หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: การดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม  (อ่าน 4 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 24 ก.ย. 19, 16:02 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

จากข้อมูลที่ได้ทำการศึกษามา พบว่า prevalence ของผู้ป่วย ประมาณ 5 แสนคน โดยมีระดับความหนักเบาตั้งแต่เริ่มมีอาการซึ่งสามารถฟื้นฟูได้ จนถึงมีอาการสมองเสื่อมเต็มที่ต้องการบริการระยะยาว (long-term care) นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมจึงมีตั้งแต่การส่งเสริมป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสมองเสื่อม ค้นหาผู้ป่วยในระยะเริ่มต้น ไปจนถึงการดูแลระยะยาว โดยควรมีการจัดระบบบริการที่หลากหลายเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วยและญาติ
ข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดบริการ
1)การสร้างการรับรู้แก่สังคมโดยรวมเรื่องการจัดการกับภาวะสมองเสื่อมทั้งการให้ความรู้ในระบบและการให้ความรู้นอกระบบ โดยในระบบร้องขอให้กระทรวงศึกษาธิการมีการบรรจุความรู้การดูแลภาวะสมองเสื่อมในระบบการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษาทั่วประเทศ โดยเฉพาะนักเรียนตั้งแต่ในระดับมัธยมขึ้นไป และ ส่วนการกระจายความรู้นอกระบบร้องขอให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสิรมสุขภาพ (สสส.) กรมการแพทย์ กรมการแพทย์กระทรวงสาธารสุข และ กรุงเทพมหานคร สร้างสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อให้ความรู้เรื่องการดูแลภาวะสมองเสื่อม เพื่อนำเสนอผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่หลากหลาย เช่น วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ ซึ่งมีตัวอย่างของโฆษณาทางโทรทัศน์ ที่สะท้อนภาระที่เกิดจากการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม เช่น กรณีโฆษณาครูประจักษ์ ภาพยนต์เรื่อง Still Alice เป็นต้น โดยเนื้อหาการให้ความรู้ในระบบและการให้ความรู้นอกระบบผ่านการสื่อสารสาธารณะ จะให้ข้อมูลถึงสภาวะโรค การป้องกันโรค การฟื้นฟูชะลอความเสื่อม และ ความจำเป็นในการดูแลผู้ป่วยที่เหมาะสมว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะในประเทศไทยคาดว่ามีผู้ป่วยจำนวนมากหลายแสนคนกระจายทั่วทุกภูมิภาค แต่ในปัจจุบันระบบสุขภาพที่พร้อมจะรองรับและจัดการกับผู้ป่วยสมองเสื่อมยังกระจายตัวไม่ทั่วถึง การทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจ และรับรู้ว่ามีกระบวนการชะลอความเสื่อมของสมอง จะทำให้เกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้ เช่น การออกกำลังกาย การงดบุหรี่และแอลกอฮอล์ รวมถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม เป็นต้น ส่วนความรู้ที่ให้กับญาติของผู้ป่วยที่สมองเสื่อแล้วจะทำให้เกิดความเข้าใจภาวะของโรคนี้ เพื่อลดแรงกดดันที่เกิดขึ้นจากการดูแลผู้ป่วย รวมทั้งทำให้ญาติสามารถแสวงหาความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม เพราะในหลายกรณีผู้ป่วยสมองเสื่อมจะมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ด่าทอคนใกล้ชิด หรือ การรื้อค้นของในบ้านจนยุ่งเหยิงไปหมด นอกจากนี้การสื่อสารสาธารณะเหล่านี้ควรมุ่งลดความรู้สึกด้อยหรือผิดของญาติและผู้ป่วยจากการเป็นโรคสมองเสื่อมในหมู่ประชาชนและสังคม เพราะโรคสมองเสื่อมเกิดจากความผิดปรกติในสมองไม่ได้เกิดจากญาติดูแลไม่ดี หรือการมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ต่างๆ นั้น ไม่ได้เกิดจากความจงใจของผู้ป่วย
2)การจัดระบบบริการสุขภาพเพื่อรองรับผู้ป่วยสมองเสื่อม เป็นอีกประเด็นที่ต้องเร่งดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึงเพื่อรองรับภาระในการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม สามารถแบ่งการจัดบริการได้ตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อม และ การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวให้กับผู้ป่วยสมองเสื่อมที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย โดย ขอให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับองค์กรปกครองท้องถิ่น และ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเร่งสร้างระบบการค้นหาและวินิจฉัยผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในระดับอำเภอและระดับจังหวัด เช่นการใช้กระบวนการคณะลูกขุนในการช่วยวินิจฉัย เพื่อเพิ่มโอกาสการฟื้นฟูสภาพให้ผู้ป่วยระยะเริ่มต้นเพื่อชะลอความเสื่อมของสมอง หรือ ช่วยเตรียมการจัดระบบการดูแลระยะยาว (long-term care) แก่ผู้ป่วยสมองเสื่อมในชุมชน
ให้กระทรวงสาธารณสุข การจัดรูปแบบบริการเพื่อกระตุ้นให้เกิดการชะลอภาวะสมองเสื่อมในผู้ป่วยระยะเริ่มต้น Mild Cognitive Impairment (MCI) ในระดับอำเภอ เพื่อรองรับผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น MCI
ให้องค์กรปกครองท้องถิ่นร่วมมือกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ จัดระบบการดูแลระยะยาว (long-term care) เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของญาติในการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม เช่น การจัดการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมในช่วงกลางวัน (Day care) เพื่อแบ่งเบาให้ญาติพี่น้องไปทำภารกิจประจำวันได้ หรือการจัดระบบการช่วยดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมแบบชั่วคราว (Respite care) เพื่อช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของญาติผู้ดูแล หรือ จัดบริการสำหรับผู้ป่วยสมองเสื่อมที่ไม่มีญาติระยะยาว แบบ residential care หรือ nursing home
ให้กระทรวงสาธารณสุข จัดระบบการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญผ่านสื่อออนไลน์ (online specialist consultation) สำหรับญาติและกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมในระดับอำเภอ หรือจังหวัด เพื่อให้ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลรวมถึงทักษะต่าง ๆ ในการดูแลผู้ป่วย และเสริมกำลังใจในการดูแลผู้ป่วยแก่ญาติหรือผู้ดูแล เพราะการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมในระยะยาวเป็นงานที่หนักและมีความกดดันสูง





noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม