12 Years A Slave ปลดแอก คนย่ำคน ... คนเท่ากัน 
เมื่อวันก่อนได้มีโอกาสดูภาพยนตร์ เรื่อง “12 Years A Slave ปลดแอก คนย่ำคน” ภาพยนตร์ “ตัวเก็ง” รางวัลออสการ์ปีนี้ (ดูภาพยนตร์ตัวอย่าง http://youtu.be/CD5n0GXADqw ) ต้องพูดเลยว่า เป็นหนังที่คอหนังพลาดไม่ได้ ท่ามกลางสภาวะทางการเมืองร้อนๆของประเทศไทย ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์จากหนังสืออัตชีวประวัติของ นายโซโลมอน นอร์ธอัพ (Solomon Northup) ที่เขียนสคริปต์ โดย นาย จอห์น ริดลีย์ (John Ridley) และ นาย สตีฟ แม็คควีน (Steve McQueen) ทำหน้าที่ทั้งกำกับและร่วมเขียนบท โดยมีดารานำแสดง ได้แก่ ชิวีเทล เอจิโอฟอร์ (Chiwetel Ejiofor), ไมเคิล ฟาสเบนเดอร์ (Michael Fassbender), เบเนดิกต์ คัมเบอร์แบทช์ (Benedict Cumberbatch), แบรด พิตต์ (Brad Pitt), พอล ดาโน (Paul Dano), พอล จิอาแม็ตติ (Paul Giamatti), การ์เรต ดิลเลียฮันท์ (Garret Dillahunt), ซาราห์ พอลสัน (Sarah Paulson), สกูต แม็กแนรี (Scoot McNairy), รูธ เนกการ์ (Ruth Negga), อัลเฟร วูดดาร์ด (Alfre Woodard) และ ไมเคิล เคนเนธ วิลเลียมส์ (Michael Kenneth Williams)
“ 12 Years a Slave ” เป็นเรื่องราวของ นาย โซโลมอน นอร์ธอัพ แอฟริกัน อเมริกัน ชาวนิวยอร์ก ผู้ซึ่งเกิดและเติบโตมาอย่างอิสรชน แต่โชคร้ายถูก “ล่อลวง” และ “ลักพาตัว” ในมลรัฐวอชิงตัน ดีซี ไปขายเป็นทาสที่มลรัฐ ลุยเซียน่า เป็นเวลานานถึง 12 ปี ตลอดช่วงเวลา 12 ปี ของการถูก จองจำ เขาต้องต่อสู้อย่างหนักกับการเอาชีวิตรอด และการคงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ จนกระทั่งได้พบกับ “ผู้รณรงค์การปลดปล่อยทาสชาวแคนาดา” ที่ทำให้ชีวิตของเขาเปลี่ยนไปเมื่อย้อนไปศึกษาประวัติศาสตร์ ประเทศ สหรัฐอเมริกา จะพบว่าเรื่องราวของ โซโลมอน นอร์ธอัพ เป็น เรื่องจริงที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1400-1865 หรือ ที่เรียกกันว่า “Early Days & Slavery” “ยุคค้าทาส” อันเนื่องมาจากผลทางเศรษฐกิจ แบบ “the Plantation Economy” หรือ เศรษฐกิจที่พึ่งพาการเกษตรเป็นหลัก
เนื่องจากสมัยนั้นยังไม่มีเครื่องจักรมาช่วยทุ่นแรง
งานในการผลิต ประเทศสหรัฐอเมริกาในยุคนั้น จึงได้ผ่าน “กฎหมายค้าทาส” เพื่ออนุญาตให้นายทุน สามารถซื้อหา “แรงงาน” จำนวนมากจากประเทศแอฟริกาได้อัตชีวประวัติของ โซโลมอน นอร์ธอัพ ยังได้เล่ารายละเอียดถึง ตลาดค้าทาส และ การเพาะปลูกไร่ฝ้ายและอ้อยในสมัยนั้นอีกด้วย เรื่องจริงที่เกิดขึ้นใน “ยุคค้าทาส” เป็น “จุดเริ่มต้น” ของ การต่อสู้เพื่ออิสรภาพและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ภายใต้หลักคิดที่ว่า “คนเท่ากัน” จนในภายหลังได้มีการตรากฎหมาย “เลิกทาส” โดยประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอล์น ในปี ค.ศ. 1863 และการผ่านกฎหมายว่าด้วย “สิทธิพลเมือง” ของชาวแอฟริกัน อเมริกัน (ค.ศ.1866) ในที่สุด ขณะชมภาพยนตร์ อดคิดไม่ได้ว่า ความคิด ของ “ชนชั้นนำ” ใน “ยุคค้าทาส” และ ชนชั้นนำใน “ยุคปัจจุบัน” บางคน มี “ความคล้าย” อยู่บ้าง
ตรงที่ “ผู้กดขี่” หรือ “ชนชั้นนำ” ในยุคนั้น มอง “ชนชั้นแรงงาน” เป็นเพียง “ชาวนิโกร” ไม่มีการศึกษา และความสามารถ ซึ่งใกล้เคียงกับ "ชนชั้นนำ" ในยุคปัจจุปัน บางคนในสังคมก็แสดงออกซึ่ง แนวคิดและมุมมองว่า “ชนชั้นนำ” เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ และมีสิทธิ มีเสียงมากกว่าชนชั้นอื่นๆ ซึ่งในความเป็นจริง ประชาชนทุกคน ทุกกลุ่ม ต่างเป็น “ฟันเฟือง” ที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน ในการขับเคลื่อนประเทศ และมีความเท่าเทียมกันในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ กลับมามองสถานการณ์ ในประเทศไทยปัจจุบัน เกิดการ “แบ่งแยกทางความคิด” อันเนื่องมาจากการสร้าง “วาทกรรมแห่งความเกลียดชัง” เพื่อแย่งชิงชัยชนะในทางการเมืองเป็นที่ตั้ง เป็นที่น่าสะท้อนใจว่า ในขณะที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้หลุดพ้นการ “จองจำอิสรภาพ" ของเพื่อนร่วมชาติด้วยการคืนเสรีภาพให้ประชาชนทุกคนมี สิทธิที่เท่าเทียมกันแล้ว ในลักษณะของประเทศที่เจริญแล้ว แต่เพราะเหตุใด “คนบางกลุ่ม” จึงพยายามที่จะนำประเทศไทย กลับไปสู่ ความคิด ที่ “แบ่งแยก” และพยายามทำให้รู้สึกว่า “คนไม่เท่ากัน”
เช่นนี้ ก็ไม่ต่างอะไรไปกับการ “ จองจำ ” ประเทศด้วย “ ความเกลียดชัง ” ! !
ปล. มวลมหาประชาชน ไปดูหนังกันนะคะ ^ ^
ที่มา: https://www.
facebook.com/Sand.Chayika#!/photo.php?fbid=654578487921619&set=a.444830018896468.98584.419870098059127&type=1&theater