|
ภาพพระเสโทไหลมาพระนาสิก เหมือนทรงพลิกวิธีคิดพิชิตก่อน ปัญหาน้ำยิ่งใหญ่ในขั้นตอน ทรงดับร้อนด้วยเย็นมิเว้นวาง และทรงเป็นทุกลมหายใจ ของปวงประชาราษฎร ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
|
|
|
|
Tags: |
|
![]() |
|
|
โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม โครงการนี้ แบ่งออกเป็น งานระบายน้ำออกจากพื้นที่ เพื่อประโยชน์ ในการเพาะปลูก กับงานระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม ในเขตชุมชน ซึ่งได้แก่ โครงการบรรเทาอุทกภัย และระบายน้ำพื้นที่ทุ่ง ฝั่งตะวันออก ของกรุงเทพมหานคร
|
|
Tags: |
|
![]() |
|
|
พระมหากษัตริย์นักดนตรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นนักดนตรีที่มีพระปรีชาสามารถสูงพระองค์หนึ่ง และได้ทรงใช้พระปรีชาสามารถนี้ให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างสัมพันธภาพอันดีให้เกิดขึ้นในมวลมนุษยชาติ “วันทรงดนตรี” เป็นหนึ่งในตัวอย่างของการที่ทรงนำพระอัจฉริยภาพด้านดนตรีมาใช้เป็นสื่อกลางในการสร้างความสมานฉันท์ โดยได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ไปทรงดนตรียังมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นประจำทุกปี สำหรับในระดับชาตินั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประสบความสำเร็จในการใช้ดนตรีเป็นภาษาสากลสร้างมิตรภาพระหว่างประเทศได้อย่างงดงาม ดังเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกา ในปี 2503 ระหว่างงานถวายเลี้ยงพระกระยาหารค่ำที่วอชิงตันเพลส ทรงได้รับการกราบบังคมทูลเชิญให้ร่วมบรรเลงดนตรีกับวงดนตรีที่จัดแสดงถวายหน้าพระที่นั่ง โดยไม่ได้ทรงเตรียมพระองค์มาก่อน สร้างความประทับใจแก่ผู้ร่วมงานในวันนั้นอย่างยิ่ง และยังได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงดนตรีร่วมกับวงดนตรีของนายเบนนี่ กู๊ดแมน นักดนตรี แจ๊สระดับโลก ที่มหานครนิวยอร์ค ซึ่งทรงสามารถบรรเลงโต้ตอบได้อย่างครื้นเครง จนได้รับการถวายคำยกย่องในฐานะทรงเป็นนักดนตรีแจ๊สที่มีอัจฉริยภาพสูง
|
|
Tags: |
|
![]() |
|
|
โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกและอุปโภค-บริโภค โครงการประเภทนี้มี จำนวนมากกว่าโครงการ ประเภทอื่นๆ ซึ่งลักษณะของโครงการ จะแตกต่างกันไป ตามสภาพภูมิประเทศ และแหล่งน้ำของท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่ จะปรากฏออกมา ในรูปของ อ่างเก็บน้ำ หรือฝายทดน้ำ ซึ่งน้ำในอ่างเก็บน้ำหรือฝายทดน้ำนี้จะถูกส่งออกไปใช้สำหรับ การทำนาปลูกพืชไร่พืชผักใช้เลี้ยงสัตว์ และเพื่อการอุปโภค-บริโภคของประชาชน ในหมู่บ้านในบริเวณนั้นๆ
|
|
Tags: |
|
![]() |
|
|
สองพระหัตถ์ปัดทุกข์แผ่สุขชาติ สองพระบาทเบิกทางกระจ่างผล น้อมใจภักดิ์นบจักรีภูมิพล บุญเหลือล้นที่เกิดในร่มใบบุญ …..ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
|
|
Tags: |
|
![]() |
|
|
โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการรักษาต้นน้ำลำธาร เป็นงานสร้างฝายขนาดเล็กเป็นระยะๆ บนทางน้ำที่เป็นต้นน้ำของลุ่มน้ำต่างๆ เพื่อเก็บน้ำไว้ในลำน้ำ คล้ายกับอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก เพื่อ ให้น้ำที่กักเก็บไว้ค่อยๆ ซึมเข้าไปผืนดินตามตลิ่งและท้องน้ำ เป็นการช่วยเพิ่มจำนวนน้ำให้ถูก กักเก็บไว้ในดินบริเวณที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ทำให้พื้นดินในบริเวณนั้นมีความชุ่มชื้น ต้นไม้ เจริญงอกงาม นับเป็นการช่วยอนุรักษ์ป่าไม้ได้อีกทางหนึ่ง โครงการประเภทนี้มีมากในเขตภาคเหนือ และมีบางส่วนที่ภาคอีสาน
|
|
Tags: |
|
![]() |
|
|
01 พระมหากษัตริย์นักพัฒนา
