|
"2แสน แท็บเล็ต" กับ"อี-เลิร์นนิ่ง"ในไทย มติชนรายวัน ฉบับ 20 สิงหาคม 2554 หน้า20โครงการแจก "แท็บเล็ต" ให้เด็กนักเรียน "ชั้นประถม" นั้น เพียงแค่เริ่มต้นคิดถึง "หนทางปฏิบัติ" ในความเป็นจริงเพียงคร่าวๆ ก็ต้องถือว่าเป็นโครงการใหญ่ไม่ใช่เล่น ถือว่าใหญ่มากที่สุดที่เกี่ยวเนื่องในด้านการศึกษาและสารสนเทศในบ้านเรา แนวความคิดในเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แนว ทางหลักเป็นแบบเดียวกับที่หลายๆ ประเทศใช้กันอยู่ เป้าหมายก็เพื่อนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางด้านการศึกษาให้มากที่สุด แล้วก็ใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี มา "ตอบโจทย์" ทางด้านการศึกษาที่แต่ละประเทศ แต่ละเมืองมีอยู่ ตั้งแต่เรื่องของการ "ยกระดับมาตรฐานการศึกษา" เรื่อยไปจนถึงปัญหา ขาดแคลนบุคลากรทางด้านนี้ เป็นอาทิ เกริ่นอย่างนี้เพื่อชี้ให้เห็นเป็นลำดับแรกสุดว่า ถ้ามองโดยองค์รวมอย่างนี้ "แท็บเล็ต" จำนวน (เบื้องต้น) 2 แสนตัว ที่จะแจกให้กับทั้งนักเรียนและคุณครูนั้น เป็นเพียง "ส่วนเล็กๆ" ส่วนหนึ่งของทั้ง "ระบบ" เท่านั้น ดังนั้น ใครจะตื่นเต้นกับโครงการนี้ก็ตื่นเต้นไป แต่สำหรับผมแล้ว ถ้าจะทำแค่ "แจก" เรื่องนี้ก็ "จบ" ตั้งแต่ยังไม่ทันเริ่มละครับ กลุ่มคนที่ให้ความสนใจกับเรื่องนี้มากที่สุดมีอยู่ 2 กลุ่มครับ กลุ่มแรกเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการศึกษาอย่างจริงจัง กับอีกกลุ่มก็คือคนขายแท็บเล็ต แต่เท่าที่แอบๆ ถามๆ กันมา กลุ่มคนขายแท็บเล็ตเริ่มปวดหัวไปตามๆ กันแล้ว เพราะว่ากันว่า มีการเคาะ "ราคา" กันออกมาเป็นหลักก่อนโดยไม่ถามไถ่อย่างอื่น ที่ตัวละ "3,000 บาท" เล่น เอาหลายรายส่ายหน้าไปแล้วด้วยเหตุผลที่ว่า "ไม่อยากให้เสียยี่ห้อ"แต่ถึงจะแค่ตัวละ 3,000 บาท งบประมาณที่ใช้เพื่อการนี้ก็มหาศาลแล้วละครับ ปาเข้าไป 600 ล้านบาท คำถามที่สำคัญที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ เราใช้เงินไปเท่านี้แล้วสามารถ "ตอบโจทย์" ทางด้านการศึกษาได้จริงหรือ?อ่านมาถึงตอนนี้หลายคนคงคิดว่าผมค้านโครงการนี้ในแบบ "ติเรือทั้งโกลน" หรือเปล่า? คำตอบจริงๆ ก็คือ ผมไม่ได้คัดค้านโครงการนี้ เพราะเชื่อว่าถ้าหาก "บริหารจัดการดีๆ" และคิดถึงโครงการนี้แบบ "องค์รวม" ไม่ใช่คิดถึงเพียงแค่ "แยกส่วน" เพื่อหวังผลประการหนึ่งประการใดที่ไม่ใช่ทางด้านการศึกษาละก็ ไม่น่าจะเป็นเรื่องดีแน่ และถ้าจะคิดเรื่องนี้ให้ถี่ถ้วนละก็ ไม่จำเป็นต้องรีบร้อน เพราะหลายๆ เรื่องที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในกรณีนี้ ดูแล้วทำทีทำท่าว่าจะรีบร้อนไม่ได้เสียด้วย อ่านต่อ..
|
|
|
|
|
|
![]() |
|
|
|
|
ตอบไม่อยากเลยครับ...ว่ามันโง่ หาก นะ หากว่า...
1. ยอมเชื่ออ้ายพวกบ้าที่เย้ว ๆ ว่า นโยบายที่สัญญาไว้ต้องทำในทันที? โดยไม่มีการทบทวน หรือพิจารณา ผลดี ผลเสียอย่างถ้วนถี่ และเร่งรีบ ที่จะดำเนินการ โดยขาดการบริหารจัดการที่ดี หรือมีนโยบายที่ชัดเจน ออกมาเป็นนโยบายที่ชัดเจน ในภาคปฎิบัติ เพื่อให้ผู้ปฎิบัติ นำไป บริหารกัน... 2. โครงการนี้ไม่มีนอกมีใน...มีการยัดใส้เพื่อตอบแทนคุณคนในด้วยกัน เอง ในเรื่องของการบริหารจัดการด้านการจัดซื้อ จัดจ้าง มันต้องมีการ ประมูลแบบเปิดเผย...โดยการยื่นซอง และคุณภาพของแทปเล็ตต้อง ประกอบไปด้วยองค์ประกอบใดบ้าง ใช้การได้ในลักษณะใด อย่างครบ ทุกด้านที่ต้องการ คุ้มค่าตามลักษณะของตัวเครื่องที่เป็นปัจจัยหลักของ เด็ก ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพด้าน รูปลักษณ์ ความคงทนทนทาน วัสดุอุป กรณ์ ตรงสเป็ค หรือแม้แต่ สามารถซ่อมบำรุงและมีอะไหล่รองรับนั่นเอง
ส่วนภาพรวม...สามารถตอบได้ในทันทีว่ามันโง่ งี่เง่า ทุกตัวตน ทุกคน หากยังง่วนอยู่กับการ...ระราน ติเพื่อทำลาย มิใช่ติเพื่อก่อ หรือเพื่อเพียง แค่ทำตามหน้าที่ ดิสเครดิตกัน...เหตุเพราะจิตอาฆาต หรือริษยาแรงส์ครับ แบบที่เราเห็น ๆ กันอยู่ในยุคปัจจุบัน ที่กำลังปั่น กำลังเล่น เอามาเป็นประเด็น ทุกๆเรื่อง ช่างแต่งหน้าเอย/ สัมภาษณ์นักข่าวเอย/ สายล่อฟ้าอ้ายแม้วเอย ทั้ง ๆ ที่เรื่องนี้ ก็ล่อเอาเถิดมาแล้วตั้งแต่รัฐบาลชุดที่แล้ว/พาสปอร์ตแดง/ การเข้าญี่ปุ่น /การเข้าเยอรมัน /การไม่มีการจับกุมคุมตัวอ้ายแม้ว/รมว.บัว แก้ว ให้การช่วยเหลือ.../เรื่องภาษี/ และจิปาถะในเรื่องของโครงการต่างๆ ซึ่งโดยภาพรวมแล้ว...เรื่องทุกเรื่องมันก็เป็นการประจานการทำงานของรัฐฯ ในยุคที่แล้วเป็นอย่างดี ในเรื่องของการไล่จับไล่งับอ้ายแม้ว.../แล้วทำไม ถึงจะต้องมากระตุ้น กระชุ่มกระชวยกันอีกครั้ง หลังจากต้องมานั่งเป็นฝ่าย แค้นเต็มตัว....นี่ซิถึงบอกว่ามันน่ากลัว กลัวว่าจะโง่กันทุกฝ่าย ไม่ว่าฝ่ายใด เพราะมัวแต่เอาเวลามานั่งหาเห็บ หาเหา หาเรื่องหาราวกัน จนไม่เป็นอันต้อง ทำการทำงาน...แทนที่จะห่วงว่าน้ำท่วม อ่วมอรทัย รัฐบาลทำอะไรให้กับ ประชาชนในพื้นที่เพียงพอแล้วหรือยัง...ในด้านความช่วยเหลือจำเพาะหน้า หรือว่าจะแก้ไขแบบบูรณาการในอนาคต...อย่างหลังนี้ดูท่าจะฉลาดกว่า..
ดังนั้น ก็สรุปชัด ๆ กันได้ว่า มันโง่กันทุกคน ทุกฝ่าย อยู่ที่ว่ากระทำการอยู่ ในสถานะใด ฝ่ายไหน?? เพื่อใคร หรือเพื่อชาติ ฝากไปคิดทั้งสองฝ่าย... เพราะสิ่งที่ได้เห็น...เหมือนมันเอาประเทศชาติมาเล่นเป็นเกมส์การเมือง.. ของคนสองฝ่ายแค่นั้นเอง...บลัฟกันไปบลัฟกันมา ประชาชนไม่เคยได้อะไร มีแต่ทำให้วงจรอุบาทว์ เจริญงอกงาม จนไม่มีวันจบสิ้น...[b]จริงไหมเอก...[/[/b]color][/b]
|
|
|
|
![]() |
|
|
ความเห็นผมก็ไม่น่าจะเสียหายมากนัก ถ้าเทียบกับจำนวนประชากรของประเทศแล้วคิดค่าเฉลียออกมาเสียสละคนล่ะไม่เกิน10บาท ทำเพื่อเด็กชนบทผมไม่เสียดายน่ะ และไม่ได้ค้านเหตุผลของคุณเอกด้วย ที่ผ่านๆมาที่ผมเคยนำสมาชิกในกลุ่มไปช่วยนักเรียนในชนบทแล้วรู้ความต้องการของเด็ก จริงๆครับ.(แต่ถ้าครูผู้สอนแอบเอาไปใช้ก็ ต้องมีบ้างล่ะน่ะ)55+
|
|
|
|
![]() |
|
ขี้เกียจล๊อคอิน
|
ต่อให้เรียกกันกินข้าวธรรมดา มันก็ยังกินไม่ได้ทันทีเลย ต้องหาถ้วยหาจาน ตั้งสำรับกับข้าว กว่าจะได้กินก็หลายยก นั่นมันโครงการไม่ใช่กินข้าว ทำนะทำทันที แต่กว่าจะได้ก็ต้องใช้เวลาบ้าง
|
|
|
|
![]() |
|
|
|
ถ้าผู้ใหญ่รู้จักแนะนำให้ใช้ในทางที่ถูกที่ควร ก็คงจะมีประโยชน์ไม่ใช่น้อย เพราะเด็กสมัยนี้อนุบาลก็รู้เข้าเน็ตเป็นแล้ว
แต่หากผู้ใหญ่แนะนำในทางไม่ดี เหมือน จขกท. ที่ชอบสะสมภาพแอบถ่าย ภาพหลุด ถ้าเป็นความชอบส่วนตัวก็ไม่ผิดอะไร แต่นี่ดันเอามาโพสในบอร์ดสาธารณะ ลองหลับตานึกดู เพราะบอร์ดไม่ติดเรต ถ้าเด็ก ป.1 คลิกเข้ามาดูเค้าจะรู้สึกอย่างไร
"ฉลาด" หรือ "โง่" มันจึงอยู่ที่ผู้ใหญ่ ว่าจะฉลาดพอที่จะสอนเด็ก และ/หรือ ทำตัวให้เป็นตัวอย่างกับเด็กได้หรือไม่
|
|
|
|
![]() |
|
|
เอาง่ายๆผู้ปกครองคนไหนคิดว่าการได้แท็ปเล็ตแล้วจะทำให้ลูกตัวเองโง่ขึ้น
ก็แจ้งให้ครูประจำชั้นว่าลูกผม/ดิฉันไม่ขอรับแท็ปเล็ตก็สิ้นเรื่องครับ เพราะถ้า
ไม่รู้ว่ามันมีประโยชน์ยังไงหรือใช้ไม่เป็นก็อย่าเอามันมาเสียดีกว่าครับ
|
|
|
|
![]() |
|
nutsa
|
ทุกอย่างมีข้อดีข้อด้อย อยู่ที่รัฐบาลจะจัดการอย่างไร เมื่อพูดไปแล้ว
"ก่อนพูดเราเป็นนายคำพูด เมื่อพูดไปแล้วคำพูดเป็นนายเรา"
|
|
|
|
![]() |
|
|
|
ทุกอย่างมีข้อดีข้อด้อย อยู่ที่รัฐบาลจะจัดการอย่างไร เมื่อพูดไปแล้ว
"ก่อนพูดเราเป็นนายคำพูด เมื่อพูดไปแล้วคำพูดเป็นนายเรา"
ก็เพราะคำพูดเป็นนายเรานี่แหละ พอไม่พูดไม่ตอบก็หาว่าหนี้บ้าง ไม่มีโพยบาง แล้วความพอดีอยู่ตรงไหน..ครับ
|
|
|
|
![]() |
|
k542
|
|
|
|
|
![]() |
|
|
แถไปไหนแล้วนี่
|
นโยบายนี้ฉลาดมาก เพราะหลอกคนโง่ๆได้เยอะ คนโง่อยากฉลาด ไม่รู้ว่าจะฉลาดยังไงได้ ก็จะพึ่งแทบเล็ต แท็บเล็ตยาบ้า เหวงไปถึงไหนแล้วนี่
|
|
|
|
![]() |
|
|
นโยบายนี้ฉลาดมาก เพราะหลอกคนโง่ๆได้เยอะ คนโง่อยากฉลาด ไม่รู้ว่าจะฉลาดยังไงได้ ก็จะพึ่งแทบเล็ต แท็บเล็ตยาบ้า เหวงไปถึงไหนแล้วนี่
ประเทศเหล่านี้ก็อยู่ในเกณฑ์โง่ด้วยใช่หรือไม่ หรือว่าโง่แต่คนต่อต้านรัฐบาลนี้ ควายเรียกพี่จริงๆ
|
|
|
|
![]() |
|
|
ประเทศเหล่านี้ก็อยู่ในเกณฑ์โง่ด้วยใช่หรือไม่ หรือว่าโง่แต่คนต่อต้านรัฐบาลนี้ ควายเรียกพี่จริงๆ
ทองมากต่างหากที่ Red bufflalo เพราะผมเขียนเรื่องเกาหลีกำลังจะทำให้มีแท็บเล็ตพีซีพร้อมใช้ในโรงเรียนทั่วประเทศภายในปี2015 ในบทความ ทำไมเด็กจีนถึงคิดเลขเก่ง!! ของผมเป็นเดือนๆแล้ว ตามลิงค์ที่ให้ไว้ตั้งแต่ต้นกระทู้นี้ http://akelovekae.blogspot.com/2011/07/blog-post_13.html ผมอธิบายความแตกต่างระหว่างเกาหลีกับไทยไว้ด้วย และเกาหลีเขาใช้ในเด็กป.4ว่ะทองมาก ไม่ใช่ป.1 แล้วบทความที่เอามาตั้งกระทู้ ก็เอามาจาก มติชน นะ ทองbuff เอ๋ย
|
|
|
|
![]() |
|
|
ขอโทษนะ ลิงค์ของนักเขียนควายๆ ผมไม่ไปอ่านให้เป็นเสนียดลูกกะตาหรอกครับ บิดเบือนและแสแสร้งตลอดศก
|
|
|
|
![]() |
|
|
ขอโทษนะ ลิงค์ของนักเขียนควายๆ ผมไม่ไปอ่านให้เป็นเสนียดลูกกะตาหรอกครับ บิดเบือนและแสแสร้งตลอดศก
|
|
|
|
![]() |
|
|
การให้การศึกษาแก่เด็กซึ่งเป็นอนาคตของชาติเป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างยิ่ง เพราะเด็กในวันนี้จะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นพลังผลักดันชาติบ้านเมืองในยามที่คนระดับหัวกะทิรุ่นเก่าๆ ก็เฒ่าชะแรแก่ชรากันไปหมดแล้ว ดังนั้นเราจึงควรคำนึงถึงวิธีการศึกษาที่ดีที่สุดสำหรับเด็กด้วย
