Fish oil หรือน้ำมันปลาเป็นสารอาหารประเภทไขมัน ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันในกลุ่ม omega-3
-polyunsaturated fatty acid ซึ่งมีกรดไขมันหลัก ๆ อยู่ 3 ตัว คือ - Linolenic acid (C 18:3 , n-3)
Eicosapen taenoic acid (EPA, C20:5 , n-3) Docosahexaenoic acid (DHA, C22:6 , n-3)
ปัจจุบันเราพบว่าน้ำมันปลามีประโยชน์ในการป้องกัน หรือลดความรุนแรงของโรค หัวใจ
ความดันเลือดสูง ข้ออักเสบ ปวดศีรษะ ไมเกรน และเบาหวาน นอกจากนี้ยังอาจจะป้องกันโรคมะเร็ง
โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคไต และโรคอื่น ๆ ได้อีกด้วย ความสนใจเกี่ยวกับกรดไขมัน omega-3 เริ่มขึ้นเมื่อแพทย์ชาวเดนมาร์คกลุ่มหนึ่งสนใจในราย
งานผลการใช้ aspirin ในการป้องกันปัญหาหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โดย aspirin จะออกฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด แพทย์จึงเริ่มเข้าใจสมมุติฐานของการเกิดโรคหัวใจอุดตัน โดยพบว่าการเกิดลิ่มเลือด (thrombo genesis) เป็นสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งของปัญหาโรคหัวใจและหลอดเลือด จากความเข้าใจอันนี้ เมื่อโยงไปถึงข้อมูลที่ว่าชาวเอสกิโมมีปัญหาเรื่องโลหิตแข็งตัวช้า และมีเปอร์เซ็นของผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดต่ำ เมื่อศึกษาถึงโภชนาการ พบว่า อาหารที่ ชาวเอสกิโม รับประทานใน ชีวิตประจำวัน คือปลาและแมวน้ำ ซึ่งมีกรดไขมัน omega-3 ปริมาณสูงแพทย์และนักวิจัยจึงเริ่มหันมาให้ ความสนใจต่อกรดไขมัน omega-3 เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
กลไกของกรดไขมัน omega-3 ในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดมีอยู่หลายประการ
เช่น EPA จะเป็นสารตั้งต้นในการ สร้าง eicosanoids โดยเฉพาะอย่างยิ่ง series-3 prostaglandins และseries-5 leucotriene (LTB-5) ซึ่งสารหลาย ๆ ตัวในกลุ่มดังกล่าวจะช่วยลดการจับตัวกันของเกล็ดเลือดทำให้เกิดลิ่มเลือดได้ช้าลง จึงช่วยลดความเสี่ยงของอันตรายจากโรคหัวใจและ หลอดเลือด นอกจากนี้กรดไขมัน omega-3 ยังช่วยเพิ่มความลื่นไหลของผนังเซลล์ อาจจะมีผลช่วยสาร (EDRF) ในการลดความดันโลหิต และลดการสร้าง TriEndothelium สารEndothelium Derived Releasing Factor a-cylglycerols และ triglycerides ในตับส่งผลให้ cholesterol และ lipoprotein LDL ลดลง ในกรณีของโรคข้ออักเสบ พบว่า EPA ลดการสร้างสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ เนื่องจากปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในกระบวนการที่ก่อให้เกิดการอักเสบ ได้แก่ series-4 leucotriene (LTB-4) ซึ่งเนื้อเยื่อในร่างกายสามารถสร้างได้จากกรดไขมัน omega-6 แต่ถ้าเป็นกรดไขมัน omega-3 หรือ EPA แล้ว ร่างกายจะสร้างเป็น LTB-5 แทน ซึ่งไม่มีผลร้ายต่อร่างกาย EPA จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ การสังเคราะห์ prostaglandin และลดการหลั่ง serotoninของเกร็ดเลือด ทำให้การรวมกลุ่มของเกร็ดเลือดลดลง ในระยะที่มีการบีบตัวของหลอดเลือดในสมอง ดังนั้นการให้ EPA จะสามารถลดอาการของไมเกรนลงได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามการใช้กรดไขมัน omega-3 อาจจะมีปัญหาในผู้ที่ป่วยด้วยโรคบางประเภท เช่น ในกรณีของผู้ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่ง insulin (NIDDM) พบว่าอาจจะทำให้การ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทำไม่ได้ เนื่องจากเชื่อว่าจะเกิด glycerol จากการย่อยสลายน้ำมันปลาผ่านเข้าสู่กระบวนการสร้าglucose(gluconeogenesis) มากขึ้น ระดับ glucoseจึงสูงขึ้นถึงระดับที่ควบคุมไม่ได้ ในด้านพัฒนาการของร่างกายมีราย งานว่าพบกรดไขมัน DHA สะสมอยู่มากที่บริเวณสมองและเรตินาของดวงตา และยังพบว่าในน้ำนมมารดาก็มี DHA สูงเช่นกัน จึงเชื่อว่า DHA จะมีผลต่อการพัฒนาของสมองและการมองเห็นของทารก จึงมีข้อแนะนำให้เสริม DHA ในนมสูตรที่ใช้เลี้ยงทารกด้วย นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า DHA อาจจะช่วยแก้โรคความจำเสื่อมชนิด Alzeimer's disease ได้และยังจะลดอาการซึมเศร้าในคนชราที่มี cholesterol ต่ำด้วย แหล่งของกรดไขมัน omega-3 ที่สำคัญได้แก่ ปลาทะเลและสัตว์ทะเลต่างๆ ซึ่งปลาและสัตว์ทะเลจะสะสมกรดไขมัน omega-3 จากแพลงตอนไดอะตอม และสาหร่ายทะเลที่กินเข้าไป ทั้งนี้พบว่าพืชและสัตว์เล็กๆ เหล่านี้สร้างกรดไขมัน omega-3 ขึ้นใน chloroplast เป็นหลัก ส่วนในน้ำมันพืชที่ได้จากพืชพวกถั่วเหลือง ถั่วลูปิน น้ำมันคาโนวา ก็มีกรดไขมัน -linolenic ในปริมาณสูงเช่นกัน
อ้างอิง: http://healthyconcept.weloveshopping.com/store/article/view/Fish_oil_omega_3-24334-th.html