ตลอดระยะเวลาแห่งการครองสิริราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ชนบททั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จึงทำให้ทรงทราบปัญหาความทุกข์ยากที่บังเกิดแก่พสกนิกรของพระองค์ และนี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อให้เกิดการดำเนินงานพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ปรากฏอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เป็นจำนวนมากมายเกินกว่าจะพรรณนาได้หมดสิ้น
งานพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกโครงการ ล้วนตั้งอยู่บนหลักการที่ทรงพระราชทานว่า “ทำให้ง่าย และให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ” แต่เบื้องหลังความง่ายดังกล่าวนั้น คือการกลั่นกรอง “ความรู้” และ”ความคิด” จากการค้นคว้าทดลองตามหลักวิชา นำมาปรับจากทฤษฎีให้เป็นทางปฏิบัติ ที่มีประสิทธิภาพสูง สอดคล้องกับสภาพของประเทศและเหมาะสมต่อการนำไปใช้ในแต่ละภูมิภาค และเพราะปัญหา ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเฉพาะภูมิภาคใดภาคหนึ่งเท่านั้น โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงปรากฏให้เห็นแม้ในท่ามกลางมหานครของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินงานด้านใดก็ตาม ข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่เป็นที่ประจักษ์มาโดยตลอดคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นแบบอย่างที่ล้ำเลิศของงานพัฒนา ด้วยทรงให้ความสำคัญกับการค้นคว้า วิเคราะห์และทดลองครั้งแล้วครั้งเล่า ก่อนที่จะนำผลลัพธ์ที่ได้มาพระราชทานแก่ประชาชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ต่อไป
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือพระมหากษัตริย์ที่ทรงทำงานหนักที่สุด ทรงตรากตรำพระวรกาย เพื่อพสกนิกรของพระองค์ เพื่อเป็นแนวทางสำคัญสำหรับประชาชาติไทย ในการริเริ่มสร้างสรรค์คุณประโยชน์ให้แก่ตนเอง สังคม และประเทศชาติสืบไป
|
|
Tags: |
|
![]() |
|
|
การที่จะมีต้นน้ำลำธารไปชั่วกาลนานนั้น สำคัญอยู่ที่การรักษาป่าและปลูกป่าบริเวณต้นน้ำ ซึ่งบนยอดเขาและเนินสูงขึ้น ต้องมีการปลูกป่าโดยไม้ยืนต้นและปลูกไม้ฟืน ซึ่งไม้ฟืนนั้นราษฎรสามารถตัดไปใช้ได้แต่ต้องการมีการปลูกทดแทนเป็นระยะ ส่วนไม้ยืนต้นนั้น จะช่วยให้อากาศมีความชุ่มชื้น เป็นขั้นตอนหนึ่งของระบบการให้ฝนตกแบบธรรมชาติ ทั้งยังช่วยยึดดินบนภูเขาไม่ให้พังทลายเมื่อเกิดฝนตกอีกด้วย ซึ่งถ้ารักษาสภาพป่าไม้ไว้ให้ดีแล้ว ท้องถิ่นก็จะมีน้ำไว้ใช้ชั่วกาลนาน
|
|
Tags: |
|
![]() |
|
|
07 มูลนิธิโครงการหลวง กว่า 30 ปีแล้ว ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่สูง ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารที่สำคัญของประเทศ และเป็นที่อยู่อาศัยของชาวไทยภูเขา ด้วยพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกล จึงก่อให้เกิด “มูลนิธิโครงการหลวง” ตามแนวพระราชประสงค์ เพื่อลดปัญหาการปลูกฝิ่น และการตัดไม้ทำลายป่า อนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร และช่วยชาวเขาที่มีฐานะยากจนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพื่อรักษาระบบนิเวศน์ให้ยั่งยืน การดำเนินงานของโครงการหลวง จากอดีตถึงปัจจุบัน ได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่ ที่เคยถูกบุกรุกทำลายจากการปลูกฝิ่น ให้กลายเป็นผืนดินที่ได้รับการปกป้อง เป็นป่าอนุรักษ์ และแหล่งผลิตพืชเศรษฐกิจอันอุดมสมบูรณ์ ที่ให้ผลผลิตงดงาม ผู้คนมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น มีที่ดินทำกินอย่างถาวร