|
|
|
|
![]() |
|
จะได้ฉลาดขึ้นไปอีก
|
เด็กจบป7 เขียนหนังสือไม่เป็น ฉลาดมาก ใช้แท็บเล็ตดีกว่า
อ้างต่างประเทศ เด็กต่างประเทศที่มาเรียนในไทย(ในขณะนี้ที่เห็นมาจากจีน)เขาเขียนหนังสือไทยเป็น แต่เด็กไทยชั้นเดียวกัน เขียนไม่เป็น (เน้นว่าเป็น ไม่ใช่เขียนได้)
นโยบายพวกนี้น่าจะไปใช้ที่จีนและเกาหลี ไม่เหมาะกับกัมพูชาอย่างยิ่ง แต่นักการเมืองไทยก็ยังคิดว่าตัวเองบริหารกัมพูชาอยู่
|
|
|
|
![]() |
|
|
ขอโทษนะ ลิงค์ของนักเขียนควายๆ ผมไม่ไปอ่านให้เป็นเสนียดลูกกะตาหรอกครับ บิดเบือนและแสแสร้งตลอดศก
ทองbuffla เอ๋ย ที่ให้ลิงค์เขามีให้คนอ่าน ไม่ได้มีไว้buff auszy อย่างทองอ่าน เพียงแต่บอกให้รู้ว่า คนทั่วไปเขารู้ข่าวเกาหลีกันนานแล้ว เพราะเขาฉลาดไปอ่านจนรับทราบข่าวเกาหลีดี แต่buff auszy อย่างทองน่ะ มัวแต่ จมปลัก ที่ออสเตรเลียแผลบๆถึงเพิ่งจะรู้ข่าวไง
|
|
|
|
![]() |
|
เหวย เหวง โหวง
|
ต่อไปเด็กต้องเขียนหนังสือไหมนี่
|
|
|
|
![]() |
|
อดีตครูคนหนึ่ง
|
เด็ก ป.1 ปัจจุบัน ไม่ต้องไปเปรียบเทียบที่ไหนไกลหรอกค่ะ แค่โรงเรียนจำนวนมากใน กทม.(เด็กยากจนใน กทม.และเรียน รร.กทม.พ่อแม่หาเช้ากินค่ำ มีมากมายกว่าที่คุณคิด) นี่แหละก็เขียนหนังสือกันไม่ได้ โย้เย้ไปมา อ่านคำที่สะกดง่าย ๆ ตามระดับชั้นของตัวเองไม่ออก ที่อ่านออกก็ไม่ค่อยคล่อง เด็กพวกนี้เล่นเกมได้ ใช้เมาส์ คีบอร์ดเป็นเพราะที่โรงเรียนมีคอมพิวเตอร์ ข้างบ้านมีร้านเกม...แต่กลับเขียนหนังสือไม่ได้ เขียนอักษรหัวเข้า หัวออกแกเองก็ยังงง นี่เอา tablet มาแจกก็น่าเป็นห่วง ถ้าไม่มีระบบการจัดการที่ดี แจกสมุดสัก 2 - 3 เล่ม ดินสอสัก 2 - 3 แท่ง มาให้เด็กหัดเขียนน่าจะดีกว่า ปัญหาภายหลังจากนี้น่าจะยังมีอีกมาก แค่ตอนนี้การควบคุมระบบสัญญาณ และการใช้งานอินเทอร์เน็ตของเยาวชน หรือการควบคุมร้านเกม แหล่งซ่อมสุม หรือการแก้ปัญหาวัยรุ่นตีกันยังทำไม่ได้เลย จะมาลงที่ ป.1 อีก สงสารเด็กนะคะ ให้เครื่องมือ อุปกรณ์นี้แก่เด็กโดยที่ผู้ใหญ่ที่ให้ก็น่าจะยังงง ๆ กับวิธีใช้และการควบคุมพัฒนามันอยู่เลย (เคยฟังสัมภาษณ์ท่านทางโทรทัศน์) กลัวว่างบประมาณจะสูญเปล่า เอาเงินมาหาห้องคอมพิวเตอร์ดี ๆ สักห้องต่อหนึ่งโรงเรียน (โดยไม่โกงกิน และให้อย่างทั่วถึงจริง ๆ) น่าจะดีกว่า ปัจจุบันนี้โรงเรียนห่างไกลบางโรง ครูและผู้บริหารยังทำผ้าป่าคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กอยู่เลยค่ะ...(แค่ความคิดเห็น ขออภัยท่าไม่ตรงใจ)
|
|
|
|
![]() |
|
มองรอบด้าน
|
เป็นเด็กยุคไฮเทค แน่นอนว่าเรื่องเทคโนโลยีฯ อาจกลายเป็นเรื่องสำคัญในการเรียนรู้สารพัดข้อมูล ข่าวสาร เพื่อสนองความต้องการรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ไม่รอช้าเร่งเข็นนโยบายแจกแท็บเล็ตแก่เด็กชั้นประถมและมัธยม แม้ที่ผ่านมาจะถูกกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมอย่างหนัก
ในเวทีเสวนา เรื่อง “มองรอบด้าน เด็กไทยกับไอที” รศ.นพ.ศิริไชย หงษ์สงวนศรี จิตแพทย์เด็ก คณะแพทยศาสตร์ รพ.โรงพยาบาลรามาธิบดี พยายามชี้ให้เห็นถึงผลกระทบด้านสุขภาพที่ชัดเจน เพื่อจะได้ปลุกรัฐบาลให้ตื่นจากความคลั่งในกระแสนิยมเสียทีว่า เทคโนโลยีอาจเหมาะสมแก่การเรียนรู้ สำหรับบางช่วงวัยเท่านั้น ซึ่งวัยที่ว่านี้ ไม่ใช่เด็ก ประถมศึกษาปีที่ 1 แน่นอน เพราะวัยนี้เป็นช่วงที่พัฒนาการค่อนข้างเปราะบาง มักตัดสินใจอะไรแบบขาดการวิเคราะห์ กล่าวง่าย ๆ คือ เลียนแบบ หรือเพิ่งหัดเรียนรู้เรื่องง่ายๆ เท่านั้น เพราะเป็นธรรมชาติทางพัฒนาการของเด็กวัยดังกล่าว ดังนั้น เชื่อว่า ย่อมแยกแยะไม่ออกแน่ๆ ว่า สื่อใดส่งผลดีผลเสียได้มากหรือน้อย เว้นแต่พ่อแม่ต้องดูแลใกล้ชิดจริงๆ ซึ่งครอบครัวก็ยากที่จะทำได้
“เด็กประถมต้นนั้น เป็นเด็กที่อยู่ระหว่างวัยซึ่งต้องการความอบอุ่น และครอบครัวสามารถใช้โอกาสนี้ในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ดี ด้วยการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน ซึ่งหากปล่อยให้เด็กอยู่กับคอมพิวเตอร์ โอกาสในการสร้างสัมพันธ์ของครอบครัวยุคใหม่ที่มีน้อยแล้วก็จะยิ่งน้อยลงไปอีก”รศ.นพ.ศิริไชย กล่าวย้ำ
ที่สำคัญ ในวงสัมมนาไม่เชื่อว่าจะควบคุมอันตรายจากการใช้ไอทีของเด็กได้ อนึ่งจากการศึกษาปัญหาเด็กติดเกมส์ กับการส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้และพัฒนาการในด้านต่างๆ ในเด็กนักเรียนกลุ่มตัวอย่างเกือบ 5,000 รายใน โรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 5 แห่ง พื้นที่ กทม.เมื่อปี 2550 พบว่า เด็กไทยมีอัตราการเล่นเกมเฉลี่ย 2 ชม.ต่อวัน หรือราว 18 ชม.ต่อสัปดาห์ โดยเด็กผู้ชายจะใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่าเด็กผู้หญิงถึง2เท่า ส่วนเรื่องของการเล่นเกมที่นิยมสำหรับวัยรุ่นส่วนใหญ่เป็นประเภทการแข่งขัน ความรุนแรง ด้านเพศ อาการติดเกมจะรุนแรงมากและมีลักษณะคล้ายคนติดยาเสพติดและการพนันไม่สามารถควบคุมได้ เมื่อเวลาไม่เล่นก็จะไม่สบายใจหงุดหงิด ในประเทศไทยตัวเลขชี้เด็กติดเกมในชั้นประถม18.5% มัธยม 13.9%
รศ.นพ.ศิริไชย บอกอีกว่า ทั้งนี้จากการใช้เวลากับการท่องโลกออนไลน์ที่เด็กและวัยรุ่นใช้ไปกับการเล่นเกมนั้น ค่อนข้างมากพอสมควร ต่างจากการใช้เพื่อการศึกษา ส่วนใหญ่นิยมใช้เวลาในการเล่นเกมตามร้าน หรือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือโน๊ตบุ๊ค เท่านั้น หากมีคอมพิวเตอร์พกพาคงจะเพิ่มสะดวกได้มากกว่าเดิม ทั้งจากการศึกษาผลกระทบจากเรื่องดังกล่าวทั้งด้านความคิด การตัดสินใจ และการแสดงออกพฤติกรรมด้านต่างๆ นั้นพบว่ามีหลายอย่างด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย คือ เด็กติดเกมส่วนใหญ่มักไม่กินอยู่ง่ายๆด้วยอาหารแบบเร่งด่วนและกินขนมขบเคี้ยวแทนอาหารอื่นๆ เพื่อความเพลิดเพลินและความสะดวกในการเล่นเกมแบบต่อเนื่อง สำหรับผลกระทบด้านจิตใจและอารมณ์ คือ เด็กกลุ่มนี้จะเป็นเด็กที่มีภาวะทางอารมณ์แตกต่างจากกลุ่มอื่น เหตุเพราะใช้เวลาส่วนใหญ่เพียงลำพัง อยู่กับคอมพิวเตอร์ บางครั้งก็เครียดไปกับเกม และมักกังวลหรือเครียดกับเรื่องง่ายๆ เสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า หรือ เกิดโรคขี้เหงาได้ง่าย รวมทั้งการมีอารมณ์รุนแรงตามลักษณะของเกมที่เล่นด้วย ส่งผลต่อการเกิดพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ซึ่งทำให้สังคมภายนอกไม่ยอมรับ หรือมักออกมาประณามกับความผิดพลาดของเด็ก ซึ่งในอนาคตอาจก่อให้เด็กมีปัญหาสุขภาพจิตได้สูง
สำหรับมุมมองของจิตแพทย์นั้นเป็นที่ประจักษ์ว่า เทคโนโลยี ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการสืบค้นข้อมูลข่าวสารในยุคดิจิทัล แต่ขณะเดียวกันเด็กวัยประถมก็ยังเป็นวัยบริสุทธิ์ที่อาจจะตกอยู่ในผลกระทบแห่งประชานิยมโดยไม่รู้ตัว จึงได้ฝากไว้ว่า หากจะแจกคอมพิวเตอร์แบบพกพา หรือ แท็บเล็ต จริงๆ คงต้องศึกษาความเหมาะสมที่ละเอียดมากกว่านี้
|
|
|
|
![]() |
|
ห่้วงประเทศ
|
|
|
|
|
![]() |
|
องุ่นเปรี้ยว
|
ลูกผมจะขึ้น ป.2แล้วครับมีสีทธไหมครับ (ป.2,3,4,5,6มีสิทธไหม) พูดตามตรงนะครับ เด็กป.1 ที่อ่านหนังสือยังไม่ออก จะเอาไปทำอะไรครับ เด็กในบางพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้จะเอาไปทำไม(คุณเชื่อไหมว่ายังมีพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้า) แล้วเด็กสิ่งแรกที่คิดเมือได้แทป...ไปคิว่าเด็กจะทำอะไร หาข้อมูล หาข้อมุลหาข้อมูล งันสิครับ(ผู้ใหญ่ยังไม่หาเลยยังฟังแต่พวกตัวเองเลย)
|
|
|
|
![]() |
|
|
นโยบายสุดเมพ โครงการเดียวถอนทุนได้หมดเลย 555
|
|
|
|
![]() |
|
|
ดีกว่าแจกเช็ค 2000 ฟ่ะ ไร้ประโยชน์ (ซื้อเสียงเชิงนโยบาย)
|
|
|
|
![]() |
|
เด็กสมุทร
|
กรณีรัฐบาลจะแจกแท็บเล็ต เราเห็นว่าไม่เหมาะสมกับเด็กวัยประถม เพราะสังเกตุจากที่ลูกเราเล่นที่บ้านไม่กี่นาทีก็เบื่อแล้ว เวลาเล่นเด็กจะเล่นแบบมั่วๆ ไม่รู้คุณค่าของ มองเป็นของเล่นมากกว่าของให้ความรู้ สนใจแค่เดือนแรกๆ ประมาณว่าเห่อ หลังจากนั้นก็เบื่อ แต่เด็กชอบกิจกรรมข้างนอกมากกว่า เอาเงินที่จะซื้อไปเป็นโครงการอาหารกลางวันเด็กตามชนบทดีกว่าไหม
|
|
|
|
![]() |
|
solono
|
ยังไม่ต้องพูดถึง taplet เอาเป็นว่าลองกลับไปดูงานวิจัยที่ผ่านๆ มาก็พอมองเห็นอยู่ชัดเจนว่า คุณภาพของระบบการศึกษา และคุณภาพของการเรียนรู้ของตัวเด็กเอง ยังไร้คุณภาพ อย่าว่าแต่เด็ก งานวิจัยโดยรวมคนทั้งประเทศอ่านหนังสือปีละกี่บรรทัด? แล้วจะทำให้คนในประเทศนำไปสู่การเรียนรู้กับการวิเคราะห์ได้ยังไง? พอไม่รู้มากพอกัน ก็แข่งกันโง่ซะงั้น แบ่งแยกเสื้อสีกันอีก เอ่อ.. มันจึงเป็นแบบนั้น.. ไม่ว่าปัญหาอะไรเกิดขึ้น พอมองเข้าไปก็ไปจบอยู่ที่ พื้นฐานการศึกษา ทำมันให้ดีซะก่อน วันนี้ยังไม่ต้องพูดถึง taplet เพราะสังคมไทยยังไม่พร้อมกับเรื่องนี้..
|
|
|
|
![]() |
|
ห่วงลูกชาวบ้าน
|
ขนาดใช้มือเขียน ยังเขียนหนังสือไม่เป็นเลย แล้วนำอุปกรณ์เข้ามาช่วย เด็กไทยของเราจะเขียนหนังสือไม่ได้ ดีไม่ดีจะอ่านไม่ออกอีกด้วยเพราะใช้ความเคยชิน จำรูปภาพสัญลักษณ์ ไม่ใช่การสะกดอ่านคำ อย่าลืมว่าการใช้เทคโนโลยีมีประโยชน์และโทษ แต่ครั้งนี้มันเป็นพื้นฐานของการเรียนเด็ก ป.1 ซึ่งกำลังหัดอ่าน หัดเขียน หัดใช้สมอง แล้วมันพัฒนาได้จริงหรือ
|
|
|
|
![]() |
|
ชัวร์...
|
ก็ให้มันโตขึ้นกว่านี้อีกหน่อยแล้วค่อยแจกก็ยังทันนิ แค่ ป.1 เอง ยังใช้ไม่เป็นแล้วก็ดูแลยังไม่ได้หลอก น่าจะให้โตกว่านี้อีกหน่อยก็จะดี แล้วอีกอย่างแจกเด็กเล็กมากเกินไป จะรีบให้เค้าพัฒนาสมองหรือว่าจะให้ความเสื่อมโทรมเข้ามาหาเด็กเร็วขึ้นหล่ะเนียะ เดี๋ยวนี้แค่ ป.5 - ป.6 ก็มีเซ็กกันแล้วหล่ะ นี้ถ้า ป.1 รุ้เรื่องเทคโนโลยีมากขึ้น จะรู้พวกนี้เร็วขึ้นด้วยป่ะเนียะ...
