|
สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งการเรียนรู้ในจังหวัด ภูเก็ตมีน้อยมากสำหรับเมืองท่องเที่ยวอย่างจังหวัดภูเก็ต เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการเปิดสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งการเรียนรู้แห่ง ใหม่ในภูเก็ต วันนี้ผมจะมาแนะนำให้ได้รู้จักกันก็คือ “พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต” ตั้งอยู่ในเขตอำเภอกะทู้
สำหรับจังหวัด ภูเก็ตนั้นหลายท่านคงจะเคยทราบมาแล้วว่าเมื่อสมัยก่อนจังหวัดภูเก็ตเป็น แหล่งการทำเหมืองแร่ ดีบุก มีการค้าขายและถลุงแร่ดีบุกจนทำให้จังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจ รุ่งเรืองเมื่อสมัยก่อน ดังนั้นเหมืองแร่จึงเป็นเรื่องราวที่ผูกพันกับภูเก็ตมาเมื่อสมัยก่อน เทศบาลตำบลกะทู้ จึงได้ริเริ่มสร้าง “พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต” เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้
การเดินทางไป “พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต” จะลำบากสักหน่อยเพราะไม่มีรถโดยสารประจำทางผ่านต้องไปด้วยรถยนต์ส่วนตัวเท่า นั้น ทำท่านใดที่มาเที่ยวภูเก็ตถ้า เช่ารถขับเที่ยวภูเก็ตให้ขับมาทางเส้นทาง “โรงเรียนนานาชาติบริทิสอินเตอร์เนชั่นแนลภูเก็ต” พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต จะอยู่ระหว่าง “โรงเรียนนานาชาติบริทิสอินเตอร์เนชั่นแนลภูเก็ต” กับ “สนามกอล์ฟล็อกปาล์ม” เส้นทางหลวง 3013 ค่อนข้างจะหายากสักหน่อย หรือสำหรับที่ใช้บริการ City Tour ของบริษัททัวร์ อาจจะบอกทางทัวร์ว่าให้พามายัง พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต ได้เลย
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ตเปิดให้บริการทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์ เหมืองแร่ภูเก็ต ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ 5 ถนนสายกะทู้-นาเกาะ ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ติดกับสนามกอล์ฟล๊อกปาล์มกะทู้
การจัดแสดงนิทรรศการ พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ มีการแสดงนิทรรศการแบบมีชีวิต (Life Museum) โดยแบ่งการแสดงไว้เป็น 2 ส่วน คือ ภายนอกอาคาร (Outdoor) ประกอบด้วย เหมืองแล่น เหมืองรู เหมืองหาบ เหมืองฉีด เหมืองเรือขุด ส่วยภายในอาคาร (Indoor) จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติความเป็นมาของการทำเหมืองแร่ดีบุก และวิถีชีวิตของชาวเหมือง
อัตราค่าเข้าชม
คนไทย ผู้ใหญ่ ๕๐ บาท เด็ก ๒๐ บาท ต่างชาติ ผู้ใหญ่ ๑๐๐ บาท เด็ก ๕๐ บาท
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต โทร ๐๘๘- ๗๖๖-๐๙๖๒
ข้อมูลเพิ่มเติมหาอ่านได้ที่