โดยไม่ต้องอพยพ เร่รอนอีกต่อไป ผลงานของมูลนิธิโครงการหลวงเป็นที่แพร่หลายและยอมรับ ถึคงความสำเร็จในการกำจัดสารเสพติดโดยสันติวิธี ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขา การส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ ประจำปี 2531 ปัจจุบันโครงการหลวงมีการค้นคว้าวิจัยทางการเกษตรในที่สูง ซึ่งเป็นเกษตรสาขาใหม่ที่ช่วยพัฒนาให้สามารถปลุกพืชเมืองหนาวที่มีราคาแพงในเมืองไทยได้ นับเป็นการพัฒนาการเกษตรและช่วยเศรษฐกิจของประเทศอีกทางหนึ่งด้วย มูลนิธิโครงการหลวง จึงมิได้ช่วยเหลือเฉพาะคนบนดอยสูงเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อคนทั้งประเทศและทั้งโลก โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา
|
|
Tags: |
|
![]() |
|
|
โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม โครงการนี้ แบ่งออกเป็น งานระบายน้ำออกจากพื้นที่ เพื่อประโยชน์ ในการเพาะปลูก กับงานระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม ในเขตชุมชน ซึ่งได้แก่ โครงการบรรเทาอุทกภัย และระบายน้ำพื้นที่ทุ่ง ฝั่งตะวันออก ของกรุงเทพมหานคร
|
|
Tags: |
|
![]() |
|
|
ในหลวงพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสให้คนในชาติมีความรักใคร่กลมเกลียวสมัคร สมานสามัคคีมีความ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อันจะนำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญ รุ่งเรืองคงความเป็นชาติไทยไว้ได้
|
|
Tags: |
|
![]() |
|
|
การที่จะมีต้นน้ำลำธารไปชั่วกาลนานนั้น สำคัญอยู่ที่การรักษาป่าและปลูกป่าบริเวณต้นน้ำ ซึ่งบนยอดเขาและเนินสูงขึ้น ต้องมีการปลูกป่าโดยไม้ยืนต้นและปลูกไม้ฟืน ซึ่งไม้ฟืนนั้นราษฎรสามารถตัดไปใช้ได้แต่ต้องการมีการปลูกทดแทนเป็นระยะ ส่วนไม้ยืนต้นนั้น จะช่วยให้อากาศมีความชุ่มชื้น เป็นขั้นตอนหนึ่งของระบบการให้ฝนตกแบบธรรมชาติ ทั้งยังช่วยยึดดินบนภูเขาไม่ให้พังทลายเมื่อเกิดฝนตกอีกด้วย ซึ่งถ้ารักษาสภาพป่าไม้ไว้ให้ดีแล้ว ท้องถิ่นก็จะมีน้ำไว้ใช้ชั่วกาลนาน
|
|
Tags: |
|
![]() |
|
|
โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม โครงการนี้ แบ่งออกเป็น งานระบายน้ำออกจากพื้นที่ เพื่อประโยชน์ ในการเพาะปลูก กับงานระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม ในเขตชุมชน ซึ่งได้แก่ โครงการบรรเทาอุทกภัย และระบายน้ำพื้นที่ทุ่ง ฝั่งตะวันออก ของกรุงเทพมหานคร
|
|
Tags: |
|
![]() |
|
|
พระมหากษัตริย์นักดนตรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นนักดนตรีที่มีพระปรีชาสามารถสูงพระองค์หนึ่ง และได้ทรงใช้พระปรีชาสามารถนี้ให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างสัมพันธภาพอันดีให้เกิดขึ้นในมวลมนุษยชาติ “วันทรงดนตรี” เป็นหนึ่งในตัวอย่างของการที่ทรงนำพระอัจฉริยภาพด้านดนตรีมาใช้เป็นสื่อกลางในการสร้างความสมานฉันท์ โดยได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ไปทรงดนตรียังมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นประจำทุกปี สำหรับในระดับชาตินั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประสบความสำเร็จในการใช้ดนตรีเป็นภาษาสากลสร้างมิตรภาพระหว่างประเทศได้อย่างงดงาม ดังเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกา ในปี 2503 ระหว่างงานถวายเลี้ยงพระกระยาหารค่ำที่วอชิงตันเพลส ทรงได้รับการกราบบังคมทูลเชิญให้ร่วมบรรเลงดนตรีกับวงดนตรีที่จัดแสดงถวายหน้าพระที่นั่ง โดยไม่ได้ทรงเตรียมพระองค์มาก่อน สร้างความประทับใจแก่ผู้ร่วมงานในวันนั้นอย่างยิ่ง และยังได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงดนตรีร่วมกับวงดนตรีของนายเบนนี่ กู๊ดแมน นักดนตรี แจ๊สระดับโลก ที่มหานครนิวยอร์ค ซึ่งทรงสามารถบรรเลงโต้ตอบได้อย่างครื้นเครง จนได้รับการถวายคำยกย่องในฐานะทรงเป็นนักดนตรีแจ๊สที่มีอัจฉริยภาพสูง
|
|
Tags: |
|
![]() |
|
|
จากสภาพปัญหาป่าไม้ของชาติ พระบาทสมเด็จ(ขออภัยค่ะ! คำนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ)ทรงตระหนักและห่วงใยในปัญหาป่าไม้ที่เกิดขึ้นใน ประเทศยิ่งนัก เพราะการที่ป่าไม้ร่อยหลอลดลงไปทุกที มีผลต่อเกษตรกรซึ่งทำเกษตรกรรม ได้รับความเดือดร้อนต่อเนื่องเป็นวงจรถึงเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของชาติ พระองค์จึงทรงคิดค้นนานาวิธี ที่จะฟื้นฟูสภาพป่าและอนุรักษ์ป่าไม้ให้ยืนยงคงอยู่ต่อไป โดยระยะแรกๆพระองค์ทรงนำพันธุ์ไม้ต่างๆ ทั่วประเทศมาปลูกในบริเวณที่ประทับสวนจิตรลดา ในลักษณะป่าไม้สาธิต เพื่อเป็นแบบอย่างและศึกษาธรรมชาติวิทยาของป่าไม้ด้วยพระองค์เองอย่างใกล้ ชิดและลึกซึ้ง ต่อมามีพระราชดำริให้มีการปลูกต้นไม้ ๓ ชนิดที่แตกต่างกัน ได้แก่ ไม้ผล ไม้โตเร็ว และไม้เศรษฐกิจ เพื่อจะทำให้เกิดป่าไม้แบบผสมผสาน และสร้างความสมดุลย์แก่ธรรมชาติอย่างยั่งยืน
|
|
Tags: |
|
![]() |
|
|
01 พระมหากษัตริย์นักพัฒนา ตลอดระยะเวลาแห่งการครองสิริราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ชนบททั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จึงทำให้ทรงทราบปัญหาความทุกข์ยากที่บังเกิดแก่พสกนิกรของพระองค์ และนี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อให้เกิดการดำเนินงานพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ปรากฏอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เป็นจำนวนมากมายเกินกว่าจะพรรณนาได้หมดสิ้น งานพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกโครงการ ล้วนตั้งอยู่บนหลักการที่ทรงพระราชทานว่า “ทำให้ง่าย และให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ” แต่เบื้องหลังความง่ายดังกล่าวนั้น คือการกลั่นกรอง “ความรู้” และ”ความคิด” จากการค้นคว้าทดลองตามหลักวิชา นำมาปรับจากทฤษฎีให้เป็นทางปฏิบัติ ที่มีประสิทธิภาพสูง สอดคล้องกับสภาพของประเทศและเหมาะสมต่อการนำไปใช้ในแต่ละภูมิภาค และเพราะปัญหา ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเฉพาะภูมิภาคใดภาคหนึ่งเท่านั้น โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงปรากฏให้เห็นแม้ในท่ามกลางมหานครของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินงานด้านใดก็ตาม ข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่เป็นที่ประจักษ์มาโดยตลอดคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นแบบอย่างที่ล้ำเลิศของงานพัฒนา ด้วยทรงให้ความสำคัญกับการค้นคว้า วิเคราะห์และทดลองครั้งแล้วครั้งเล่า ก่อนที่จะนำผลลัพธ์ที่ได้มาพระราชทานแก่ประชาชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ต่อไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือพระมหากษัตริย์ที่ทรงทำงานหนักที่สุด ทรงตรากตรำพระวรกาย เพื่อพสกนิกรของพระองค์ เพื่อเป็นแนวทางสำคัญสำหรับประชาชาติไทย ในการริเริ่มสร้างสรรค์คุณประโยชน์ให้แก่ตนเอง สังคม และประเทศชาติสืบไป โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา
|
|
Tags: |
|
![]() |
|
|
02 ความพอเพียง ในการพัฒนาประเทศนั้น จำเป็นต้องทำตามลำดับขั้นเริ่มด้วยการสร้างพื้นฐาน คือ ความมีกินมีใช้ของประชาชนก่อน ด้วยวิธีการที่ประหยัด ระมัดระวัง แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อพื้นฐานเกิดมั่นคงพอควรแล้ว จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญขั้นที่สูงขึ้นตามลำดับต่อไป พระบรมราโชวาท เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ความพอมีพอกิน พอมีพอใช้และการรู้จักความพอประมาณ ทรงเตือนสติประชาชนไม่ให้ประมาท มีคุณธรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งแนวคิดดังกล่าว เป็นที่รู้จักกันดีภายใต้ชื่อว่า เศรษฐกิจพอเพียงทรงเน้นหลักการพึ่งตนเองในระดับครอบครัว ผสานกับความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างความเข้มแข็งในระดับท้องถิ่น ก่อนที่จะเชื่อมโยงสู่ระบบธุรกิจในสังคมภายนอก อีกทั้งยังพระราชทานแนวพระราชดำริ ให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งจากภาครัฐและภาคประชาชนเข้าร่วมมือกัน เพื่อศึกษาและพัฒนากิจการเกษตรกรรมของไทยอย่างจริงจัง ด้วยทรงตระหนักดีว่า การเกษตรนี้เองที่เป็นรากฐานอันแท้จริง ให้กับพัฒนาการที่ยั่งยืนของประเทศดังพระราชดำรัสที่ว่า “ ถ้าชนบทอยู่ได้ บ้านเมืองก็อยู่ได้” ผลลัพธ์จากสายพระเนตรอันยาวไกลของพระองค์ สำแดงให้เป็นที่ประจักษ์ชัดทุกครั้งที่เศรษฐกิจของประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤติ และประชาชนชาวไทยทุกฝ่ายทุกระดับ ต่างก็ต้องหันมาทบทวนทิศทางของการพัฒนาประเทศเท่าที่ผ่านมา ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงพระราชทาน จึงนับเป็นแบบอย่างที่ดีให้คนไทย ได้ดำเนินชีวิตบนทางสายกลาง มีความขยันหมั่นเพียรในการประกอบสัมมาชีพ รู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รักการประมาณตน และดำรงชีวิตอย่างรู้จัก คิด อยู่ ใช้ กิน อย่างพอเพียง โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา
|
|
Tags: |
|
![]() |
|
|
03 นาข้าวของในหลวง รากฐานของสังคมไทยเป็นสังคมแบบเกษตรกรรม ข้าว คือสายใยชีวิตที่สร้างความอยู่เย็นเป็นสุขมาช้านาน“ ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ศึกษาและทดลองทำนามาบ้าง และทราบดีว่าการทำนานั้นมีความยากลำบาก และเป็นอุปสรรค์อยู่ไม่น้อย..” พระราชปณิธานหนึ่งขององค์พระมหากษัตริย์มีอยู่ว่า จะทำอย่างไรให้ชาวนาอยู่ได้ตามอัตภาพ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกนักที่เราจะเห็นพระองค์ทรงดำเนินพระราชกรณียกิจอันเกี่ยวข้องกับการเกษตรอย่างมากมาย และยิ่งได้ทราบว่าในสวนจิตรลดา ซึ่งเป็นเขตพระราชฐานมีทุ่งนาอันเป็นโครงการส่วนพระองค์แล้ว ยิ่งย้ำชัดว่าพระองค์ทรงให้ความสำคัญเพียงไรกับการเกษตรกรรม ย้อนกลับไปในช่วงปี พุทธศักราช 2479 – 2502 พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญได้ว่างเว้นไป เพียงจัดให้มีพระราชพิธีพืชมงคลเท่านั้น จนกระทั่งในปี พุทธศักราช 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ ทรงโปรดให้ฟื้นฟูพระราชพิธี จรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นอีก และปรับปรุงให้เหมาะกับยุคสมัย และปฏิบัติสืบมามิได้ขาด ด้วยทรงเห็นว่าเป็นการรักษาพระราชประเพณีอันดีงาม มีผลในการบำรุงขวัญและจิตใจของคนไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร จนถึงวันนี้ เป็นเวลากว่า 40 ปีแล้ว ที่ความรู้ และเมล็ดพันธุ์พระราชทานจากโครงการนาข้าวสาธิต ได้แจก่ายไปยังเกษตรกรทั่วประเทศเพื่อเป็นมิ่งขวัญและสิริมงคล ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมต่อไป โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา
|
|
Tags: |
|
![]() |
|
|
04 กังหันน้ำชัยพัฒนา จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ ซึ่งนับวันมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้น บางพื้นที่น้ำเน่าเสีย จนทำให้สัตว์ตายเป็นจำนวนมาก ประชาชนเองก็ไม่สามารถนำน้ำมาอุปโภคบริโภคได้ ด้วยพระเมตตาที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ของประชาชน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานแนวพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศแบบประหยัดค่าใช้จ่ายที่สามารถผลิตขึ้นได้เองในประเทศไทย โดยมุ่งหวังที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการบรรเทาน้ำเน่าเสีย พระองค์ทรงนำภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่เรียกว่า “หลุก” มาเป็นต้นแบบในการพัฒนา โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมในมูลนิธิชัยพัฒนา และกรมชลประทานสนองพระราชดำริในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดี จนกลายมาเป็นที่รู้จักกันดี ในนามของ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” สิ่งหนึ่งที่พสกนิกรไทยภูมิใจก็คือ สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้เกิดขึ้นจากฝีพระหัตถ์ และพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย ทั้งยังได้รับสิ่งประดิษฐ์ดีเด่นระดับโลก จากงานนิทรรศการแสดงสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ ครั้งที่ 49 ณ ราชอาณาจักรเบลเยี่ยมถึง 5 รางวัล พระเกียรติคุณนี้มิเพียงขจรขจายไปทั่วแผ่นดินไทยเท่านั้น แต่ยังแพร่ขยายไปสู่ชุมชนชาวโลกอย่างกว้างขวางอีกด้วย จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ ซึ่งนับวันมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้น บางพื้นที่น้ำเน่าเสีย จนทำให้สัตว์ตายเป็นจำนวนมาก ประชาชนเองก็ไม่สามารถนำน้ำมาอุปโภคบริโภคได้ โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา
|
|
Tags: |
|
![]() |
|
|
05 หญ้าแฝก กำแพงที่มีชีวิต จากสภาพความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน อันเนื่องมาจากฝนตกหนัก และน้ำไหลบ่าอย่างรุนแรง ทำให้ผิวดินถูกกัดเซาะจนสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ เป็นเหตุให้ดินพังทลาย ส่งผลเสียหายต่อพื้นที่ทำการเกษตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงปัญหา และสาเหตุที่เกิดขึ้น จึงทรงศึกษาศักยภาพของ “หญ้าแฝก” ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน และช่วยรักษาความชุ่มชื้นของน้ำใต้ดินไว้ หญ้าแฝก เป็นพืชพื้นบ้านที่ทำหน้าที่เสมือนกำแพงธรรมชาติที่มีชีวิต ช่วยชะลอการไหลของน้ำ และแรงปะทะของลม คอยกักกั้นตะกอนดิน ไม่ให้หน้าดินพังทลาย ซึ่งเกษตรกรสามารถนำมาปลูกโดยไม่ต้องดูแลมากนัก อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าจ่าย สถาบัน international erosion control association หรือ IECA ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัล international merit award และธนาคารโลก ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายรางวัลรากหญ้าชุบสำริด แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นการสดุดีพระเกียรติคุณ และพระปรีชาสามารถในฐานะที่ทรงเป็นนักอนุรักษ์ดินและน้ำ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2534 มาจนถึงปัจจุบัน ผลสำเร็จของโครงการพระราชดำริเรื่อง “หญ้าแฝก” ไดพลิกฟื้นคืนชีวิตให้กับแผ่นดิน นำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์อีกครั้ง วันนี้หญ้าแฝกจึงมิได้เป็นเพียงต้นหญ้าที่ไร้ค่า แต่เป็น “ต้นหญ้ามหัศจรรย์” ที่มีอเนกอนันต์ต่อผืนแผ่นดินไทย โปรดร่วมกันปกป้องพระเกียรติยศ และเผยแพร่พระราชกรณียะกิจเพื่อ “ในหลวง” ของพวกเรา
|
|
Tags: |
|
![]() |
|
|