หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: กันไว้ดีกว่าแก้ ก่อนเกิดปัญหา Bill Shock ใน iOS และแอนดรอยด์  (อ่าน 306 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 4 ส.ค. 14, 11:34 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

ข่าวเด็กประถมเล่นเกมคุ้กกื้รันผ่านสมาร์ทโฟนแล้วดันไปสั่งซื้อไอเท่มแบบมีราคากระทั่งพอมีบิลออกมาผู้ปกครองแทบสิ้นใจกับยอดบิลที่พุ่งไปหลายหมื่นบาทคงอยู่ในความสนใจของหลายๆ คนจนถึงวันนี้



แม้ว่าที่สุดแล้วทางค่ายมือถือจะมีการยกเลิกค่าใช้จ่ายในบิลเจ้าปัญหา แต่เชื่อว่าทำให้ใครต่อใครอีกหลายคนมีผวา เพราะไม่รู้ว่าจะเกิด Bill Shock กับตัวเองขึ้นมาวันไหน และจะโดนไปเท่าไหร่ หากไม่สามารถเจรจาระงับการจ่ายได้ เท่ากับว่าเราอาจต้องกระเป๋าฉีกเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์เลยทีเดียว

ขออธิบายให้เข้าใจอีกซักหน่อยว่า Bill Shock ก็คือการได้รับบิลค่าการใช้ระบบสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ การใช้อินเตอร์เน็ต หรือการซื้อแอพฯ บนสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ซึ่งคนไทยน่าจะเริ่มคุ้นเคยบ้างแล้ว โดยเฉพาะคนสมัยนี้หันมาทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านมือถือมากขึ้น บางคนผูกบัญชีการเงินเข้ากับเบอร์โทรจนพ่วงไปถึงระบบร้านค้า

ด้วยความชะล่าใจว่า “เราใช้คนเดียว รู้คนเดียว เครื่องเรา” แต่ในความเป็นจริงนั้นส่วนมากมักไม่ใช่ครับ ดังนั้น เพื่อให้รู้เท่าทันและหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหา bill shock เราก็เลยมีวิธีป้องกันสำหรับผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนทั้ง iOS และแอนดรอยด์มาฝากกันครับ

สำหรับผู้ใช้แอนดรอยด์ที่ผูกเบอร์โทรผ่านบัญชี Play Store มีวิธีป้องกันดังนี้ คือ

1. คลิกเข้าไอคอน Play Store ของอุปกรณ์ที่ใช้ Android
2. หลังจากเข้า Play Store ให้แตะไอคอน Play Store ด้านบน เพื่อเปิดหน้าตั้งค่า ให้แตะเลือกคำสั่ง Settings
3. เลือกหัวข้อ Require password for purchase
4. คลิกเลือกหัวข้อ For all purchase through Google Play on this device



ส่วนผู้ใช้ iOS นั้นจะแตกต่างออกไปครับ ซึ่ง iOS ได้ปรับระบบนี้ใน Settings กับเวอร์ชั่น 7 ขึ้นไปด้วยเช่นกัน วิธีการมีดังนี้ครับ
1. เข้าหน้า Settings
2. คลิกเลือก General
3. แตะเลือก Restrictions และเลือกให้ On หรือ Enable
4. จากนั้นก็จะพบหน้าต่างให้ตั้ง รหัสผ่าน ให้ตั้งรหัสผ่าน 4 หลัก
5. เลือก In-App Purchases และเลื่อนปุ่มมาทางซ้าย เพื่อปิด หรือ Off



ขณะที่ผู้ใช้เวอร์ชั่นต่ำกว่า 7 ลงไป ก็เข้าไปที่ settings เช่นกัน แล้วไปตั้งค่าในส่วน restrictions ตามภาพ ก็จะช่วยป้องกันบัญชีของเราในเบื้องต้น จากการเผลอทำธุรกรรม หรือเผลอกดสั่งซื้ออะไรในเกม ในร้านค้า โดยไม่ตั้งใจ

อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันคือ “รหัสผ่าน” ครับ หลายคนสมัยนี้ละเลยเรื่องของรหัสผ่านจนนำมาซึ่งปัญหามากมายหลายต่อหลายครั้ง การตั้งค่าเครื่องให้เข้ารหัสตั้งแต่เปิดใช้งานจึงยังเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเสมอ บางครั้งอุปกรณ์ของเราก็อาจถูกหยิบยืมไปใช้จากคนรอบข้างบ้าง เพื่อนฝูงบ้าง แล้วผลสุดท้ายจับมือใครดมไม่ได้เราก็ต้องรับผิดชอบ bill shock ที่เกิดขึ้นเอง ไม่นับถึงการถูกโจรกรรมซึ่งอยู่เหนือการควบคุม แต่หากเราตั้งค่ารหัสผ่านอย่างรัดกุม ก็อาจจะช่วยผ่อนหนักให้กลายเป็นเบาได้ครับ

ครั้งหน้า เราจะมาว่ากันถึงฟีเจอร์อัจฉริยะในซัมซุง Galaxy S5 ที่เขาคิดค้นขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้โจรกรรมมือถือเข้าสู่ระบบของเราและตัวเครื่องได้ แหม...น่าสนใจไม่เบา ใครที่ใส่ใจเรื่องความปลอดภัยบนมือถือ ห้ามพลาดนะครับ

บทความจาก asiashop

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:  asiashop   โทรศัพท์มือถือ  ร้านขายมือถือ 

หน้า: 1

 
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:   Go
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม