
ยุโรปถือเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาด้านนวัตกรรมสูง เนื่องจากภาคเศรษฐกิจนวัตกรรมมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของยุโรปอย่างมาก โดยสองในสามของการเติบโตทางเศรษฐกิจของยุโรปในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาได้รับแรงหนุนจากนวัตกรรมทั้งสิ้น และการวิจัยและนวัตกรรมก็มีบทบาทสำคัญในการช่วยสหภาพยุโรปรับมือกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 อีกด้วย
ตาราง
คะแนนนวัตกรรมของยุโรปประจำปี 2563 หรือ “European Innovation Scoreboard 2020” ระบุว่า EU มีคะแนนความสามารถเฉลี่ยด้านนวัตกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 สูงที่สุดในรอบ 8 ปี (2555-2562) โดยมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นในหลายด้าน โดยเฉพาะในด้านเครือข่ายสื่อสารไร้สาย (Broadband penetration) ตลอดจนเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา (R&D) โดยที่ยุโรปมีสัดส่วนการวิจัยและพัฒนาถึงร้อยละ 20 ของการลงทุนทั้งหมดของโลก ในขณะที่มีประชากรเพียงร้อยละ 7 เท่านั้น
ประเทศไทยเป็นอีกประเทศที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจให้ก้าวไปสู่การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เห็นได้จากนโยบาย “Thailand 4.0” แต่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ และควรหันมาเร่งกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการบริหารจัดการภายใต้แนวคิดและรูปแบบใหม่ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและระดับท้องถิ่น โดยสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนกับหน่วย
งานภาครัฐ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมจำนวนมากพอที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนให้ไทยก้าวไปสู่เศรษฐกิจสังคมฐานความรู้ (knowledge-based society) และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลกได้อย่างยั่งยืน
ข้อมูลจาก
https://globthailand.com/eu28082020/