http://th.wikipedia.org/wiki/พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้
http://www.kathucity.go.th
http://yutphuket.wordpress.com/2011/04/11/phuket-mining-museum/
|
|
|
|
Tags: |
|
|
|
|
ทาง ไป พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต จะหายากสักหน่อยผมแนะนำให้โทรถามทางพิพิธภัณฑ์น่าจะสะดวกว่า ที่ 0887660962 หรือสอบถามที่เทศบาลกะทู้ก็ได้ที่ 076-321500
|
|
Tags: |
|
|
|
|
อาคารจะสร้างแบบ ชิโนโปรตุกีส 1 ชั้นครึ่ง มีจิ่มแจ้(ลาน) อยู่ตรงกลาง มีการตกแต่งหน้าต่างด้วยลายปูนปั้นซุ้มโค้งแบน สะท้อนให้เห็นถึงความงดงามแห่งการผสมผสาน จึงเรียกอาคารนี้ว่า “อังมอหลาว”
|
|
Tags: |
|
|
|
|
อัตราค่าเข้าชม คนไทย ผู้ใหญ่ ๕๐ บาท เด็ก ๒๐ บาท ต่างชาติ ผู้ใหญ่ ๑๐๐ บาท เด็ก ๕๐ บาท
|
|
Tags: |
|
|
|
|
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ มีการแสดงนิทรรศการแบบมีชีวิต (Life Museum) โดยแบ่งการแสดงไว้เป็น 2 ส่วน คือ ภายนอกอาคาร (Outdoor) ประกอบด้วย เหมืองแล่น เหมืองรู เหมืองหาบ เหมืองฉีด เหมืองเรือขุด ส่วยภายในอาคาร (Indoor) จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติความเป็นมาของการทำเหมืองแร่ดีบุก และวิถีชีวิตของชาวเหมือง
|
|
Tags: |
|
|
|
|
รถสองแถวภูเก็ตเขาเรียกรถโปถ้อง
|
|
Tags: |
|
|
|
|
|
|
Tags: |
|
|
|
|
|
|
Tags: |
|
|
|
|
|
|
Tags: |
|
|
|
|
|
|
Tags: |
|
|
|
|
|
|
Tags: |
|
|
|
|
|
|
Tags: |
|
|
|
|
|
|
Tags: |
|
|
|
|
ห้อง สายแร่แห่งชีวิต เป็นนิทรรศการเหมืองจำลองตั้งแต่เหมืองยุคแรก ๆ
|
|
Tags: |
|
|
|
|
มีการจัดแสดงหุ่นจำลองการทำเหมืองแร่
|
|
Tags: |
|
|
|
|
เหมือง หาบเป็นวิธีการทำเหมืองเปิดในแหล่งแร่ชนิดลาน แร่บริเวณไหล่เขา โดยการเปิดหน้าดินด้วยการขุดเจาะหรือการใช้ระเบิดให้เป็นบ่อกว้างจนถึงชั้น ดินที่มีแร่ แล้วใช้แรงงานคนหรือรถตัก รถบรรทุกขนดินปนแร่ไปสู่กระบวนการล้างแร่ในโรงแต่งแร่ โดยจะต้องบดย่อยหินปนแร่ให้แตกหรือหลุดจากกันก่อน โดยการใช้เครื่องมือย่อยหรือบดแร่ แล้วจึงนำดินหินปนแร่ที่ย่อยแล้วไปลงรางไม้ และล้างเก็บเอาแร่ออก
|
|
Tags: |
|
|
|
|
โมเดลหุ่นจำลองการทำเหมืองแร่
|
|
Tags: |
|
|
|
|
|
|
Tags: |
|
|
|
|
|
|
Tags: |
|
|
|
|
|
|
Tags: |
|
|
|
|
|
|
Tags: |
|
|
|
|
เหมืองฉีดเป็นวิธีการทำเหมืองเปิดที่ใช้กับแหล่งแร่ ชนิดลานแร่ โดยใช้เครื่องดูด (HYDRAULIC ELEVATOR) ในการสูบแร่ขึ้นรางกู้แร่หรือเครื่องอุปกรณ์แต่งแร่ “จิ๊ก”(JIG) โดยใช้น้ำที่กักเก็บไว้ในทำนบน้ำบนที่สูงเป็นพลังงานในการดูดดินปนแร่ แทนการใช้ปั้มดูดทราย (GRAVEL PUMP) เหมืองฉีดมีค่าดำเนินการที่ต่ำมาก แต่ต้องลงทุนในการสร้างทำนบและการเดินท่อน้ำค่อนข้างสูง
|
|
Tags: |
|
|
|
|
เหมืองสูบ
เหมืองสูบเป็นวิธีการทำเหมืองเปิด สำหรับแหล่งแร่ชนิดลานแร่ โดยการสูบฉีดน้ำไปพังดินหน้าเหมือง บางแห่งอาจใช้รถตักดิน รถไถดินหรือการระเบิดช่วย ดินปนทรายและแหล่งแร่ที่พังทลายได้จะถูกปล่อยลงสู่ขุมสูบ แล้วจึงใช้ปั้มสูบทราย (GRAVEL PUMP) สูบดินปนแร่ขึ้นสู่รางกู้แร่ (PALONG) หรือเครื่องมือแต่งแร่อย่างอื่น เช่น จิ๊ก (JIG)
การทำเหมืองสูบ เป็นวิธีการที่แพร่หลาย เพราะเป็นวิธีการที่มีกำลังการผลิตสูง ใช้เงินลงทุนไม่สูงมาก และไม่ต้องการบริเวณแหล่งแร่กว้างใหญ่
|
|
Tags: |
|
|
|
|
หมืองเรือขุด
การทำเหมืองเรือขุดจะใช้ดำเนิน การในแหล่งแร่ชนิดลานแร่ขนาดใหญ่ ที่ผ่านการสำรวจว่าเป็นแหล่งที่มีความสมบูรณ์ของแร่เพียงพอต่อความคุ้มค่าใน การลงทุน เรือขุดที่ใช้ในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นประเภทลูกเชอตักดิน (BUCKET LADDER DREDGES) ใช้ขุดเปิดหน้าดินใต้น้ำไปจนถึงดินชนิดที่มีแร่ปนอยู่ขึ้นมาเทในรางเหล็ก (DROP CHUTE) บนเรือ จากนั้นจะทำการคัดแยกดินทรายและแร่ละเอียดด้วยตะแกรงหมุน แล้วแยกแร่ด้วย จิ๊ก (JIG) โดยกระบวนการทุกขั้นตอนจะดำเนินการอยู่บนเรือทั้งหมด
|
|
Tags: |
|
|
|
|
ห้อง นิรมิตเล่นแร่แปรธาตุ
|
|
Tags: |
|
|
|
|
|
|
Tags: |
|
|
|
|
ชุมชนกะทู้ จะมีการทำไม้กวาดดอกอ้อ
|
|
Tags: |
|
|
|
|
|
|
Tags: |
|
|
|
|
ห้องครัวของคนภูเก็ตสมัยก่อน
|
|
Tags: |
|
|
|
|
|
|
Tags: |
|
|
|
|
จบแล้ว ครับ ขอบคุณทุกที่ติดตามชม ... สำหรับใครที่มาเที่ยวภูเก็ต ถ้ามีเวลาว่างลองแวะมาเยี่ยมชม พิพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต บ้างน่ะครับ
http://yutphuket.wordpress.com/
|
|
Tags: |
|
|
|
|
เยี่ยมมาก ขอบคุณสำหรับภาพและรายละเีอียด 
|
|
Tags: |
|
|
|
ส้มแป้น
|
ขอบคุงนะค๊า ที่เอามาให้ชมกัน ชมภาพแล้ว อยากกลับไทยจัง โดยเฉพาะบ้านเกิด ( ภูเก็ต) คิดถึงบ้านมากๆ และก้อคิดถึง อาหารภุเก็ตด้วย แต่ที่แน่ๆ กลับไปมะไหร่จะลองแวะเข้าไปชม
|
|
Tags: |
|
|
|
LL
|
ดีครับ ผมอยู่ภูเก็ตยังไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหนเลย ถึงบางอ้อแล้วครับ  
|
|
Tags: |
|
|
|
นิสชิน
|
ได้เข้าไปชมแล้วบางส่วน สวยมากค่ะ และอาจารย์ประจำอยู่ที่นั้นท่านใจดีค่ะ ให้คำอธิบายอย่างช้าๆ และเข้าใจได้ง่ายในการหาแร่
|
|
Tags: |
|
|
|
ยาย ป. ทองผาภูมิ
|
ขอบคุณนะค่ะที่เอารูปมาให้ดูสวยมาก ๆ เลยถ้ามีเวลาแล้วยายจะแวะชมอยากเห็นจังเลย ยายเคยไปภูเก็ตมาแล้วตั้งหลายครั้งแต่ไม่ได้แวะเข้าชมเลยไม่คิดว่าจะสวยมากมายอย่างนี้สวยจริง ๆ ขอบอก ขอบคุณอีกครั้งนะค่ะ 
|
|
Tags: |
|
|
|
ธดา
|
ได้ความรู้เพิ่มเกี่ยวกับภูเก็ตเยอะเลย ขอบคุณมากคะ 
|
|
Tags: |
|
|
|
|