หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: น้ำในโพรงสมองมากเกินไป สาเหตุหนึ่งของโรคสมองเสื่อม  (อ่าน 87 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 23 เม.ย. 14, 10:26 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

สาเหตุและอาการ
โรคสมองเสื่อมที่เกิดจากน้ำในโพรงสมองเพิ่มขึ้น โดยปกติโพรงสมองจะมีน้ำหล่อเลี้ยงสมองอยู่หากมีปริมาณของน้ำในโพรงสมองที่มากเกินไป จะทำให้เกิดการขยายขึ้นของโพรงน้ำ ไปกดเบียดเนื้อสมองบริเวณรอบๆ ทำให้สมองทำงานผิดปกติได้ จริงๆแล้วภาวะนี้เกิดขึ้นได้ทุกวัย แต่จะพบมากในผู้สูงอายุที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และส่วนใหญ่เกิดขึ้นเอง พบได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง
ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่เกิดจากน้ำในโพรงสมองเพิ่มขึ้นจะมีอาการผิดปกติที่พบได้บ่อยๆ อยู่ 4 ประการ ได้แก่
-การเดินที่ผิดปกติ เป็นอาการแรกที่ปรากฏขึ้นมาก่อน
-เดินก้าวขาลำบากคล้ายเท้าถูกดูดติดกับพื้น เดินซอยเท้า ถี่ๆ
-ปัสสาวะราดบ่อยๆ เพราะเข้าห้องน้ำไม่ทัน
-หลงลืมง่าย คิดช้า
แต่การที่ผู้ป่วยมีอาการกลั้นปัสสาวะลำบาก (Urinary Incontinence) เช่นผู้ป่วยต้องรีบเข้าห้องน้ำทันทีเมื่อรู้สึกปวดเบา แสดงว่าโรคนี้เป็นระยะหนึ่งแล้ว เช่นเดียวกับเรื่องความจำเสื่อม ยิ่งในระยะท้ายๆ ของโรคปัญหาเรื่องปัสสาวะจะเป็นมากจนปัสสาวะราดโดยไม่ทันรู้ตัว แต่อย่าเพิ่งเป็นกังวล โรคนี้ไม่ใช่โรคร้ายแรง แพทย์จะตรวจวินิจฉัยให้แน่นอนก่อนและวางแผนรักษา
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยโรคอาศัยภาพถ่ายสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI เป็นเครื่องช่วยยืนยันให้เห็นว่าโพรงน้ำในสมองมีขนาดใหญ่กว่าปกติจริงๆและมีการกดเบียดตำแหน่งของเนื้อสมองด้านหน้าและด้านใน ทำให้มีอาการเดินลำบาก กลั้นปัสสาวะลำบากและความจำแย่ลง ขั้นต่อมาแพทย์จะทำการทดสอบโดยการเจาะระบายน้ำหล่อเลี้ยงสมองทางหลัง เพื่อดูว่าผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้นหรือไม่ ในส่วนของการเดิน หากผู้ป่วยเดินได้คล่องขึ้น จะได้แนะนำให้ทำการรักษาด้วยการผ่าตัดวางท่อระบายน้ำเข้าสู่ช่องท้อง การผ่าตัดจะช่วยชะลออาการได้ เพราะถ้าปล่อยไว้อันเกิดภาวะน้ำท่วมสมอง ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมที่รุนแรงขึ้นจนอาจช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ความจำแย่ลงอย่างมาก
การรักษา
การรักษาด้วยการผ่าตัดวางท่อระบายนั้นจะทำโดยแพทย์ด้านศัลยกรรมทางสมอง โดยท่อระบายน้ำที่จะฝังอยู่ในร่างกายมีอยู่ 2 ประเภทคือ ชนิดที่ปรับแรงดันไม่ได้ และชนิดที่ปรับแรงดันได้ ท่อชนิดที่ปรับแรงดันได้ มีข้อดีคือ ถ้าการระบายน้ำมากกว่าเกินไปหรือน้อยเกินไป แพทย์สามารถที่จะปรับเปลี่ยนการระบายน้ำได้โดยใช้อุปกรณ์แม่เหล็กไร้สายจากภายนอกร่างกาย และไม่ต้องผ่าตัดเปลี่ยนท่ออันใหม่ แพทย์จะนัดผู้ป่วยมาประเมินความคืบหน้าของอาการเป็นระยะๆ ร่วมกับการปรับเปลี่ยนการระบายน้ำตามความจำเป็น ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใส่ท่อชนิดปรับแรงดันได้ ผู้ป่วยมักจะนอนพักฟื้นในโรงพยาบาลหลังผ่าตัด เพียงชั่วระยะเวลาไม่กี่วันเท่านั้นและแพทย์จะนัดมาทำการตัดไหมในภายหลัง
หลังจากผ่าตัด ผู้ป่วยจะมีอาการค่อยๆดีขึ้นอย่างช้าๆ โดยปัญหาเรื่องการเดินที่ผิดปกติจะดีขึ้นชัดเจนที่สุด ส่วนเรื่องหลงๆลืมๆ อาจจะเห็นผลไม่ชัดเจนนัก ระวังการล้มและอุบัติเหตุต่างๆ ฝึกการปัสสาวะให้เป็นเวลา การฝึกสมองเพื่อเป็นการป้องกันหรือชะลอการเสื่อมของสมอง กินอาหารที่มีประโยชน์และต้องครบ 5 หมู่ด้วย ควบคุมน้ำหนักไม่ให้น้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน พบแพทย์ตามนัด เพราะต้องหมั่นดูแลท่อที่ฝังเอาไว้เสมอ โรคนี้ไม่ได้หายขาดแต่เราสามารถชะลออาการได้ ดูแลสุขภาพให้ดีไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร น้ำ อากาศ การออกกำลังกาย การพักผ่อนที่เพียงพอ ถ้าเห็นคนสูงอายุเดินไม่คล่อง ความจำไม่ดี อย่าคิดว่าเป็นธรรมดาโรคคนแก่ ปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำอะไร ควรพามาพบแพทย์ เพื่อจะได้ตรวจหาสาเหตุโดยแน่ชัดและแก้ไขได้ทันท่วงที
ข้อมูลโดย
นพ.ปิติ เนตยารักษ์
ศูนย์ระบบประสาทและสมอง โรงพยาบาลธนบุรี



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:  ของ หนึ่ง โรคสมอง เสื่อม 

หน้า: 1

 
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:   Go
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม