ต่อต้านผู้ทำลายสถาบันไทย
1.ความเชื่อ เป็นสิ่งที่ยอมรับยึดถือเฉพาะตนเอง อาจมีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผล อาจขยายลาม ไปถึงผู้อื่น หากมีกรอบความคิดและค่านิยมที่ใกล้เคียงกัน การหักล้างความเชื่อในทันทีกระทำได้ยาก ต้องพยายามทำความเข้าใจ ให้ข้อมูลเหตุผลที่ถูกต้อง ให้เกิดการยอมรับอย่างเคารพและหวังดีต่อกัน
2.การ กล่าวอ้างโจมตีบุคคลอื่น โดยพยายามเชื่อมโยงและอ้างอิงหลักฐานอันเป็นเท็จนอกจากจะมีความผิดทางกฎหมาย แล้ว ผู้ที่กระทำย่อมรู้ถึงเจตนาของตนเองและกลุ่มพวกพ้องที่กระทำว่ามีเจตนาใด ซึ่ง “ผลแห่งการกระทำ” ย่อมได้รับตามเจตนานั้นโดยสมบูรณ์ อันจะเป็นที่ได้ประจักษ์โดยทั่วกัน
3.บุญบารมีในการเป็นผู้นำ มิได้สร้างสมเพียงชั่วข้ามคืน หรือเพียงชั่วอายุเดียว หากต้องสั่งสมบุญบารมีมายาวนาน การกล่าวร้าย กล่าวปรามาสผู้มีบุญญาธิการ เพียงเพราะความขลาดเขลาของตนเอง ไม่สามารถใช้ สติและปัญญาที่เที่ยงแท้พิจารณาความจริงได้ ก็ไม่ต่างจากการตกลงไปในอบายภูมิแล้วครึ่งหนึ่ง
4.เทคโนโลยีเจริญก้าว หน้า การบิดเบือนข่าวสาร ให้เป็นไปตามที่ต้องการเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย ประกอบกับการสร้างแรงจูงใจเชิงจิตวิทยาจากกลุ่มบุคคลกลุ่มใหญ่ ทำให้น้ำหนักของข่าวสารนั้น ดูมีความน่าเชื่อถือ แม้ไม่ได้เห็น หรือได้รับรู้ความจริงด้วยตนเอง เพียงแต่ผ่านกลุ่มที่ตนเชื่อถือเท่านั้น ก็เชื่อฝังใจ ออกรับแทน และประณามผู้ที่เห็นขัดแย้งว่า โง่ ไม่รู้จริงเหมือนตน
5.หลักการดี พูดจาน่าเชื่อถือ หลักฐานอ้างอิงมากมาย แต่เจตนากลับทำร้ายผู้อื่นให้เสื่อมเสีย เพียงเพราะขัดกับความต้องการของตนเอง ขัดกับหลักการที่ตนเองต้องการและมองว่าดี ลักษณะนี้ไม่ใช่แนวทางของผู้ที่นิยมเสรีภาพ และประชาธิปไตย กลับเป็นในมุมของผู้ที่นิยมความรุนแรง เพราะผลแห่งเจตนา จะมีแต่การแตกแยก และไม่สงบสุข
6.การหมิ่นประมาททางอินเตอร์เน็ต เป็นความผิดทางอาญา ตามมาตรา 326 ที่บัญญัติว่า "ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่ทำให้ผู้นั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมื่น หรือ ถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ“ ระวังอย่าตกเป็นเหยื่อและเครื่องมือของผู้ที่ต้องการผลประโยชน์จากการกระทำ ของท่าน
7.เราจะต้องระมัดระวังผู้ที่คิดจะเปลี่ยนแปลงหรือเคลื่อนไหว สังคม ไม่ให้เป็นการใช้ประโยชน์จากพระราชอำนาจ โดยเราต้องร่วมใจกันน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ดังที่ได้ตรัสไว้ว่า "ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร"
8. ย้อนประวัติศาสตร์ชาติไทยนั้นบรรพบุรุษเราล้วนแล้วแต่น่ายกย่อง ต้องแลกด้วยเลือด เนื้อ และความลำบากยากเข็นเข้าแลกไว้ ท่าไม่มีพวกเค้าแร้วแร้วจะมีแผ่นดินเหยียบถึงทุกวันนี้หรือไม่...อิอิ แหม่พูด...แร้วของขึ้น!!
9.สู้เพื่อชาติ พลาดอย่างอาชาไนย ถึงตาย-เกียรติยศก็ยังดำรงไว้ จงภูมิใจเถอะ อย่าให้ความเสียใจมาดับไฟนักสู้ในหัวใจท่านเลย
10รัฐ ธรรมนูญ กล่าวไว้ว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นการจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษา ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน