หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: เรียกร้องให้ตรวจสอบกระบวนการการจัดทำ EIA, EHIA ของประเทศไทย  (อ่าน 79 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 21 เม.ย. 14, 16:27 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

ENGLISH version here

เลขที่จดหมายออก 4/2557

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี)120 หมู่ที่ 3 ถนน แจ้งวัฒนะ

แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

9 เมษายน 2557

เรื่อง ขอเรียกร้องให้ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากการจัดทำนโยบายและการปฏิบัติการของกระบวนการการจัดทำEIA, EHIAของประเทศไทย

เรียน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

Human Rights Watch

เลขาธิการ ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights

สำเนาถึง

ประธาน ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights

Human Rights Watch

คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (คชก.)

คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



อ้างถึง Open Letter to the ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights (AICHR)

ตามที่เครือข่ายปกป้องกระบี่จากถ่านหินได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกต่อเลขาธิการ ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights เพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสิทธิมนุษยชนในระดับอาเซียนเริ่มต้นกระบวนการหารือระดับภูมิภาคด้านสิทธิสิ่งแวดล้อมและสิทธิด้านมนุษยชนในประเทศสมาชิกอาเซียน การกำหนดข้อบังคับและแนวทางการปฏิบัติร่วมกันตามกฎบัตรสหประชาชาติอันว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเพื่อคุ้มครองพลเมืองจากการกระทำการละเมิดต่อสิทธิอันพึงมี โดยจะต้องอยู่บนหลักความถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ทั้งในกระบวนการยุติธรรมและกระบวนการอื่นใด

กระบวนการการจัดทำ EIA, EHIA ของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่เป็นกรณีศึกษาที่เห็นชัดอย่างยิ่ง เมื่อกระบวนการการจัดทำดังกล่าวก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนในพื้นที่โดยตรงและส่งผลต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อพลเมืองทุกคนผู้มีสิทธิปกป้องและจัดการทรัพยากรธรรมชาติของประเทศร่วมกัน กระบวนการการจัดทำ EIA, EHIA ของกระบี่จึงเป็นความต่อเนื่องและเรื้อรังของการละเมิดสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยที่โดนกระทำการละเมิดผ่านนโยบาย กฎหมายและกฎกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งมีการประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2555 เป็นต้นมา

เครือข่ายปกป้องกระบี่จากถ่านหินจึงขอเรียกร้องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทำการตรวจสอบบริษัทที่ปรึกษา สถาบันและ/หรือผู้รับจ้างจัดทำรายงาน EIA,EHIA คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (คชก.) คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำนโยบายและดำเนินการปฏิบัติ ที่ได้พิจารณาอนุมัติโครงการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและ/หรือสุขภาพที่ผ่านมาทุกโครงการ รวมทั้งโครงการที่กำลังดำเนินการกระบวนการการจัดทำการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและ/หรือสุขภาพในอันที่จะส่งผลต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนในอนาคตเช่นกัน

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และเพื่อพิจารณาในการดำเนินการสอบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจากนโยบายและการปฏิบัติการของกระบวนการการจัดทำEIA, EHIAของประเทศไทยเพื่อให้ประเทศไทยเกิดการปฏิรูปนโยบายและกระบวนการจัดทำEIA, EHIAให้อยู่บนหลักสิทธิมนุษยชนที่มีความถูกต้อง โปร่งใส ชอบธรรมและตรวจสอบได้

เครือข่ายปกป้องกระบี่จากถ่านหิน

1.กลุ่มรักลันตา

2.กลุ่มพิทักษ์ปกาสัย

3.สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวลันตา

4.สมาคมผู้ประกอบการโรงแรมเกาะลันตา

5.มูลนิธิอันดามัน

6.ศูนย์สร้างเสริมจิตสำนึกนิเวศวิทยา

7.กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

8.สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย

9.คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กปอพช.)

10.โครงการปกป้องพื้นที่ผลิตอาหารชายฝั่งภาคใต้

11.กลุ่มรักตรังปกป้องตรัง

12.กลุ่มรักษ์อันดามัน

13.กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมปกาสัย จังหวัดกระบี่

14.กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขจังหวัดกระบี่

15.เครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดกระบี่

16.องค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน

17.เครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านอ่าวพังงา อันดามัน

18.เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ

19.เครือข่ายติดตามผลกระทบจาดโรงไฟฟ้าถ่านหิน ตำบลเขาหินซ้อน

20. มูลนิธินโยบายสุขภาวะ

21.เครือข่ายถ่านหิน ประเทศไทย

22.เครือข่ายถ่านหินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ร่วมลงชื่อ “ปกป้องกระบี่จากถ่านหิน” และเรียกร้องว่าเราต้องการโรงไฟฟ้าที่มาจากพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด คลิกเลยที่ www.protectkrabi.org #ProtectKrabi
ที่มา : Greenpeace Thailand
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 เม.ย. 14, 14:14 น โดย PeaceOrElse » noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:  EHIA eia ประเทศไทย 

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม