กระทู้นี้ขอยกเรื่อง
แรงงานนำมาเล่าให้ฟัง เนื่องเพราะวันนี้เป็นวันแรง
งานแห่งชาติ (1 พ.ค. ของทุกปี) ที่รัฐบาลยกเอาไว้นี้เป็นวันแรงงานแห่งชาติ ก็ถือเอาตามวันแรงงานสากลทั่วไป ไม่มีประวัติศาสตร์อะไรที่พิเศษที่เกี่ยวกับแรงงานของไทยแต่อย่างใด (หรือผู้เขียนตกข่าวอย่างไร ท่านอื่นช่วยติติงได้นะครับ)
ในยุคนี้เด็กรุ่นใหม่ๆ หรือไม่เว้นผู้ใหญ่อาจจะไม่รู้ว่า ผู้ใช้แรงงานในอดีตนั้น
ต่อสู้กันมาอย่างไรบ้าง ทั้งกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ทั้งประกันสังคม ทั้งสวัสดิการต่างๆ ท้งการก่อตั้งสหภาพแรงงาน เครือข่ายแรงงาน
อันนี้แหล่งอ้างอิงไม่มีนะครับ ประสบการณ์ล้วนๆ จากการสัมผัสด้วยตนเองบ้าง อ่านหนังสือบ้าง
ในทุกๆ ปี ก่อนนี้ น่าจะหลังปี 2540 เรามักจะเห็นการประท้วง การนำขบวนต่างๆ จากแหล่งแรงงาน จากโรงงานต่างๆ เพื่อยื่นข้อเรียกร้อง ในสิ่งที่พวกเขาไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้าง
(หลังจากนั้นมาก็มีแต่กลุ่มก้อนการเมือง แรงงานไม่มีประท้วงล่ะ 55555+)
ในแต่ละปีรัฐจึงต้องเตรียมรับมือกับขบวนของมวลชนแรงงานจำนวนมาก และข้อเรีียกร้องที่สหพันธ์ สหภาพแรงงาน ยื่นเข้ามา
กลุ่มก้อนของแรงงานก่อนนี้เข้มแข็งครับ เข้มแข็งถึงขนาดที่รัฐเองต้องตั้งรับอย่างเป็นรูปธรรม โดยการต้องตั้งกระทรวงแรงงานขั้นมารองรับความต้องการของผู้ใช้แรงงาน ที่นับวันจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น
แต่ไหง๋พอหลังจากนั้น กลุ่มก้อนของแรงงานจึงไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก อันนี้ไม่อยากจะเดาเลยว่า เพราะเขาหยุดที่จะพัฒนาตัวเอง หรือเพราะถูกแทรกแซงจากกระบวนการของนายจ้างเองโดยที่เขาไม่รู้ตัว
ซึ่งก่อนหน้านี้กลุ่มงานแรงงาน จะอยู่เป็น "กรมแรงงาน" ไม่ใช่ "กระทรวงแรงงาน" ในปัจจุบัน
"กระทรวงแรงงาน" จึงมีบทบาทและงานที่กว้างขวาง แต่ไม่รู้ว่าได้ใช้ศักยภาพที่กว้างขวางนั้นเต็มความสามารถหรือไม่
การตีกรอบ ตีความกฎหมายที่ใช้กับผู้ใช้แรงงาน ผู้คนในสังคมยังคงคิดว่า
คำว่า "แรงงาน" และ "กฎหมายแรงงาน" นั้น ใช้บังคับเฉพาะ ผู้ใช้แรงงาน เท่านั้น น่าแปลกนะครับ
แรงงานในปัจจุบัน จึงไม่ค่อยรู้บทบาทและหน้าที่ รวมถึงสิทธิพึงมีพึงได้ของตัวเองเท่าไหร่ เพราะอะไรที่เราไม่ได้ร่วมขบวนการ ไม่ได้รู้ต้นสายปลายเหตุของที่มาที่ไป เราจะไม่ค่อยซึมซับ
กับทั้งรัฐเอง ก็ไม่ได้คิดว่าเป็นหน้าที่ของตน ที่จะต้องเผยแพร่ความรู้นั้นสู่สาธารณะชน