|
|
|
|
![]() |
|
จ่าทอง
|
ลูกของเจ้านายผมเรียนที่โรงเรียนนานาชาติแห่งหนึ่ง เห็นถือแท็บเล็ตไปโรงเรียนตั้งแต่อนุบาล 2 โรงเรียนแห่งนี้เก็บค่าเทอมแพงมาก เด็กจะเข้าเรียนต้องจองล่วงหน้าเป็นปี แสดงว่าโรงเรียนแห่งนี้โง่มาก ที่ให้เด็กใช้แท็บเล็ตตั้งแต่ชั้นอนุบาล
|
|
|
|
![]() |
|
|
อดีตนักเรียนอนุบาล
|
เมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว ผมว่าคนญี่ปุ่นมันบ้าแจกเครื่องคิดเลขให้เด็กอนุบาลใช้ ขณะที่ผมยังต้องใช้ไม้ไอติมทดเลข แต่ตอนนี้เยาวชนญี่ปุ่นมันเจริญไปถึงไหนแล้ว ขณะที่เราก็ตามมันไม่ทัน
|
|
|
|
![]() |
|
|
taplet ตัวละ 3000 แค่ 200,000 ตัว เป็นเงิน 600 ล้าน แต่ตอนรัฐบาลที่แล้ว เอาเงินมาแจกประชาชน คนละ 2,000 เป็นคนกี่คน เป็นงบประมาณ มากแค่ไหนทำไมไม่คิดถึง แจก Taplet ให้เด็กสร้างความรู้ สร้างโอกาส ส่งเสริมการศึกษาให้เด็ก ๆ มีคุณค่า และ คุณประโยชน์ มากมายกว่าการแจกเงิน คนละ 2,000 เป็นไหน ๆ แจกมา 2,000 บางคนเดินห้าง ครึ่งชั่วโมงก็หมดแล้วได้อะไร ถ้าเงิน 3,000 แลกกับความรู้ของอนาคตของชาติ แล้วเงิน 2,000 แลกกับกระเป๋ารองเท้าที่ไม่ยังยืน คุณคิดว่าอย่างไหนคุ้มค่ากว่ากัน
|
|
|
|
![]() |
|
มองไกล
|
ช่วยกันอ่านข่าวนี่หน่อยนะ...จะได้รู้ว่าโลกภายนอกเป็นอย่างไร
All South Korean Students to Use Tablets, Digital eReaders By 2015 July 4, 2011 - Posted by Mlata Categories According to SiliconRepublic, students in South korea have digital textbooks through tablets and eReaders to look forward to. South Korea’s Ministry of Education, Science and Technology has decided to invest a whooping $2 billion in moving the country’s schools to utilize digital textbooks — with the use of tablets. “It is understood that the digital textbooks will contain the contents of ordinary textbooks and various multimedia resources. The tablet computer will be issued free to students and the ability to access texbooks in the same fashion as downloading an e-book from Amazon should prove helpful to parents who struggle with the costs of schoolbooks each year.” The idea of integrating multimedia with traditional text is what makes digital textbooks so special. This is also an aspect of tablets that make them so innovative. Many pure eReaders don’t support multimedia well, outside of just e-Ink text. However, the idea of what exactly is a tablet vs what is an eReader is starting to fade. Traditional eReading companies like Amazon are starting to get into the Android app-market and even creating tablets or eReaders with tablet functionality (Barns & Noble for instance with their Nook Color). It is also great to see other parts of the world embrace a technology so fully to be used in education. There is a lot of potential of content within textbooks to advance as more academic text becomes digital.
|
|
|
|
![]() |
|
12333
|
รัฐบาลนี้คงมีนโยบายให้เด็กไทยเรียนโง่ ๆ เข้าไว้ อนาคต จะได้เป็น คนสีแดงเยอะๆ เพราะไม่รู้หนังสือ จะได้ตายเพื่อเขา ติดคุกเพื่อเขาไงล่ะ
|
|
|
|
![]() |
|
freedom mania
|
ผมขออนุญาตตั้งข้อสังเกต
1. ทำไมไม่เอาเงินที่จะแจก Tablet PC ไปพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา บางประเทศที่พัฒนาไม่เห็นต้องแจก Tablet PC แต่เน้นไปที่การพัฒนาบุคลากร ประเทศก็เจริญไม่ใช่เหรอ
2. ทำไมไม่เอาเงินเหล่านี้ไปซื้อรถ หรือ เป็นค่าน้ำมันรับส่งสำหรับเด็กชนบทที่อยู่ห่างไกลโรงเรียน จะได้ไม่ต้องเดินลุยโคลนเพื่อที่จะไปโรงเรียนด้วยความยากลำบากในยามที่ฝนตก คิดง่ายรถ 1 คัน = Tablet 200 เครื่อง
3. ทำไม ไม่เอาเงินไปสร้างโรงเรียนในแหล่งทุระกันดาร และ ทำให้เด็กนักเรียนได้มีอาหารกินครบ 3 มื้อ เมื่อเด็กได้ทานอาหารก็ทำให้มีสารอาหารไปหล่อเลี้ยงสมอง ทำให้มีพัฒนาการมากขึ้น 1 Tablet pc = เด็ก 100 คน กินข้าวได้ 3 มื้อ
4. ถ้าเด็กที่ได้ Tablet PC ไป เอาไปทำเสีย ซึ่งเกิดขึ้นแน่นอน เพราะเด็ก ป.1 ยังคงไม่รู้จักวิธีการถนอมอุปกรณ์พวกนี้ ซึ่งผมว่าเกินครึ่งที่ใช้ไปไม่ถึงปีแล้วเสีย ใครจะเข้ามาดูแลในเรื่องการซ่อมบำรุงครับ ซึ่งถ้าให้ซ่อมเอง จ่ายเอง ผมว่า Tablet PC ที่พวกคุณจะแจก คงกลายที่เป็นที่รองจาน หรือ ไม่ก็รองกระถางต้นไม้นะครับ แต่ถ้ารัฐบาล support ความโปร่งใสในการจัดจ้างเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างยิ่ง
5. การเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากร ในการแนะนำการใช้ tablet PC ให้กับเด็ก
6. การพัฒนา Software ที่จะมาใช้กับอุปกรณ์ เช่น software การศึกษา (เสียตังค์อีกแล้วครับพี่น้อง)
7. มั่นใจได้อย่างไรครับว่าเด็กเอาไปเพื่อการศึกษาจริงๆ ไม่ใช่เอาไปเล่นเกมส์ หรือ หาข้อมูล ดูข้อมูลที่ไม่สร้างสรรค์
8. เด็กทำเครื่องหายใครรับผิดชอบ
9. ผมไม่เห็น ROI ใดๆ ทั้งสิ้นของโครงการนี้นอกจาก Coruption ถ้าใครให้ข้อดีของการมี Tablet PC ให้เด็กได้มากกว่าครึ่งนึงที่ผมกล่าวมา ผมยินดีที่จะเห็นด้วยกับโครงการนี้
อย่าเลยครับ อย่าได้เอาภาษีพวกผมไปให้กับคนบางกลุ่ม นำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์กับคนหมู่มากดีกว่าครับ ผมยินดีให้คุณนำภาษีของผมไปพัฒนาครู บุคลากรการศึกษา สร้างโรงเรียนในชนบท ส่งเสริมความสะดวกสบายให้กับเด็กในถิ่นทุระกันดาร มากกว่าการนำเงิน 600 ลบ ในแต่ละปีไปถลุงกับความต้องการสนองตัณหาของคนบางกลุ่ม
คนไม่เอา Tablet PC
|
|
|
|
![]() |
|
champa_1345@hotmail.com
|
ขอครูเพิ่มในโรงเรียนที่ขาดครูด้วยค่ะ ส่วนมากครูจะไปกระจุกตัวอยู่ในโรงเรียนขนาดเล็กใกล้จะยุบ ช่วยเกลี่ยครูในโรงเรียนที่เกินมาลงเรียนที่ขาดดูน่าจะดี นะ ดีกว่าเอาเทคโนโลยีเข้าไป ขอครูที่เป็นคนตัวเป็นๆ น่าจะสมเหตุผล โดยไม่ต้องใช้งบประมาณอะไรเลย
|
|
|
|
![]() |
|
thai citizen
|
ผมคิดว่าการแจกแทปแลตเป็นแค่หน้าฉากที่เอาการศึกษามาอ้างครับ อุปกรณ์พวกนี้จำเป็นต้องใช้ wifi+3g ประกอบในการใช้และหาข้อมูล แล้วผู้ให้บริการพวกเครือข่ายมีใตรบ้างละครับ ais, true, dtac แล้วถ้าสมมติว่าให้ใช้ของ ais อย่างเดียวค่าเครือข่ายต่อเครื่องต่อเดือนเท่าไรครับ อย่างถูกๆตอนนี้ สมมติ 200 บาทต่อเครื่อง มี 200,000 เครื่อง จะได้รายได้ ต่อเดือน 40 ล้านบาทครับ, 1 ปี 480 ล้านบาท พอปีที่ 2 แจกอีก 2 แสนเครื่อง รวมปีที่ 2 รายได้ทั้งหมด 960 ล้านครับ ปีนึงมีรายได้เพิ่มเป็นพันล้านโดยไม่ต้องลงทุนเลย ฉลาดมากครับ แล้วโหดมากด้วย หลอกเอาภาษีเราไปเปลี่ยนเป็นเงินข้าบริษัทหน้าตาเฉยเลย
|
|
|
|
![]() |
|
Mamm
|
ซื้อให้ลูกเป็นของขวัญตอนขึ้นอนุบาล 2 ได้มาช่วงแลกก็เห่อค่ะ เล่นเกม เหมือนผู้ใหญ่เราๆ นี่แหล่ะค่ะ
ผ่านไปเดือน 2 เดือน ก็ไม่ติดแล้วค่ะ แต่จะเลียนแบบพฤติกรรมเรามากกว่า ถ้าเห็นเราเล่นเค้าก็จะเล่น ถ้าเราเล่นกับเค้าเป็นสื่อการเรียนรู้ เค้าก็ยอมนะคะ ถ้าชวนไปออกกำลังกาย หรือทำอย่างอื่น เค้าก็วางทันทีค่ะ ก็ไม่เห็นติดเกม ติดคอมนะคะ
เด็กวัยนี้อยู่ในช่วงเปิดกว้าง เค้าอยากที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไปเรื่อยๆ รอบด้านค่ะ ไม่ยึดติดสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นพิเศษ
ปล. แต่เค้าจะติดพ่อกับแม่ค่ะ
|
|
|
|
![]() |
|
|
แม่คางคก
|
ไม่เห็นจะแปลกอะไร ต่างประเทศและประเทศในเอเชียหลายๆประเทศก็ใช้ในการเรียนการสอนกัน ถ้าบ้านเราจะเริ่มใช้ ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดี เป็นการยกระดับการศึกษาของไทย ขึ้นไปอีกระดับ แต่ควรจะศึกษาเรื่องแนวทาง และการใช้ให้เหมะสม เรากับสามี ก็ซื่้อ IPAD 2 ให้ลูกชายวัย 1 ขวบ 3 เดือนเหมือนกัน ที่บอก ไม่ได้จะมาอวดร่ำอวดรวยหรืออะไรนะคะ เพราะเราสองคนปรึกษากัน แล้วว่า ทุกวันนี้เทคโนโลยีไปไกลและเร็วมากและก็ไม่ห่างไกลกับชีวิตประจำวัน เค้าโตขึ้นทุกวัน ย่อมหนีไม่พ้นเรื่องเหล่านี้ เลยถือโอกาสใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ และก็ไม่ผิดหวัง เค้าสนใจอ่านหนังสือ ท่องคำศัพท์ จดจำสิ่งต่างๆได้เร็ว เพราะเค้ารู้สึกสนุกกับการเรียนรู้
|
|
|
|
![]() |
|
|