เกริ่นจำได้ว่าตอนเกิดเหตุการณ์ 9/11 เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้วิธีการใช้สนามบินในโลกเปลี่ยนไป จากเดิมที่เดินเข้าไปใน Gate อย่างสะดวกสบายตรวจไม่กี่อย่าง หลังจากเหตุการณ์นั้นทำให้การเดินเข้า Gate ต้องมีการตรวจมากกว่าเดิมเยอะ ไม่่ว่าจะการห้ามนำของเหลวจากภายนอกเข้าไป การตรวจโดยการถอดเข็มขัด รองเท้า แยกโน้ตบุ๊คออกจากกระเป๋า ไอแพด กระเป๋าสตางค์ ฯลฯ ทำให้เราเสียเวลาในสนามบินเยอะมากกว่าเดิมเยอะ แต่ในปีล่าสุด 2562 ที่ผ่านมาผมเดินทางบ่อยมาก แต่กลับไม่ได้รู้สึกกับกระบวนการตรงนี้ที่เสียเวลา กลับรู้สึกว่า สนามบิน เป็นพื้นที่ที่คึกคักมาก เพราะ มีคนอยู่ในสนามบินมากมายเหลือเกิน
แต่หลังจากสถานการณ์วันนี้ไป ภาพที่เราเห็นว่าสนามบินโล่งมาก ไม่คึกคักเหมือนช่วงที่ผ่านมา เพราะ ตราบใดที่วัคซีนยังไม่สามารถกระจายไปยังประชากรทั่วโลกได้ในระยะเวลาอันสั้น นอกจากความกลัวในเรื่องโรคระบาดแล้วนั้น กระบวนการเดินทางระหว่างประเทศจะมีความยุ่งยากมากกว่าเดิมแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นเอกสารทางด้านสุขภาพที่แต่ละประเทศต้องการจากผู้ที่เดินทาง หรือระยะเวลาการกักตัวเมื่อเวลาต้องเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทาง
คำถามของผมมี 2 คำถามกับเรื่องราวของสนามบิน คือ ตอนนี้ใครได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้บ้าง กับเอาจริง ๆ ว่าอีกกี่ปี สนามบิน หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบิน จะกลับมาคึกคักเหมือนเดิม
มาดูสถิติย้อนหลังในปี 2562 กัน ยอดตัวเลขผู้เดินทางผ่านสนามบินในปีงบประมาณ 2562 มีถึง 141.87 ล้านคนจากสนามบิน 6 แห่งภายในประเทศ และเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศถึง 84.05 ล้านคน
เช่นเดียวกันกับตัวเลขของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่รายงานโดยกองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีจำนวนถึง 39.7 หรือง่าย ๆ 40 ล้านคน
ในที่นี้ผมอยากเน้นสนามบินเฉพาะในไทยก่อนนะครับ เพราะว่า เมื่อสนามบินเป็นของคนไทย ต้นทุนค่าเสียโอกาสจึงเกิดขึ้นสำหรับคนไทย หรือผู้ประกอบการทั้งหลายในสนามบิน และแน่นอนมีผลกระทบวงกว้างกับครอบครัวของพนักงานทุกคนในทุกส่วนของสนามบิน
คนที่ 1 ที่เสียผลประโยชน์คือ การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ในฐานะขององค์กรกิจการหลัก ผู้ที่ใช้บริการของสนามบินในปี 2563 นี้จะลดเหลือเท่าไร่ยังไม่มีคนทราบ สมมติว่า หายไปครึ่งนึง เหลือ 70 ล้านคน สมมติตัวเลขค่าใช้บริการ (หรือภาษีสนามบิน) คนละ 200 บาทพอเป็นตัวเลขกลม ๆ นั่นหมายถึง ตัวเลขรายได้ของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย จะหายไปถึง 14,000 ล้านในปีที่ 1 และในปีต่อ ๆ ไปเป็นอย่างไรเรายังประเมินไม่ได้
คนที่ 2-3-4-5 ผู้ประกอบการในสนามบิน ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าต่าง ๆ ร้านอาหาร ดิวตี้ฟรี ค่าส่งของ บริการห่อกระเป๋า ฯลฯ กลุ่มผู้ประกอบการในสนามบินเหล่านี้ย่อมได้รับผลกระทบแน่นอน เพราะผู้เดินทางลดหายไปกว่าครึ่ง ถึงไม่มีรายได้เลย ถ้าร้านค้าเหล่านี้อยู่ในบริเวณที่เป็นของการเดินทางระหว่างประเทศเท่านั้น และตรงนี้ก็จะส่งผลกระทบกับการท่าอากาศยานแห่งปประเทศไทยในทางอ้อม เพราะไหนจะเป็นค่าเช่า หรือค่าดำเนินการที่หักจากผู้ประกอบการเหล่านี้ ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของรายได้ของการท่าฯ เช่นกัน
แต่ความเชื่อมโยงแบบขัดแย้งเบา ๆ ในระหว่างที่บุคคลที่ 1 หรือการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ที่ได้รับผลกระทบเรื่องรายได้จากทุกทาง กับผู้ประกอบการอื่น ๆ นั้น แต่ การท่าฯ ต้องคิดว่า จะดำเนินการอย่างไรกับ ผู้ประกอบการในสนามบินต่าง ๆ การท่าฯ จะช่วยเช่นไร จะปล่อยให้ตายไปตามยถากรรม การบินดีขึ้นค่อยว่ากันไหม หรือจะช่วยเยียวยา เพื่อประคองธุรกิจในสบามบินทั้ง 6 แห่งให้รอดไปด้วยกัน เพื่อให้เกิดผลกระทบในระยะสั้นให้น้อยที่สุด และเกิดผลดีในระยะยาวมากที่สุด
https://www.facebook.com/101197531492015/posts/147089386902829/