เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรง
งาน จังหวัดนครราชสีมาได้เยี่ยมชมการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร ที่โรงงานแปรรูปเนื้อไก่นครราชสีมา อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา ที่จัดจ้างแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาร่วม 2,300 คน

นาวาโท นฤทธิ์ พิชิตชโลธร หัวหน้าแผนกประชาสนเทศ กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ เปิดเผยว่า แรงงานต่างด้าวในโรงงานแปรรูปเนื้อไก่โคราชสามารถทำงานร่วมกับแรงงานไทยได้อย่างราบรื่น หอพักที่ซีพีเอฟจัดหาให้มีความปลอดภัยสะอาด แรงงานต่างด้าวทุกคนยิ้มแย้ม มีความสุข จากที่ได้พูดคุยกัน พบว่าแต่ละคนมีเงินเก็บส่งกลับบ้านที่ประเทศกัมพูชา สะท้อนให้เห็นว่าซีพีเอฟดูแลแรงงานทั้งไทยและต่างด้าวตามมาตรฐานสากล ที่สำคัญ ซีพีเอฟยังมีระบบตรวจสอบย้อนกลับทั้งเรื่องความปลอดภัยของอาหาร และการดูแลโรงงานที่เชื่อถือได้

"การมาโรงงานแปรรูปไก่นครราชสีมา ซีพีเอฟ เป็นการขยายผลจากการตรวจสอบการดูแลแรงงานและระบบตรวจสอบย้อนกลับโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นกับนานาประเทศว่าภาคเอกชนไทยมีการปฏิบัติต่อแรงงานต่างด้าวและมีระบบตรวจสอบย้อนกลับได้มาตรฐานสากล" ได้มาตรฐานสากล ไม่มีการใช้แรงงานที่ถูกต้อง เป็นธรรม ไม่นาวาโท นฤทธิ์ กล่าว
การจัดจ้างแรงงานต่างด้าวของซีพีเอฟเป็นไปตามเอ็มโอยูการจ้างแรงงานต่างด้าวที่รัฐบาลไทยลงนามกับประเทศภาคี แรงงานต่างด้าวทุกคนได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์เท่าเทียมกับแรงงานไทยทุกอย่าง เช่น ประกันสังคม ค่ารักษาพยาบาล ประกันอุบัติเหตุ การลาพักร้อน ค่าจ้างล่วงเวลาตามที่กฎหมายกำหนด สามารถทำงานล่วงเวลาไม่เกิน 12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ตามมาตรฐานสากล รวมถึงได้รับการปรับตำแหน่งและเงินเดือนตามผลการปฏิบัติงาน เป็นต้น
นายอภิชาติ แก้วกิ่ง รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจโรงงานแปรรูปไก่นครราชสีมา ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ นำยุทธศาสตร์ 3P (3 พี) มาบริหารดูแลแรงงานทั้งองค์กร โดย P ตัวแรก คือ Policy หรือนโยบาย เพื่อเป็นกรอบในการบริหารพนักงาน ที่ยึดตามหลักสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานขององค์การระหว่างประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่าแรงงานทุกคนได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม และเท่าเทียม ส่วน P ที่ 2 คือ Practice หรือการปฏิบัติ เป็นการปฏิบัติที่ดีต่อแรงงานทั่วทั้งองค์กร สำหรับ P ที่ 3 คือ Partnership หรือการให้ความร่วมมือ โดยบริษัทจะทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึง เอ็นจีโอ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อร่วมยกระดับมาตรฐานนด้านแรงงานของไทย

นายอภิชาติกล่าวด้วยว่า ซีพีเอฟได้จัดทำให้มีระบบตรวจสอบย้อนหลังกลับทั้งในเรื่องการดูแลแรงงานควบคู่กับคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ไม่ใช้แรงงานเด็กผิดกฎหมาย และแรงงานมาส ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ลูกค้านำเข้ารายใหญ่ของบริษัท ได้เดินทางมาประเมินการดูแลแรงงานโดยไม่แจ้งล่วงหน้า (Knock door audit) อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งที่ผ่านมาโรงงานแปรรูปไก่นครราชสีมาผ่านการประเมินผลจากลูกค้าด้วยดี
จากการดำเนินการด้านแรงงานต่างด้าวอย่างจริงจัง ส่งผลให้ซีพีเอฟได้รับเกียรติบัตรยกย่องจากกระทรวงแรงงานในฐานะองค์กรต้นแบบในการปฏิบัติที่ดีต่อแรงงานต่างด้าว ต่อต้านการใช้แรงงานผิดกฎหมาย และได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิก DJSI Listed Company ในกลุ่ม DJSI Emerging Markets โดยหัวข้อด้านการปฏิบัติต่อแรงงาน เป็น 1 ใน 8 หัวข้อที่ซีพีเอฟได้
คะแนนการประเมินที่โดดเด่นสูงกว่า 80 คะแนน สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของซีพีเอฟในการดูแลบุคลากรทุกระดับยึดหลักตามมาตรฐานสากล และร่วมยกระดับมาตรฐานด้านแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารให้เป็นที่ยอมรับในระดับโลกต่อไป
เครดิต http://www.ryt9.com/s/iq29/2344552 (ข่าวจาก thaipost)