่บนสรวงสวรรค์ มีความปราณีต วิจิตร งดงามตระการตา ตามฝีมือของช่างสมัยนั้น เพราะการสร้างธรรมาสน์โบราณ หรือสร้างอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชานั้น อดีตคนโบราณสร้างด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแรงกล้า

โดยลักษณะของธรรมาสน์นั้น มีบันไดสำหรับพระธรรมกถึก (พระนักเทศน์) ขึ้นไปเทศน์ มียอดซุ้มหลังคาปราสาท คนโบราณสร้างไว้สูงกว่าพื้นปกติโดยทั่วไป จุดประสงค์เพื่อให้พระธรรมกถึกองค์ที่เทศน์ มีเสียงดังก้องกังวาลดี เนื่องจากอดีตคนโบราณไม่มีเครื่องขยายเสียงเหมือนสมัยปัจจุบัน ฉะนั้นจึงสร้างธรรมาสน์ยกแท่นให้สูงกว่าพื้นปกติ



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #32 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 22:57 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ไม้ประกับ คือ ไม้ขนอบ เป็นไม้สำหรับประกบคัมภีร์ ใบลานทั้งสองข้าง เพื่อกันใบลานมิให้หักงอได้ง่าย ไม้ประกับที่มีลวดลายสวยงาม มักเป็นไม้ประกับของกรรมวาจา

สภาพโดยทั่วไปของวัดพันเตาร่มรื่นดี มีหลายๆอย่างในเยี่ยมชม มีประวัติของสิ่งของแต่ละสิ่งให้อ่าน แต่พื้นที่ของวัดเล็กกว่าวัดเจดีย์หลวงซึ่งอยู่ติดกันมาก ด้านท้ายวัดจะติดกับวัดเจดีย์หลวง ตอนที่ผมไปเที่ยวทางวัดมีการก่อสร้างประตูหน้าวัดใหม่ โดยเจาะรั้ววัดเพื่อทำประตูให้ตรงกับประตูวิหาร รั้วก็มีการก่อสร้างใหม่ ภายในวิหารก็ยังมีแบบแปลนที่เขียนบ่งบอกสภาพของวัด ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าเป็นสภาพวัดดั้งเดิมหรือจะทำการบูรณะวัดใหม่ให้เป็นไปตามแบบแปลน แต่ตามความคิดเห็นของผม ผมคิดว่าค่อนข้างจะยากทีจะทำให้วัดมีสภาพเป็นไปตามแบบแปลนเพราะด้านข้างของวัด(ทิศเหนือ) มีอาคารขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นทั้งที่อยู่อาศัย ร้านค้ามากมายครับ ก็ลองดูตามภาพนะครับ



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #33 เมื่อ: 10 มี.ค. 10, 23:01 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ถ่ายให้ชมกันชัด ๆ กับความสวยงามของพระประธาน....

นายเด ว่า สงสัย คงต้องเก็บข้อมูลวัดสวนดอกกับวัดพระสิงห์ ไว้กระทู้หน้าครับ เพราะว่า เดี๋ญวจะตาลายยยยยยย

ขอบพระคุณทุกท่าทนที่ติดตามชมและฝากคอมเม้นให้เป็นกำลังใจ สวัสดีครับ

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #34 เมื่อ: 11 มี.ค. 10, 08:47 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ก่อนจบกระทู้ นายเด ขอย้ำ รูปภาพพระประธานในวัดพันเตาและ พระอัฎฐารส ที่วัดเจดีย์หลวงนะครับ ซึ่งงดงามมาจริง ๆ ต้องการย้ำชัดด้วยรูปภาพว่า ถ้าหากมีโอกาสไปเชียงใหม่ ต้องไปกราบไหว้และชื่นชมครับ



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #35 เมื่อ: 11 มี.ค. 10, 08:50 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

q*014



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #36 เมื่อ: 15 มิ.ย. 10, 14:28 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

วัดสวยน่าไปเยี่ยมชมค่ะ



Pattaya Hotels Thailand
Bangkok Hotels Thailand
Phuket Travel Guide

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:   Go
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม