ทีโอที เดินหน้า 5G ยกระดับบริการภาครัฐครบทุกมิติ

ทีโอที ชำระค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ย่าน 26 กิกะเฮิรตซ์ จากการประมูลจำนวน 4 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ100 เมกะเฮิรตซ์ รวม 400 เมกะเฮิรตซ์ มูลค่า 1,920.65 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) พร้อมเดินหน้าให้บริการ 5G ยกระดับบริการภาครัฐทุกมิติตามนโยบายของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
โครงการที่ TOT ร่วมมือกับพันธมิตรและหน่วยงานภายนอก
1. คณะแพทยศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก
สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการให้บริการด้านการแพทย์ทางไกลผ่านเครือข่าย 5G
2. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และโรงพยาบาลศิริราช
เพิ่มประสิทธิภาพให้ “หน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช (Siriraj Mobile Stroke Unit)”
3. สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
พัฒนา 5G FIBO ROBOT (Institute of Field Robotics)
4. ใช้คลื่น 5G พัฒนาระบบสายพานลำเลียงให้กับโรงงานผลิตเครื่องดื่มในเขตพื้นที่ EEC
5. ให้บริการ Smart Pole สำหรับบริการ 5G ในพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการพัฒนาเมืองเป็นเมืองอัจฉริยะ
6. ให้บริการกับ บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด หรือ mu Space ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้หุ่นยนต์ในการผลิตชิ้นส่วนประกอบของดาวเทียมวงโคจรต่ำ
ความสำคัญของความถี่ย่าน 26 กิกะเฮิรตซ์
>เป็นย่านความถี่สูงซึ่งมีคุณสมบัติในการส่งข้อมูลที่มีความเสถียรมาก
>มีความหน่วงเวลาหรือความหน่วงในการส่งข้อมูลต่ำ
>เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการความแม่นยำสูงในภาคอุตสาหกรรม ด้านสาธารณสุข ด้านโลจิสติก อาทิ การผ่าตัดทางไกล การควบคุมเครื่องจักรในโรงงานและการควบคุมรถยนต์ไร้คนขับ เป็นต้น
เทคโนโลยี 5 G มีอะไรบ้าง
>เทคโนโลยีในโลกเสมือนจริงอย่าง Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR)
>เทคโนโลยี Cloud Computing,
>เทคโนโลยี Machine Learning,
>เทคโนโลยี Artificial Intelligent (AI)
>เทคโนโลยี Big Data ดูน้อยลง