ตามตำนานประตูเชียงเรือก หรือเชียงเฮือก!! [ประตูท่าแพเมืองเจียงใหม่จ้าว]
ประตูท่าแพ หรือชื่อเดิม ประตูเชียงเรือก ที่เรียกว่าประตูเชียงเรือกเพราะอยู่ใกล้หมู่บ้านเชียงเรือก ในสมัยโบราณ คำว่า "เชียง" หมายถึง "เวียง" หรือ "เมือง" ส่วนคำว่า "เรือก" นั้นมีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า เรือ หรือ เฮือ ซึ่งหมายถึง พาหนะที่ใช้เดินทางทางแม่น้ำ ดังนั้น คำว่า "เชียงเรือก" หากพูดเป็นภาษาชาวบ้าน ก็อาจแปลออกมาได้เป็นเชียงเรือ หรือเวียงเรือ ซึ่งก็หมายถืงเมืองแห่งเรือ ที่ขายของทางเรือ หรืออะไรที่เกี่ยวกับเรือเทือกๆนั้น เหตุนี้ในสมัยต่อมาจึงถูกเรียกว่าท่าแพ ซึ่งก็มีความหมายเดิม คือที่จอดแพหรือเรือ เป็นประตูทางทิศตะวันออก และเป็น 1 ใน 5
ประตูเมืองชั้นในของเวียงเชียงใหม่ ปัจจุบันเป็นประตูเมืองเพียงแห่งเดียวที่มีบานประตู และเป็นประตูที่สำคัญคู่เมืองเชียงใหม่ ก่อสร้างในสมัยพญามังราย ตั้งแต่สมัยตั้งเมืองเชียงใหม่ ในอดีตใช้เป็นท่าเทียบเรือในการขนถ่ายสินค้า ปัจจุบันกลายมาเป็นสถานที่ยอดฮิตของจังหวัดเชียงใหม่ ไม่ว่าจะถ่ายรูป อัพสเตตัส เป็นอันว่ามาถึงเชียงใหม่แล้ว โครงสร้างประตูท่าแพเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กมาจนถึงปัจจุบัน
ประตูท่าแพที่ตั้งอยู่ในเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบันนี้ เทศบาลนครเชียงใหม่และกรมศิลปากรได้ร่วมกันสร้างขึ้นมาใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยอาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีประกอบกับภาพถ่ายประตูเมืองเชียงใหม่ประตูหนึ่ง ซึ่งถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2422
ที่จริงประตูท่าแพนั้นมีอยู่ 2 ประตู โดยในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ประตูท่าแพของจริงถูกเรียกว่าประตูท่าแพชั้นนอก และเรียกประตูเชียงเรือก หรือประตูที่ตั้งอยู่ในสถานที่ปัจจุบันว่าประตูท่าแพชั้นใน ภายหลังรื้อประตูท่าแพชั้นนอก เหลือประตูท่าแพชั้นในเพียงประตูเดียวเลยเรียกกันสั้นๆ ทุกวันนี้ว่าประตูท่าแพ
การสร้างประตูเมืองก็เปรียบเสมือนการสร้างรั้วให้กับบ้าน ที่มีความเชื่อว่าจะช่วยกันคุ้มกันจากสิ่งร้ายๆ จากภายนอกไม่ให้เข้ามาสู่ผู้อยู่อาศัย จากความศรัทธาในความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่จะช่วยคุ้มครองชาวเมืองให้เกิดความสงบสุข พิธีกรรมการสืบชะตาเมืองจึงเปรียบเสมือนสิ่งที่ช่วยในการบำรุง รักษา ซ่อมแซมรั้วบ้านให้เกิดความแข็งแรงนั่นเอง
ติดตามต่อนะคะ ครั้งหน้าจะขอนำเสนอพิธีสืบชะตาเมือง เพื่อเป็นความรู้ให้คนรุ่นหลังๆ หรือผู้ที่สนใจนะคะ
https://www.facebook.com/jomthong.chainmai.5
E-mail : Jomthongcm***