สาหร่ายที่มีพิษเช่น Microcystisaeruginosa จัดว่าเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งในกลุ่ม cyanobacteria ที่มีคุณสมบัติส่วนหนึ่งเหมือนพืชสามารถสังเคราะห์แสงได้และมีสีเขียวอมน้ำเงิน (photosynthetic pigments)หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า Blue-green algae พบได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำจืดโดยจะเพิ่มปริมาณมากในช่วงอากาศร้อน ซึ่งสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue-green algae) สามารถผลิตสร้างพิษที่มีชื่อว่า microcystins และ anatoxinsโดยสาหร่ายจะปลดปล่อยสารพิษออกจากเซลล์เมื่อเซลล์แตก ซึ่งการเพิ่มปริมาณของสาหร่ายนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น แหล่งน้ำที่นิ่งสงบ และส่วนใหญ่จะพบการเกิดพิษของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินได้ในสัตว์เลี้ยงที่บริโภคน้ำเข้าไป หรือในสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนั้นๆ หรือแม้กระทั่งสุนัขที่ลงไปว่ายน้ำในแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อนของสารพิษmicrocystinsสามารถทำลายตับได้ ถ้าสุนัขได้รับพิษเข้าไปจะแสดงอาการหนาวสั่น ท้องเสีย อ่อนเพลีย ตัวซีด จนถึงช็อคได้ถ้าได้รับสารพิษในปริมาณมาก
สาหร่ายในกลุ่มนี้ มีอยู่หลายสกุลมาก แต่สกุลที่มีรายงานว่าทำให้เกิดพิษต่อสัตว์ ได้แก่ สกุล Anabaena, Aphanizomenon, Microcystis, Nodularia, Nostocและ Oscillatoriaโดยพิษจากสาหร่ายชนิดนี้จะก่อให้เกิดผลต่อระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีฤทธิ์ที่มีผลต่อตับส่งผลให้เกิดมะเร็งตับได้ ส่วนการจะสังเกตอย่างไรว่าสาหร่ายชนิดไหนมีพิษหรือไม่มีพิษ คือต้องทดสอบในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ซึ่งหากสัมผัสกับน้ำที่มีพิษของสาหร่ายชนิดนี้จะทำให้เกิดอาการแพ้ แสบ คัน ระคายเคือง ถ้าเข้าตาทำให้ตาอักเสบ และหากปนเปื้อนเข้าไปในน้ำดื่มในปริมาณมากจะทำอันตรายต่อตับ ก่อให้เกิดเนื้องอก และตับล้มเหลว หรือเป็นมะเร็ง
การปล่อยของเสียลงแม่น้ำ ในผงซักฟอกมีตัวการสำคัญที่เรียกว่า “ฟอสเฟต” เป็นองค์ประกอบเพราะเป็นสารที่มีคุณสมบัติ ในการลดความกระด้างของน้ำ ซึ่งเจ้า “ฟอสเฟต” นี้เองที่เป็นสารอาหารของสาหร่ายและพืชชั้นต่ำอื่น ๆ เมื่อ “ฟอสเฟต” จากสารซักฟอกพวกนี้ ถูกชะล้างลงไปตามท่อลงไปสะสมในแม่น้ำลำคลอง “ฟอสเฟต” จะช่วยทำให้สาหร่ายและพืชชั้นต่ำเติบโตและเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาหร่ายเหล่านี้มีสีแตกต่างกันไป ทำให้เรามองเห็นสีของน้ำเปลี่ยนแปลงไป ตามสีของสาหร่ายแต่ละชนิดที่เติบโตอยู่ในแหล่งน้ำนั้นๆ
๒.ผลกระทบจากการระบาดของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน
สารพิษจากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (toxic cyanobacterial bloom) เป็นปัญหาในแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อยของหลายประเทศทั่วโลก ทำให้ฝูงปศุสัตว์ กลุ่มสัตว์อพยพ รวมทั้งสัตว์น้ำตายเป็นจำนวนมาก เมื่อบริโภคน้ำที่มีการปนเปื้อนสารพิษ ยังมีผลต่อสุขภาพร่างกายของมนุษย์ โดยแบ่งพิษต่อสิ่งมีชีวิตเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีผลต่อระบบประสาท (neurotoxic) ได้แก่สาหร่าย anabenaflos-aquaeและ Aphanizomenon flow-aquaeสำหรับอีกกลุ่มมีผลต่อตับ (hepato-toxin) ได้แก่สาหร่าย Nodularinspumigenaและ Microcystisaeruginosa ผลิตสารพิษชื่อ nodularin (NODLN) และ microcystins (MCYSTs) ตามลำดับ แต่ไมโครซิสตินเป็นสารพิษที่เป็นปัญหามากที่สุดพบได้ทั่วโลก มีผลต่อเซลตับและเป็นสารก่อมะเร็ง (carcinogens) โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์โปรตีนฟอสฟาเตส (protein phosphatase: PP) โดยเฉพาะ PP1 และ PP2A ยังมีผลต่อการควบคุมเมตาโบลิซึมต่างๆ ของคาร์โบไฮเดรต การแบ่งเซลล์ และการยืดหดของกล้ามเนื้อ ทั้งยังทำให้เซลล์ตับของหนูตาย
วิธีการควบคุมและ กำจัดสาหร่าย สีเขียวแกมน้ำเงิน ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bcithailand.net/กำจัดสาหร่าย/