หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: พบแง่มุมเรื่องสมองลูกน้อย จาก 10 คุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ  (อ่าน 491 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 7 ส.ค. 12, 12:31 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

การพัฒนาสมองของเด็กแรกเกิดทำได้อย่างไร?

ให้เด็กทานนมแม่อย่างเดียวถึง 6 เดือน ถ้าไม่สามารถทำได้ ก็ให้เลือกใช้
นมผสมที่มีสารอาหารใกล้เคียงนมแม่ ซึ่งปัจจุบันมีสารอาหารที่สำคัญต่อการพัฒนาสมองของเด็กแรกเกิด อย่างเช่น DHA, Choline ซึ่งมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์แล้วว่า การเสริมอาหารเหล่านี้ในนมผสม น่าจะทำให้การพัฒนาสมองของเด็กแรกเกิด (ซึ่งเป็นช่วงที่มีการพัฒนาและเติบโตสูงสุด) ที่ทานนมผสมนั้นใกล้เคียงกับเด็กแรกเกิดที่ทานนมแม่เพียงอย่างเดียว


รศ.นพ.สรายุทธ สุภาพรรณชาติ
กุมารแพทย์ หน่วยทารกแรกเกิด
คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #1 เมื่อ: 7 ส.ค. 12, 12:43 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

สมองของเด็ก 3 ขวบปีแรกมีลักษณะอย่างไร มีการทำงานและเจริญเติบโตอย่างไร?

เด็กเกิดมาด้วยเซลล์สมองแสนล้านเซลล์ เซลล์ที่ได้ใช้และได้รับการกระตุ้นจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอย่างมากและรวดเร็ว เซลล์ที่ไม่ได้ใช้จะฝ่อและตายไป สมองเด็กจึงควรได้รับโภชนาการที่ถูกต้องเหมาะสมครบถ้วน ร่วมกับการส่งเสริมการเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานของเซลล์สมอง ผ่านทางการส่งเสริมพัฒนาการทุกๆ ด้านอย่างเหมาะสม โดยเด็กเล็กๆ เรียนรู้ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (ตาดู หูฟัง จมูกรับกลิ่น ลิ้นรับรส ผิวหนังรับสัมผัส) เรียนรู้ผ่านทางการเล่นและทำซ้ำๆ จนเกิดความชำนาญ โดยต้องได้รับความรัก ความเอาใจใส่ ความอบอุ่น และความเข้าใจจากพ่อแม่อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และพ่อแม่ควรจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับลูกตามวัย ไม่เร่งหรือคาดหวังมากจนเกินไป

รศ.พญ.จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์
หัวหน้าหน่วยพัฒนาการ และการเจริญเติบโต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #2 เมื่อ: 7 ส.ค. 12, 12:43 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

สมองของเด็กในท้องเริ่มสร้างเมื่อใด และเมื่อครบ 9 เดือน สมองของเด็กสร้างสมบูรณ์แล้วหรือไม่?

ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิก็จะมีเซลล์ที่รับมอบหมายให้พัฒนาเป็นสมองและระบบประสาท จากนั้นก็จะมีการขยายขนาดและเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาท เพื่อให้มีการทำงานสมบูรณ์ สมองและระบบประสาทจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง
เด็กมีอายุ 3-5 ปี ทั้งในเรื่องขนาดและการทำงาน


รศ.นพ.ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร
ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #3 เมื่อ: 7 ส.ค. 12, 12:44 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

เด็กทุกคนเกิดมามีจำนวนเซลล์สมองเท่ากัน แต่ทำไมเด็กจึงฉลาดไม่เท่ากัน?

แม้เด็กจะเกิดมามีเซลล์สมองเท่ากัน แต่จุดสำคัญที่ทำให้เด็กฉลาดแตกต่างกันก็คือ ปริมาณการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ยิ่งสมองเกิดการเชื่อมต่อมาก เด็กก็จะเรียนรู้สิ่งรอบข้างได้ดี ซึ่งพ่อแม่สามารถส่งเสริมให้เซลล์สมองเด็กเกิดการเชื่อมต่อได้ โดยคุณแม่สามารถทำได้ตั้งแต่ลูกคลอดออกมาก็คือให้ลูกได้กินนมแม่ ซึ่งมีสารอาหารที่ดีต่อสมองอยู่มากมาย เช่น ดีเอชเอ และดีต่อพัฒนาการด้านต่างๆ ของลูก เพราะเขาจะได้รับการสัมผัส โอบกอดด้วยความรักจากคุณแม่ ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อการเชื่อมต่อของเซลล์สมอง เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่นตามวัย ได้ดูภาพ ฟังนิทาน อ่านหนังสือ มีคนคอยพูดคุยด้วย หากเด็กได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสมตามวัย เซลล์สมองของเขาก็จะเกิดการเชื่อมต่ออย่างเต็มประสิทธิภาพค่ะ

สมองเป็นอวัยะที่มีความมหัศจรรย์ หากเส้นใยใดได้รับการกระตุ้นหรือถูกใช้บ่อยเส้นใยนั้นจะแข็งแรงคงทน หากไม่ถูกใช้จะถูกริดทิ้ง ดังนั้น เด็กวัยนี้ควรเปิดโอกาสให้ทำกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อมองหาความถนัดและส่งเสริมเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพภายใต้บรรยากาศที่มีความสุขค่ะ


พญ.อดิศร์สุดา เฟื่องฟู
กุมารแพทย์ชำนาญการพิเศษและผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีอาจารย์ผู้สอนฝึกอบรมและสอบกุมารแพทย์ อนุสาขาพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #4 เมื่อ: 7 ส.ค. 12, 12:45 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

สมองเด็กมีการหยุดพัฒนาหรือไม่?

สมองของคนเราไม่เคยหยุดพัฒนา แต่จะมีช่วงของการพัฒนาที่แตกต่างกัน ในช่วงแรกของชีวิต คือแรกเกิด- 3 ปี สมองจะพัฒนาและเติบโตในเชิงหน้าที่และปริมาณ คือเพิ่มจำนวนของเส้นใยประสาทและเพิ่มขนาด ส่วนหลังจากนี้ก็เป็นการพัฒนาบทบาทหน้าที่เป็นส่วนใหญ่เพื่อให้เก่งขึ้น เพราะเซลล์สมองส่วนที่ไม่ได้ใช้จะถูก Pruning คือถูกลดบทบาทไปให้ส่วนที่ได้ใช้อย่างเต็มที่ถูกพัฒนาขึ้นมาแทน ดังนั้นหากพ่อแม่ต้องการให้สมองของลูกได้พัฒนาบทบาทหน้าที่อย่างเต็มที่ในทุกๆ ด้านก็ต้องส่งเสริมให้ลูกได้ทำกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาสมองในทุกๆ ด้าน เช่น ได้ฝึกใช้สมองในการคิดวิเคราะหฺ์ แก้ปัญหา ฝึกใช้ภาษา ฝึกเรื่องดนตรี ไม่ใช่ให้เน้นแต่ด้านเรียนวิชาการอย่างเดียว"


นพ.ธีรชัย บุญยะลีพรรณ
กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการ รพ.ลาดพร้าว

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #5 เมื่อ: 7 ส.ค. 12, 12:47 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ปัจจัยส่งเสริมและขัดขวางการเติบโตของสมองเด็กในครรภ์มีอะไรบ้าง?

ปัจจัยที่ส่งเสริมก็คือ สิ่งแวดล้อม (Environment) โภชนาการ (Nutrition) และพันธุกรรม (Genetic) ส่วนปัจจัยที่ไม่ได้กระตุ้น คือการที่แม่ไม่มีความรู้ความสนใจในการกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ ทำให้ทารกเสียโอกาสที่จะพัฒนาสมองตั้งแต่ในครรภ์ การไม่สนใจเรื่องโภชนาการทำให้ทารกขาดสารอาหารที่จำเป็นในการพัฒนาศักยภาพของสมอง

นพ.อานนท์ เรืองอุตมานันท์
สูติ-นารีแพทย์ โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #6 เมื่อ: 7 ส.ค. 12, 12:48 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

หากสมองเด็กไม่ได้รับการกระตุ้น จะเกิดอะไรขึ้นกับเด็กคนนั้น

สมองเด็กคนนั้นก็จะไม่ได้รับการกระตุ้นให้ทำงานอย่างเต็มศักยภาพสมองของคนเรานั้นเริ่มเจริญเติบโตมาตั้งแต่ในครรภ์ สมองของเด็กควรจะได้รับกระตุ้นตั้งแต่ในครรภ์ เช่น โดยแม่กระตุ้นผ่านการพูดคุย ลูบสัมผัสหน้าท้อง หรือให้ลูกฟังเพลง เมื่อเด็กคลอดออกมาพร้อมเซลล์สมองนับแสนล้านเซลล์ และเด็กจะฉลาดเมื่อได้รับการกระตุ้นให้เซลล์สมองเกิดการเชื่อมโยงกัน เซลล์สมองแต่ละเซลล์จะมีจุดเชื่อมโยงกันนับหมื่นจุด โดยเด็กจะต้องได้รับประสบการณ์ที่ดี เพื่อให้วงจรการเชื่อมโยงเป็นไปอย่างแข็งแรง

เพราะสมองเป็นอวัยวะที่ควบคุมทุกอย่างในร่างกายของเรา การกระตุ้นสมองก็คือการกระตุ้นพัฒนาการทุกอย่างของเด็ก หากต้องการให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านที่ดี ก็ต้องกระตุ้นการทำงานของสมองค่ะ


อาจารย์แพทย์หญิงดวงรัตน์ วังเกล็ดแก้ว
อาจารย์และกุมารแพทย์ด้านจิตวิทยาเด็กประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #7 เมื่อ: 7 ส.ค. 12, 12:48 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

เคล็ดลับการส่งเสริมการทำงานของสมองเด็ก

สมองเด็กในช่วง 3 ขวบปีแรก จะเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาสูงสุดของเซลล์และแตกกิ่งก้านสาขาเพื่อเชื่อมต่อเป็นโครงสร้างใยประสาท เด็กที่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหว การเล่น เพื่อมีปฏิสัมพันธ์สังคมกับผู้อื่น มีการพูดคุยโต้ตอบ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา หรือได้รับโอกาสให้ได้สำรวจ สังเกต หรือแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เป็นการส่งเสริมการทำงานของสมองของเขา โดยรวมเด็กในวัยนี้ เรียนรู้ผ่านระบบประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหว ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเปิดโอกาสและสร้างโอกาสให้เด็กได้ใช้สมอง อย่างรอบด้านผ่านการเล่นและสำรวจโลกรอบตัวของเขา ที่สำคัญพ่อแม่ต้องลงไปเล่นกับเขาใช้ตัวเองเป็นเสมือนของเล่นของลูกด้วยค่ะ


พญ.จารุวรรณ กิตติโศภิษฐ์
กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการ และพฤติกรรมบำบัด ประจำมีรักคลินิก อาจารย์รับเชิญภาควิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น รพ.รามาธิบดี
ที่ปรึกษา Early Childhood Program St.Andrews International School (Samakee)



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #8 เมื่อ: 7 ส.ค. 12, 13:58 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก เอนฟา นะคะ



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:  สมองลูกน้อย  เอนฟา  เบรนเอ๊กซ์โป  สมาร์ทคลับ 

หน้า: 1

 
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:   Go
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม