หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: มารู้จักการฉายรังสีรักษามะเร็งสุดไฮเทคกันเถอะ!  (อ่าน 472 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 10 พ.ค. 13, 01:40 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 
(เครื่องฉายเร่งอนุภาคชนิด “Rapid Arc” )

"โรคมะเร็ง" ยังคงเป็นโรคที่ใครหลายคนมักหวั่นกลัวเมื่อได้ยินอยู่เสมอ แต่วันนี้เราอาจจะต้องปรับเปลี่ยนความเชื่อเสียใหม่ เพราะปัจจุบันนี้วิทยาการทางการแพทย์ก็ล้วนมีความก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก ทำให้มนุษย์เราสามารถค้นพบเครื่องมือและวิธีการที่ใช้จัดการกับมะเร็งร้ายได้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ

รังสีรักษาคืออะไร?

โดยทั่วไปแล้ว “รังสีรักษา” หรือเรียกง่ายๆ ว่า “การฉายรังสี” เป็นวิธีหนึ่งที่มีการนำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งเป็นอันดับต้นๆ รังสีที่ว่านี้จะอยู่ในรูปของคลื่นที่มีพลังงานสูง สามารถทะลุผ่านสิ่งต่างๆ ได้ดี เช่นรังสีเอกซเรย์ หรือ แกมมาเรย์ หรืออยู่ในรูปของอนุภาค เช่น ลำรังสีอิเลคตรอน โดยเป้าหมายที่สำคัญของการฉายรังสีคือ ทำให้ก้อนมะเร็งได้รับรังสีสูงที่สุดเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งในขณะที่อวัยวะสำคัญข้างเคียงจะต้องได้รับรังสีน้อยที่สุดเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการฉายรังสี

วิธีให้รังสีรักษาทำได้อย่างไรบ้าง?

การให้รังสีทำได้ 2 วิธีคือ

การฉายรังสีจากภายนอก (External Radiation Therapy)
(Linear Accelerator) โดยจะสามารถส่งผ่านลำรังสีพลังงานสูงนี้ไปยังเป้าหมายได้อย่างแม่นยำแม้ว่าก้อนมะเร็งนั้นจะอยู่ตรงตำแหน่งไหนของร่างกายก็ตาม
การฉายรังสีแบบภายใน (Brachytherapy)
หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “การใส่แร่” ซึ่งก็คือการสอดใส่สารกัมมันตรังสีเช่น อิริเดียม 192 หรือ โคบอลท์ 60 เข้าสู่ร่างกายในตำแหน่งของเนื้องอกโดยตรง มีผลให้เนื้องอกได้รับปริมาณรังสีสูง ในขณะที่อวัยวะสำคัญข้างเคียงได้รับรังสีน้อย วิธีนี้เหมาะสำหรับการรักษามะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งมดลูก เป็นต้น
สู่อีกขั้นของนวัตกรรมการฉายรังสี

สำหรับประเทศไทยนั้น วิวัฒนาการในการฉายรังสีของประเทศไทยเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 คือเริ่มมีการใช้วิธีฉายรังสีจากภายนอกเป็นครั้งแรก และนับจากนั้นเป็นต้นมาก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีเทคนิคที่น่าสนใจดังนี้

การฉายรังสีแบบธรรมดา (Conventional Technique)
เทคนิคนี้ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก ส่วนใหญ่จะฉายรังสีเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมหรือวงกลมโดยอ้างอิงจากภาพเอกซเรย์กระดูกแบบธรรมดาที่จะใช้กระดูกในบริเวณใกล้เคียงเนื้องอกหรือมะเร็งนั้นเป็นอวัยวะอ้างอิง ใช้ในการรักษาโรคที่มีความซับซ้อนไม่มากนัก

การฉายรังสีแบบสองมิติ (Two Dimensional Technique)
เป็นเทคนิคการฉายรังสีที่พัฒนามาจากประเภทแรก โดยมีการใช้ภาพเอกซเรย์ 2 มิติ คำนวณการรักษาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์วางแผนการรักษา

การฉายรังสีสามมิติ (Three Dimensional Conformal Radiation Therapy: 3D-CRT)
เป็นการรักษาที่ใช้ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ทำให้เห็นก้อนเนื้องอกและอวัยวะปกติในรูป 3 มิติ ทำให้แพทย์สามารถกำหนดขอบเขตการรักษาได้แม่นยำมากขึ้น และนักฟิสิกส์การแพทย์สามารถวางแผนการรักษาโดยใช้ลำรังสีเข้าได้หลายทิศทางด้วยคอมพิวเตอร์ วิธีนี้จะทำให้ปริมาณรังสีกระจายอย่างสม่ำเสมอครอบคลุมก้อนเนื้องอกและยังลดปริมาณรังสีต่ออวัยวะข้างเคียงทั้งนี้การรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะกับรอยโรคที่ค่อนข้างมีความซับซ้อน

ที่ศูนย์รังสีรักษา โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (เปิดให้บริการที่ชั้นใต้ดิน B2) นั้นเป็นอีกหนึ่งความภูมิใจในการให้บริการของโรงพยาบาลที่มีความทันสมัยของเครื่องมือทางการรักษาที่เรียกว่า เครื่องฉายเร่งอนุภาคชนิด “Rapid Arc” ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องแรกของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลอีกด้วย

ที่มา : โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 5 มีนาคม 2556
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #1 เมื่อ: 10 พ.ค. 13, 11:30 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

สุดยอดไปเลยค่ะ

http://xn--72c5cg5c6dxb.health2u.info/

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
มะเหมี่ยวหวาน
เรทกระทู้
« ตอบ #2 เมื่อ: 14 พ.ค. 13, 02:07 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

เครื่องนี้มีทุกโรงพยาบาลรึเปล่าคะ ? หรือว่ามีเฉพาะโรงพยาบาลเอกชนใหญ่ๆ ชื่อดังเท่านั้นคะ q*077

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
Bababebe
เรทกระทู้
« ตอบ #3 เมื่อ: 30 พ.ค. 13, 00:39 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

อืมทันสมัยมากเลยค่ะ พอดีเคยเห็นโฆษณาของโรงพยาบาลศิริราชทางทีวีเป็นการปรับปรุงโรงพยาบาลโฉมใหม่ของศิริราช และเปลี่ยนชื่อใหม่ใช่ไหมคะ q*031

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:   Go
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม