ด้วยความมุ่งมั่นและความต้องการที่จะจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจำนวนมหาศาล องค์กรตัวแทนจากประเทศญี่ปุ่นและรัฐซัสแคตเชวันของประเทศแคนาดา ได้ร่วมมือกันเร่งยกระดับความเข้าใจและผลักดันการใช้เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture Utilization and Storage หรือ CCUS/CCS) โดยในวันนี้ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างบริษัท Japan CCS Co., Ltd. (โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น) กับ International CCS Knowledge Centre (เมืองริไจนา รัฐซัสแคตเชวัน ประเทศแคนาดา)
คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ของสหประชาชาติ ระบุว่า เทคโนโลยี CCUS จำเป็นอย่างยิ่งต่อการบรรลุเป้าหมายการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายใต้ความตกลงปารีส และเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ขาดไม่ได้ในการบรรลุเป้าหมายการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส
บันทึกความเข้าใจดังกล่าวส่งสัญญาณความร่วมมือในด้านการพัฒนา การสาธิต และการใช้เทคโนโลยี CCUS เพี่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงาน
ด้วยความพยายามในการเร่งใช้เทคโนโลยี CCUS ทางบริษัท Japan CCS Co. ได้ดำเนินโครงการสาธิตการใช้เทคโนโลยี CCS ในเมืองโทมาโกไมในนามของรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อสาธิตศักยภาพของเทคโนโลยีา CCS ครบวงจรในญี่ปุ่น โดยสามารถรวบรวมข้อมูลและประสบการณ์ที่มีค่ามากมาย
International CCS Knowledge Centre จากแคนาดา ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยี CCUS ได้ผนึกกำลังกับ Japan CCS Co. เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และบทเรียนจากการก่อสร้าง ดำเนินงาน และบำรุงรักษาโครงการ Boundary Dam 3 CCS Facility ของบริษัท SaskPower ซึ่งเป็นโรงงานดักจับและกักเก็บคาร์บอนหลังการเผาไหม้เชิงพาณิชย์แห่งแรกของโลกที่ตั้งอยู่บนโรงไฟฟ้าถ่านหิน
International CCS Knowledge Centre และ Japan CCS Co. จะประสานงานกันอย่างใกล้ชิดเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี CCUS ที่ได้มาจากการดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อแบ่งปันและเผยแพร่ข้อมูลที่จะช่วยยกระดับการใช้เทคโนโลยี CCUS ทั่วโลก
ผู้ที่ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความเข้าใจประกอบด้วย Scott Moe ผู้ว่าการรัฐซัสแคตเชวัน, Ian Burney เอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศญี่ปุ่น และ Hideki Makihara รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น
คำกล่าวสนับสนุน
"รัฐซัสแคตเชวันเป็นผู้นำของโลกในด้านเทคโนโลยีที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก ความร่วมมือระหว่าง International CCS Knowledge Centre กับ Japan CCS Co. ตอกย้ำว่ารัฐซัสแคตเชวันเป็นผู้นำของโลกในด้านเทคโนโลยี CCUS และแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีนี้มีผลกระทบในวงกว้างไม่ใช่แค่ในประเทศของเรา"
- Scott Moe ผู้ว่าการรัฐซัสแคตเชวัน ประเทศแคนาดา
"เรารู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับ Japan CCS Co. ช่วยกันลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั่วโลกด้วยเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน"
- Mike Monea ประธานและซีอีโอของ International CCS Knowledge Centre
"เราจำเป็นต้องแบ่งปันประสบการณ์และองค์ความรู้เพื่อผลักดันให้เทคโนโลยี CCS เป็นมาตรการระดับโลก และเรายินดีที่ได้ร่วมมือกับ International CCS Knowledge Centre"
- Shoichi Ishii ประธานของ Japan CCS Co., Ltd.
สรุปข้อมูลสำคัญ
ญี่ปุ่นและแคนาดา
- เทคโนโลยี CCUS เป็นหนึ่งในจุดสนใจร่วมกันระหว่างญี่ปุ่นกับแคนาดา ภายใต้บันทึกความร่วมมือด้านพลังงานที่ลงนามในการประชุมรัฐมนตรีพลังงานและสิ่งแวดล้อมกลุ่มประเทศ G20 เมื่อเดือนมิถุนายน 2562 ที่เมืองคารุอิซาวะ ประเทศญี่ปุ่น
- แคนาดามีโครงการ CCUS ขนาดใหญ่หลายโครงการ เช่น BD3 CCS Facility ของบริษัท SaskPower, Weyburn-Midale CO2 Monitoring & Storage Project, Aquistore CO2 Storage Project และ Quest CCS Facility
- ยุทธศาสตร์พลังงานฉบับที่ 5 ของญี่ปุ่น ระบุเกี่ยวกับเทคโนโลยี CCUS ว่า "จะมีการวิจัยและพัฒนาเพื่อผลักดันการใช้เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) ในราวปี 2563 และจะมีการพิจารณาเวลาที่เหมาะสมในการจำหน่ายเทคโนโลยีการดักจับและการกักเก็บคาร์บอน (CCS) ในเชิงพาณิชย์"
ลิงก์ข้อมูล
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- ทุกวันนี้ ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ในระดับสูงสุดและเพิ่มขึ้นเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ - Keeling Curve: A Daily Record of Atmospheric Carbon Dioxide (Scripps Institution of Oceanography, UC San Diego) [https://scripps.ucsd.edu/programs/keelingcurve/]
- เทคโนโลยี CCS เป็นองค์ประกอบสำคัญของ 3 ใน 4 แนวทางการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส - Intergovernmental Panel on Climate Change: Global Warming of 1.5 Degrees Celsius [https://www.ipcc.ch/sr15/]
- เกือบทุกประเทศทั่วโลกไม่สามารถบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซได้หากปราศจากเทคโนโลยี CCS และสำหรับประเทศที่ทำได้ก็ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 138% - Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC AR5 2014 [https://www.ipcc.ch/report/ar5/syr/]
เทคโนโลยี CCUS/CCS
- IEA Greenhouse Gas R&D Programme (IEAGHG): What is CCS? [https://ieaghg.org/ccs-resources/what-is-ccs]
- Global CCS Institute: CCS Readiness Index [https://www.globalccsinstitute.com/resources/publications-reports-research/]
- Shand CCS Feasibility Study shows; 2nd generation CCS can be 67% cheaper [https://ccsknowledge.com/resources/2nd-generation]