หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: ธนาคารจีนพร้อมร่วมวง SWIFT gpi เพื่อเร่งขยายความครอบคลุมทั่วโลก  (อ่าน 33 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 8 มิ.ย. 18, 16:27 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

SWIFT เปิดเผยรายชื่อธนาคารจีน 10 แห่ง ที่เปิดให้บริการตามแผนริเริ่มบริการนวัตกรรมการชำระเงินระดับโลก (gpi) นับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา


โลโก้ - http://photos.prnasia.com/prnh/20160127/8521600559Logo

ธนาคารต่างๆ ประกอบด้วย: ธนาคารแห่งประเทศจีน, ธนาคารเพื่อการอุตสาหกรรมและการพาณิชย์แห่งประเทศจีน, ธนาคารแห่งการสื่อสาร, ธนาคารหมินเซิง, ธนาคารกวงฟา, ธนาคารเพื่อการก่อสร้างจีน, ธนาคารแห่งเจียงซู, ธนาคารเพื่อการพัฒนาเซี่ยงไฮ้ผู่ตง, ไชน่าซิติกแบงก์ และธนาคารเจ้อชางจีน นอกจากนี้ยังมีธนาคารจีนอีกกว่า 17 แห่งที่ยืนยันการเข้าร่วมกับ SWIFT gpi และกำลังอยู่ในขั้นตอนเตรียมพร้อมเพื่อเปิดให้บริการดังกล่าว โดยธุรกรรมของธนาคารทั้งหมดนี้คิดเป็นราว 86% ของธุรกรรมการชำระเงินระหว่างประเทศทั้งหมดที่เกิดขึ้นโดยธนาคารจีนในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ขณะเดียวกันธนาคารต่างชาติจำนวนหนึ่งในจีนแผ่นดินใหญ่ก็ได้เข้าร่วมกับเครือข่าย SWIFT gpi เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

"ธนาคารจีน 27 แห่งได้ลงนามและยืนยันเจตนาในการเข้าร่วมกับ SWIFT gpi อันเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนต่อประเทศอื่นๆ ทั่วโลก การเชื่อมต่อที่ราบรื่นต่อเนื่องกัน ผลิตภัณฑ์และบริการด้านการเงินที่ได้รับการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น และการที่ SWIFT และแพลตฟอร์ม gpi ได้รับความร่วมมือและการยอมรับในฐานะมาตรฐานสำคัญจากสถาบันและองค์กรต่างๆ ล้วนถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเกื้อหนุนธุรกิจระหว่างจีนและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ขณะเดียวกันยังได้กำหนดบรรทัดฐานใหม่แห่งการชำระเงินระหว่างประเทศทั่วโลกด้วย" Alain Raes ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ SWIFT ประจำภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา และประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคกล่าว

SWIFT gpi มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในโครงการเส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21 (BRI - Belt and Road Initiative) ของจีน เพราะออกแบบมาเพื่อยกระดับประสบการณ์แก่ลูกค้าของธนาคารตัวแทนทั้งด้านความเร็ว ความโปร่งใส และความชัดเจนของการชำระเงินระหว่างประเทศ บริการดังกล่าวช่วยให้ธนาคารจีนสามารถจัดการธุรกรรมได้เร็วขึ้น และยกระดับประสบการณ์ด้านการธนาคารโดยรวมด้วยการหักชำระบัญชีที่คาดการณ์เวลาได้ มีค่าธรรมเนียมธนาคารและอัตราแลกเปลี่ยนที่โปร่งใส และเห็นสถานะของธุรกรรมอย่างชัดเจน อันส่งผลให้มีวงรอบด้านอุปทานที่สั้นลงและสามารถจัดส่งสินค้าแก่ลูกค้าปลายทางได้เร็วขึ้น

โครงการ BRI ของจีนครอบคลุมกว่า 60 ประเทศและคิดเป็นหนึ่งในสามของการค้าทั่วโลก มาตรฐานและกฎเกณฑ์ที่แตกต่างในจุดต่างๆ ทั่ว BRI นำมาซึ่งความท้าทายหลายประการ เช่น ขาดเฟรมเวิร์กด้านการสื่อสารที่เป็นหนึ่งเดียวและมีปัญหาด้านการตรวจสอบตามระเบียบข้อกำหนด ดังนั้นการสร้างความแข็งแกร่งด้านการเชื่อมต่อทางการเงินตามเส้นทางของโครงการ BRI จึงมีความสำคัญและเป็นหลักประกันความสำเร็จในการขับเคลื่อนทางการค้าและกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย

"อุตสาหกรรมภาคการเงินมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้โครงการเส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21 (BRI) สามารถบรรลุผลได้อย่างสูงสุด ทั้งในด้านการสร้างและดูแลโครงสร้างและกระบวนการอันมีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมการไหลของกระแสเงินทุน ไปจนถึงการดำเนินงานภายใต้มาตรฐานร่วม และการลดความเสี่ยงในด้านต่างๆ ดังนั้น SWIFT จึงมุ่งมั่นในการร่วมมือกับธนาคารจีนหลายแห่งเพื่อช่วยเสริมสร้างและวางแผนอนาคตแก่ธนาคารตัวแทนทั้งในจีนและในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก" คุณ Raes กล่าว

แม้จะมีความพยายามในการส่งเสริมสกุลเงินหยวนในระดับสากล แต่จีนยังถือเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่ใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จากข้อมูลในเดือนมิถุนายน 2560 การชำระเงินระหว่างสหรัฐฯ และจีนกว่า 98% ดำเนินการในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และมีการใช้สกุลเงินหยวนในการชำระเงินไปยังจีนราว 2% ในตลาดต่างๆ ส่วนใหญ่ เว้นก็แต่เพียงไต้หวันที่แตกต่างออกไป ดังนั้นการเชื่อมต่อที่ดีขึ้นและการครอบคลุมผลิตภัณฑ์และบริการที่มากขึ้นของสกุลเงินหยวนจึงช่วยให้จีนสามารถบรรลุความพยายามในการยกระดับสกุลเงินหยวนสู่สากลให้ได้ผลสำเร็จยิ่งขึ้น

นับตั้งแต่เปิดตัวในปี 2560 ปัจจุบัน gpi ครอบคลุมธุรกรรมการชำระเงินระหว่างประเทศบน SWIFT กว่า 25% โดยมีธนาคารมากกว่า 165 แห่ง ซึ่งมีส่วนแบ่งกว่า 80% ของธุรกรรมการชำระเงินระหว่างประเทศบน SWIFT อันรวมถึงธนาคารชั้นนำของโลก 49 แห่งจาก 50 แห่ง ได้ลงนามเข้าร่วมใช้บริการดังกล่าว ปัจจุบันมีการประมวลผลการชำระเงินผ่าน gpi ไปแล้วกว่า 50 ล้านรายการ และแต่ละวันมีธุรกรรมการชำระเงินหลายแสนรายการระหว่างประเทศต่างๆ กว่า 350 ประเทศ ครอบคลุมมากกว่า 100 สกุลเงิน ซึ่งรวมถึงช่องทางการชำระเงินหลักระหว่างสหรัฐฯ-จีน ซึ่ง gpi มีอัตราส่วนในการชำระเงินสูงกว่า 40% แล้ว

ในเดือนมีนาคม 2561 ที่ผ่านมา ทาง SWIFT ยังได้เพิ่มขีดความสามารถของ gpi Tracker ให้ครอบคลุมคำสั่งชำระเงินที่ส่งข้ามเครือข่าย ทำให้ธนาคารซึ่งรองรับ gpi สามารถติดตามคำสั่งชำระเงินผ่าน SWIFT ได้ตลอดเวลา และเห็นรายละเอียดการชำระเงินอย่างครบถ้วน ผลลัพธ์โดยตรงจากความเร็วและความโปร่งใสของ gpi ทำให้ธนาคารที่ใช้บริการดังกล่าวพบกับอุปสรรคทางธุรกรรมน้อยลงอย่างมาก โดยกว่า 50% นั้นเป็นต้นทุนจากการติดตามสอบถามเกี่ยวกับรายการธุรกรรม

โดยแผนงานขั้นต่อไปของ SWIFT ก็คือ การสร้างกลุ่มความร่วมมือของธนาคารต่างๆ ในจีน ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และไทย เพื่อหาแนวทางเร่งดำเนินการด้านการชำระเงินผ่าน gpi ภายในประเทศให้ดียิ่งขึ้น กลุ่มความร่วมมือดังกล่าวจะกำหนดกฎเกณฑ์ทางธุรกิจเพื่อหาทางขจัดอุปสรรคในกระบวนการธุรกิจภายในประเทศเพื่อให้เกิดการชำระเงินที่รวดเร็วขึ้น (หรือเข้าใกล้ระดับเรียลไทม์ยิ่งขึ้น) ขณะเดียวกันก็จะหาแนวทางทำให้ระบบชำระเงินแบบเรียลไทม์ภายในประเทศสามารถนำพาข้อมูล gpi และข้อมูลอ้างอิงเฉพาะสำหรับธุรกรรมตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง (UETRs) เพื่อให้บริการ gpi สามารถรองรับสภาพแวดล้อมระบบชำระเงินภายในประเทศได้

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม